อำเภอบึงสามพัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอบึงสามพัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bueng Sam Phan
ภายในเขตเทศบาลตำบลซับสมอทอด
ภายในเขตเทศบาลตำบลซับสมอทอด
คำขวัญ: 
หลวงพ่อคู่บ้าน บึงสามพันคู่เมือง
ลือเลื่องบุญบั้งไฟ ยิ่งใหญ่แข่งเรือ
งามเหลือทุ่งทานตะวัน
แผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เน้นอำเภอบึงสามพัน
แผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เน้นอำเภอบึงสามพัน
พิกัด: 15°47′48″N 101°0′30″E / 15.79667°N 101.00833°E / 15.79667; 101.00833
ประเทศ ไทย
จังหวัดเพชรบูรณ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด489.8 ตร.กม. (189.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด71,327 คน
 • ความหนาแน่น145.63 คน/ตร.กม. (377.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 67160
รหัสภูมิศาสตร์6708
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบึงสามพัน ถนนสระบุรี-หล่มสัก ตำบลบึงสามพัน อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ 67160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บึงสามพัน เป็นอำเภอในจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นอำเภอที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีจุดตัดทางถนนระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 (สระบุรีหล่มสัก) กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 (นครสวรรค์ชัยภูมิ) อีกทั้งเป็นอำเภอทางผ่านไปสู่ตัวจังหวัด จึงทำให้สะดวกทั้งการค้าขายและการเดินทาง

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอบึงสามพัน มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

บ้านซับสาริกา เขตองค์การบริหารส่วนตำบลซับสมอทอด

ประวัติ[แก้]

บึงสามพัน เดิมมีฐานะเป็นหมู่บ้านของตำบลบ้านโภชน์ อำเภอวิเชียรบุรี ต่อมาสิบตำรวจเอกสมัคร มงคลกิติ (ยศในขณะนั้น) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสายตรวจเดินทางไปปราบโจรผู้ร้ายที่อำเภอวิเชียรบุรีซึ่งมีตำบลกองทูล ตำบลบ้านโภชน์ ตำบลกันจุเป็นเขตการปกครอง เนื่องจากเส้นทางเป็นทางเดินเท้าหรือใช้ม้าได้เท่านั้น ทำให้การปราบปรามโจรผู้ร้ายไม่ค่อยได้ผล จึงได้ปรึกษาคณะกรรมการท้องถิ่นซึ่งมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและครูในเขตตำบลกองทูลชี้แจงปัญหากับจังหวัดให้จะตั้งกิ่งอำเภอขึ้น และเห็นว่าตำบลกองทูลเป็นพื้นที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอำเภอเมืองเพชรบูรณ์และอำเภอวิเชียรบุรี ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2503 จึงประกาศแยก 3 ตำบลขึ้นเป็น กิ่งอำเภอหนองไผ่[1] โดยตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอ ณ บ้านหนองไผ่ ตำบลกองทูล โดยมีนายสมบูรณ์ อมรบุตร เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอหนองไผ่คนแรก เปิดใช้ที่ว่าการกิ่งอำเภอในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2504[2] ในปี พ.ศ. 2505 ทางราชการได้โอนพื้นที่กิ่งอำเภอหนองไผ่ ของอำเภอวิเชียรบุรี ไปขึ้นกับอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ พื้นที่ตำบลกองทูลจึงย้ายไปขึ้นกับกิ่งอำเภอหนองไผ่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์[3] ก่อนที่กิ่งอำเภอหนองไผ่จะแยกเป็นเอกเทศออกจากอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ในปี พ.ศ. 2506[4] พร้อมกับตั้งสุขาภิบาลซับสมอทอด ในพื้นที่บ้านซับสมอทอด ตำบลบ้านโภชน์ (ในขณะนั้น)[5] ซึ่งกระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้จัดตั้งก่อนสุขาภิบาลหนองไผ่ที่เป็นที่ตั้งของอำเภอต้นสังกัด

ในปี พ.ศ. 2511 ตำบลบ้านโภชน์มีหมู่บ้านมากกว่า 35 หมู่บ้าน มีพื้นที่กว้างขวาง จึงแยก 23 หมู่บ้านด้านทิศใต้ของตำบลบ้านโภชน์ ตั้งเป็น ตำบลซับสมอทอด[6] เพียง 2 ปี ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2513 เขตตำบลซับสมอทอดมีการจัดตั้งหมู่บ้านเพิ่มขึ้นมาก จึงแยกหมู่บ้านในตำบลซับสมอทอดด้านเหนือ 9 หมู่บ้าน ตั้งเป็นตำบลหนองแจง และแยกหมู่บ้านในตำบลซับสมอทอดด้านตะวันตก 11 หมู่บ้าน ตั้งเป็นตำบลซับไม้แดง[7] พ.ศ. 2518 กระทรวงมหาดไทยเห็นว่าหมู่บ้านซับสมอทอด ในเขตตำบลซับสมอทอด เป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจ มีตลาดเป็นที่ประชุมชนและมีความเจริญมากขึ้น ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ชุมชนไปตามแนวถนนคชเสนีย์ มีความเป็นศูนย์กลาง จึงแยกตำบลกันจุ ตำบลซับสมอทอด ตำบลหนองแจง และตำบลซับไม้แดง ออกมาจากอำเภอหนองไผ่และจัดตั้งขึ้นเป็น "กิ่งอำเภอบึงสามพัน"[8]

