อำเภอพุนพิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอพุนพิน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phunphin
คำขวัญ: 
เมืองแม่น้ำสองสาย องค์นารายณ์ล้ำค่า
เจ้าพระยาท่าข้าม ถิ่นงามสวนสราญรมย์
อุดมอัญมณีศรีวิชัย เกรียงไกรสะพานจุลจอมเกล้า
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอพุนพิน
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอพุนพิน
พิกัด: 9°6′35″N 99°13′55″E / 9.10972°N 99.23194°E / 9.10972; 99.23194
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,240 ตร.กม. (480 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด93,720 คน
 • ความหนาแน่น75.58 คน/ตร.กม. (195.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 84130
รหัสภูมิศาสตร์8417
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอพุนพิน ถนนจุลจอมเกล้า ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

พุนพิน เป็นอำเภอตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นอำเภอที่ตั้งของสถานีสุราษฎร์ธานีบนทางรถไฟสายใต้และท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอพุนพินมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ในตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากบ้านดอนประมาณ 26 กิโลเมตร โดยใช้พื้นที่ร่วมกับกองทัพอากาศ (กองบิน 7 สุราษฎร์ธานี)
ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากรตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534

ประวัติ[แก้]

พื้นที่อำเภอพุนพินนั้นตั้งอยู่ริมแม่น้ำตาปีและแม่น้ำพุมดวง มีประวัติศาสตร์ยาวนาน สืบเนื่องกรณีสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช พบหลักฐานที่แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะ “จักร” ที่ทำจากโลหะสัมฤทธิ์ และเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง และเศษภาชนะดินเผาจากเปอร์เซีย สนับสนุนข้อสันนิษฐานว่าเป็นรัฐโบราณตามเอกสารจีนที่เรียกว่า “พันพัน” ซึ่งปัจจุบันคือ อำเภอพุนพิน ถือเป็นเมืองท่าสำคัญทั้งการค้าและศาสนาที่รุ่งเรืองในอดีตเมื่อ 1,300 ปีก่อน ซึ่งมีชื่ออำเภอว่า "พุนพิน"[1] ตั้งแต่แรกตั้งอำเภอ ได้รับการจัดตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 โดยมีเขตการปกครองในเขตฝั่งเหนือของแม่น้ำพุมดวง 10 ตำบล คือ ตำบลพุนพิน ตำบลหัวเตย ตำบลมะลวน ตำบลลีเล็ด ตำบลหนองไทร ตำบลน้ำรอบ ตำบลท่าฉาง ตำบลท่าเคย ตำบลคลองไทร และตำบลบางงอน[2] ในปี พ.ศ. 2451 ได้มีการแยกตำบลท่าฉาง ตำบลท่าเคย ตำบลคลองไทร ของอำเภอพุนพิน และตำบลเขาถ่าน ตำบลปากฉลุย ตำบลเสวียด ของอำเภอพุมเรียง ไปตั้งเป็น "กิ่งอำเภอท่าฉาง"[3] ในขณะนั้นอำเภอพุนพินจึงเหลือการปกครองเพียง 7 ตำบล