ชื่อ "บึงสามพัน" มาจากชื่อเรียกของบึง ที่อยู่ห่างจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบึงสามพัน ประมาณ 3 กิโลเมตร มีจระเข้ในบึงนี้เป็นจำนวนมาก โดยในช่วงปี พ.ศ. 2500 (บางแหล่งก็ว่า พ.ศ. 2493) นั้น คาดกันว่ามีจระเข้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ตัว ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อบึงสามพันที่เรียกกันตั้งแต่สมัยนั้น และในการตั้งกิ่งอำเภอนี้เมื่อ พ.ศ. 2518 นั้นทางภาครัฐที่เกี่ยวข้องในขณะนั้นก็ได้พิจารณาใช้ชื่อกิ่งอำเภอนี้ว่าบึงสามพัน จากเดิมที่จะใช้ชื่อว่ากิ่งอำเภอซับสมอทอดตามชื่อตำบล ด้วยเห็นว่าบึงสามพันมีประวัติความเป็นมาและมีเอกลักษณ์[9] ยกฐานะเป็นอำเภอโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2522[10]

ในปี พ.ศ. 2525 ได้แยกหมู่ 12 บ้านวังพิกุล ของตำบลซับไม้แดงรวมกับอีก 3 หมู่บ้าน ตั้งเป็น ตำบลวังพิกุล[11] ในเดือนกันยายนปีเดียวกันได้แยกหมู่ 13 บ้านพญาวัง ของตำบลซับไม้แดงรวมกับอีก 5 หมู่บ้าน ตั้งเป็น ตำบลพญาวัง[12] เมื่อพื้นที่มีความเจริญขึ้นตามลำดับ ชุมชนซับสมอทอดขยายตามแนวถนนคชเสนีย์ไปมากกว่าเขตพื้นที่เดิมจึงเปลี่ยนเขตสุขาภิบาลซับสมอทอด ตั้งแต่กม.ที่ 139.0 (ด้านใต้) - กม.ที่ 143.5 (ด้านเหนือ) ซึ่งมีพื้นที่เขตชุมชนยาวกว่า 4 กิโลเมตร[13] พร้อมกับการสร้างโรงพยาบาลบึงสามพันให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2528[14]

อำเภอบึงสามพันเริ่มจัดตั้งตำบลใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2530 โดยแยกหมู่ 4 บ้านศรีมงคล ของตำบลพญาวัง รวมกับอีก 9 หมู่บ้าน ตั้งเป็น ตำบลศรีมงคล[15] และในปี พ.ศ. 2535 ด้านทิศตะวันออกของตำบลกันจุ เขตหมู่ 14 บ้านสระแก้ว กับอีก 7 หมู่บ้าน ได้ขอแยกตั้งเป็น ตำบลสระแก้ว[16] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2536 ด้านตะวันออกของเขตตำบลซับสมอทอดมีประชากรและหมู่บ้านมาก จึงแยกตามแนวถนนสระบุรี-หล่มสัก รวม 10 หมู่บ้าน ตั้งเป็น ตำบลบึงสามพัน[17] เป็นตำบลลำดับที่ 9 ของทางอำเภอบึงสามพัน จนถึงปัจจุบัน

บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบึงสามพัน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบึงสามพันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 123 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ซับสมอทอด (Sap Samo Thot) 9 หมู่บ้าน 6. พญาวัง (Phaya Wang) 16 หมู่บ้าน
2. ซับไม้แดง (Sap Mai Daeng) 15 หมู่บ้าน 7. ศรีมงคล (Si Mongkhon) 11 หมู่บ้าน
3. หนองแจง (Nong Chaeng) 18 หมู่บ้าน 8. สระแก้ว (Sa Kaeo) 9 หมู่บ้าน
4. กันจุ (Kan Chu) 19 หมู่บ้าน 9. บึงสามพัน (Bueng Sam Phan) 10 หมู่บ้าน
5. วังพิกุล (Wang Phikun) 16 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบึงสามพันประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลซับสมอทอด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลซับสมอทอดและตำบลบึงสามพัน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลซับสมอทอด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซับสมอทอด (นอกเขตเทศบาลตำบลซับสมอทอด)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลซับไม้แดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซับไม้แดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกันจุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกันจุทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังพิกุล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังพิกุลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพญาวัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพญาวังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีมงคลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระแก้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแจง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแจงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบึงสามพัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงสามพัน (นอกเขตเทศบาลตำบลซับสมอทอด)

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (108 ง): 2562–2564. วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2503
  2. "ประวัติอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์". สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2024-01-03. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566
  3. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. ๒๕๐๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (73 ก): 940–942. วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2505
  4. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (72 ก): 362–366. วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลซับสมอทอด อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (83 ง): 2231–2232. วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2507
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองไผ่ และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (28 ง): 1013–1030. วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2511
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (85 ง): 2532–2538. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2513
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบึงสามพัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (98 ง): 1248. วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2518
  9. ประวัติความเป็นมา อำเภอบึงสามพัน เก็บถาวร 2021-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
  10. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. ๒๕๒๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (42 ก): (ฉบับพิเศษ) 19–24. วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (65 ง): 1560–1563. วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2525
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (130 ง): 3676–3679. วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2525
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลซับสมอทอด อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (38 ง): (ฉบับพิเศษ) 8-9. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2528
  14. "กระทู้ถามที่ ๓๗๗ ของ นายเกษม บุตรขุนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง การก่อสร้างโรงพยาบาลที่อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (5 ง): 380–382. วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2528
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงสามพัน และอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (154 ง): 5669–5681. วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2530
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (151 ง): (ฉบับพิเศษ) 85-88. วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงสามพันและอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (201 ง): (ฉบับพิเศษ) 35-39. วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2536