ในปี พ.ศ. 2463 ทางราชการได้เห็นว่าบ้านท่าข้าม ตำบลวัดประดู่ อำเภอบ้านดอน เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟ ซึ่งมีชุมชนหนาแน่นและมีการรับ–ส่งสินค้าทั้งทางบกและทางน้ำ เป็นทำเลที่ดีและจะเจริญต่อไป จึงได้โอนพื้นที่บ้านท่าข้าม ตำบลวัดประดู่ รวมเข้ากับตำบลท่าสะท้อน อำเภอบ้านดอน แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นตำบลท่าข้าม และให้โอนพื้นที่ของตำบลท่าข้าม อำเภอบ้านดอน มาขึ้นอำเภอพุนพิน อีกทั้งยังได้ย้ายที่ว่าการอำเภอพุนพินเดิม มาตั้งที่บ้านท่าข้าม จึงมีการเปลี่ยนชื่ออำเภอตามตำบลที่ตั้งเป็น อำเภอ "ท่าข้าม"[4] ในขณะนั้นจึงมีตำบลในเขตการปกครองของอำเภอเป็น 8 ตำบล ในปี พ.ศ. 2473 ทางราชการได้สั่งยุบอำเภอท่าโรงช้าง เนื่องจากมีประชากรและปริมาณงานน้อย จึงมีการโอนตำบลในอำเภอท่าโรงช้างไปขึ้นกับอำเภออื่นๆ ใกล้เคียง คือ โอนตำบลย่านยาวและตำบลถ้ำสิงขร ไปขึ้นกับอำเภอท่าขนอน โอนตำบลกรูด ไปขึ้นกับอำเภอบ้านนา กับโอนตำบลท่าโรงช้าง ตำบลบางเดือน และตำบลบางมะเดื่อ มาขึ้นกับอำเภอท่าข้าม จึงมีเขตการปกครองเพิ่มเป็น 11 ตำบล และในปี พ.ศ. 2482 ได้กลับมาใช้ชื่ออำเภอ "พุนพิน" ดังเดิม เพื่อรักษาไว้ซึ่งชื่อประวัติศาสตร์แห่งท้องถิ่น อีกทั้งประชาชนในท้องที่คุ้นชินชื่อ "พุนพิน" มากกว่า

ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2482 - 2500 จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองให้เหมาะสมโดยในอำเภอต่างๆ ใน พ.ศ. 2482 ในอำเภอพุนพินมีการโอนพื้นที่หมู่ 1–3 (ในขณะนั้น) ของตำบลพุนพิน ไปขึ้นกับตำบลท่าข้าม และโอนพื้นที่หมู่ 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลพุนพิน ไปขึ้นกับตำบลมะลวนกับแยกพื้นที่หมู่ หมู่ 1–7 (ในขณะนั้น) ตำบลท่าข้าม จัดตั้งเป็นตำบลท่าสะท้อน[5]เป็นตำบลลำดับที่ 12 ในช่วงปี พ.ศ. 2483 ได้มีการยุบเขตการปกครองที่มีขนาดเล็กเพื่อลดภาระงานที่ไม่จำเป็นของทางราชการ ทางอำเภอจึงยุบตำบลบางมะเดื่อเข้ากับพื้นที่ตำบลท่าโรงช้างและตำบลบางเดือน กับยุบตำบลหนองไทรเข้ากับพื้นที่ตำบลน้ำรอบ จึงเหลือเขตการปกครอง 10 ตำบล

ในปี พ.ศ. 2490 ได้มีการตั้งตำบลเดิมที่เคยยุบไปเมื่อปี พ.ศ. 2483 อีกครั้ง โดยแยกพื้นที่หมู่ 5–9 (ในขณะนั้น) ของตำบลน้ำรอบ ตั้งเป็นตำบลหนองไทร และแยกพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าโรงช้างกับพื้นที่หมู่ 5–6 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางเดือน ตั้งเป็นตำบลบางมะเดื่อ[6] ใน พ.ศ. 2492 มีการโอนพื้นที่หมู่ 5–6 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางงอน ไปขึ้นกับตำบลน้ำรอบ และโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลพุนพิน ไปขึ้นกับตำบลท่าข้ามกับโอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าสะท้อน ไปขึ้นกับตำบลท่าข้าม[7] และในปี พ.ศ. 2494 อำเภอบ้านนาสาร ได้มีการโอนพื้นที่การปกครองของตำบลกรูด (ยกเว้นพื้นที่หมู่ 3) มาขึ้นกับอำเภอพุนพิน[8] เป็นตำบลลำดับที่ 13 หลังจากปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นไป อำเภอพุนพินได้มีการตั้งเขตการปกครองเพิ่มอีก 3 ตำบล คือ ในปี พ.ศ. 2519 ได้แยกพื้นที่หมู่ 1,5 ของตำบลพุนพิน รวมกับพื้นที่หมู่ 7 ของตำบลลีเล็ด ตั้งเป็นตำบลศรีวิชัย[9] ปี พ.ศ. 2523 ได้ตั้งตำบลเขาหัวควาย โดยแยกออกจากตำบลท่าสะท้อน[10] และตั้งตำบลลำดับที่ 16 ในปี พ.ศ. 2534 โดยแยกพื้นที่ตำบลกรูด ตั้งเป็นตำบลตะปาน[11] อำเภอพุนพินจึงมี 16 ตำบลจนปัจจุบัน

บ้านท่าข้ามมีความเจริญเป็นอย่างมาก จึงมีการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นในท้องที่เป็นลำดับที่ 3 ของจังหวัดในปี พ.ศ. 2498[12] (ต่อจากสุขาภิบาลเมืองสุราษฎร์ธานีและเทศบาลตำบลนาสาร) และยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลในปี พ.ศ. 2529[13] และจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองท่าข้ามในปี พ.ศ. 2543[14] ตามลำดับความเจริญของพื้นที่

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอพุนพินแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 ตำบล 98 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ท่าข้าม (Tha Kham) 6 หมู่บ้าน
2. ท่าสะท้อน (Tha Sathon) 7 หมู่บ้าน
3. ลีเล็ด (Lilet) 8 หมู่บ้าน
4. บางมะเดื่อ (Bang Maduea) 7 หมู่บ้าน
5. บางเดือน (Bang Duean) 5 หมู่บ้าน
6. ท่าโรงช้าง (Tha Rong Chang) 5 หมู่บ้าน
7. กรูด (Krut) 6 หมู่บ้าน
8. พุนพิน (Phunphin) 3 หมู่บ้าน
9. บางงอน (Bang Ngon) 11 หมู่บ้าน
10. ศรีวิชัย (Si Wichai) 3 หมู่บ้าน
11. น้ำรอบ (Nam Rop) 7 หมู่บ้าน
12. มะลวน (Maluan) 9 หมู่บ้าน
13. หัวเตย (Hua Toei) 7 หมู่บ้าน
14. หนองไทร (Nong Sai) 5 หมู่บ้าน
15. เขาหัวควาย (Khao Hua Khwai) 4 หมู่บ้าน
16. ตะปาน (Tapan) 5 หมู่บ้าน
แผนที่
แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอพุนพินประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองท่าข้าม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าข้าม
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้าม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองท่าข้าม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าสะท้อนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลีเล็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลีเล็ดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางมะเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางมะเดื่อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางเดือน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเดือนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าโรงช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกรูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกรูดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพุนพิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพุนพินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางงอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางงอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีวิชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีวิชัยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำรอบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำรอบทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะลวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเตย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวเตยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไทรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาหัวควาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาหัวควายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะปาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะปานทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (8): 143. วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2449
  2. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลสุราษฎร์]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 489–498. วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2464
  3. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง รวมตำบลต่างๆในท้องที่อำเภอพุมเรียงและพุนพินเมืองชุมพร ๖ ตำบลตั้งเป็นกิ่งอำเภอท่าฉาง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (19): 569. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2451
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอพุนพิน มาตั้งที่ตำบลท่าข้ามเรียกว่าอำเภอท่าข้าม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0 ก): 159. วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2463
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 13–14. วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2482
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2490
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้ง, ยุบ, เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (2 ง): 4–6. วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2492
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตตำบลและเขตอำเภอ ในท้องที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (62 ง): 4467–4468. วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2494
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (104 ง): 2221–2224. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2519
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพุนพิน และอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (127 ง): 2806–2810. วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2523
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (192 ง): 11064–11067. วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 130-131. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2498
  13. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๒๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (99 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2529
  14. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองท่าข้าม พ.ศ. ๒๕๔๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (119 ก): 18–20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543