อาร์เธอร์ แมคโดนัลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์เธอร์ แมคโดนัลด์
(Arthur McDonald)
แมคโดนัลด์ในพิธีมอบรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ พ.ศ. 2558
เกิด29 ตุลาคม พ.ศ. 2486
ซิดนีย์ รัฐโนวาสโกเชีย
ประเทศแคนาดา
สัญชาติ แคนาดา
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยดัลฮาวซี
สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย
องค์การมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน
มหาวิทยาลัยควีนส์

อาร์เธอร์ บรูซ แมคโดนัลด์ (อังกฤษ: Arthur Bruce McDonald) เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ณ เมืองซิดนีย์ รัฐโนวาสโกเชีย เป็นนักฟิสิกส์ชาวแคนาดา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์สังเกตการณ์นิวตริโนซัดบิวรีในรัฐออนแทรีโอ แมคโดนัลด์เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี พ.ศ. 2558 ร่วมกับทากาอากิ คาจิตะ นักฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น ในฐานะ "การค้นพบปรากฏการณ์การแกว่งของนิวตริโน ซึ่งชี้ให้เห็นว่านิวตริโนนั้นมีมวล"[1]

ประวัติ[แก้]

อาร์เธอร์ แมคโดนัลด์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทจากคณะฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยดัลฮาวซี ในรัฐโนวาสโกเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2507 และ 2508 ตามลำดับ และศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียเมื่อ พ.ศ. 2512[2]

แมคโดนัลด์เริ่มต้นทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่วิจัยแห่งศูนย์ปฏิบัติการนิวเคลียร์ชอล์กริเวอร์ (CRNL) ในรัฐออนแทรีโอ ระหว่างปี พ.ศ. 2513–2525 ต่อมารับตำแหน่งอาจารย์สอนฟิสิกส์ให้แก่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันระหว่างปี พ.ศ. 2525–2532 และได้ย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยควีนส์จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ แมคโดนัลด์ยังดำรงตำแหน่ง University Research Chair (URC) ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 และตำแหน่ง Gordon and Patricia Gray Chair ในสาขาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นตำแหน่งในมหาวิทยาลัยควีนส์ และยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการแห่งสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีเพริเมเทอร์ในรัฐออนแทรีโอ[2][3]

การวิจัยและผลงาน[แก้]

แมคโดนัลด์และทีมวิจัยแห่งศูนย์สังเกตการณ์นิวตริโนซัดบิวรีได้ค้นพบปรากฏการณ์การแกว่งของอนุภาคนิวตริโนเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544 โดยใช้อุปกรณ์ตรวจจับนิวตริโนที่ตั้งอยู่ในเหมืองเก่าลึกลงไปใต้ดินกว่า 2,100 เมตรใกล้เมืองซัดบิวรี รัฐออนแทรีโอ โดยทีมวิจัยพิสูจน์ได้ว่านิวตริโนจากดวงอาทิตย์นั้นสามารถแกว่งและเปลี่ยนรูปไปเป็น อิเล็กตรอนนิวตริโน () มิวออนนิวตริโน () หรือเทานิวตริโน () ได้จริง ผลงานดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ใน Physical Review Letters ซึ่งเป็นวารสารวิชาการเชิงวิทยาศาสตร์โดยสมาคมฟิสิกส์แห่งอเมริกา และได้รับการพิจารณาว่าเป็นผลงานที่สำคัญมากชิ้นหนึ่ง ผลงานชิ้นนี้ได้พิสูจน์และแก้ปัญหาของนิวตริโนที่มาจากดวงอาทิตย์โดยใช้คำอธิบายจากปรากฏการณ์การแกว่งของนิวตริโน

เกียรติยศ[แก้]

  • (พ.ศ. 2549) เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งแคนาดา[4]
  • (พ.ศ. 2550) เหรียญเบนจามินแฟรงคลิน สาขาฟิสิกส์ มอบโดยสถาบันแฟรงคลินในฐานะ "การค้นพบว่าอนุภาคมูลฐานสามชนิดที่มีชื่อว่านิวตริโนสามารถเปลี่ยนชนิดไปมาได้เมื่อเดินทางเป็นระยะทางที่เหมาะสม และนิวตริโนเหล่านั้นมีมวล"[5]
  • (พ.ศ. 2554) เหรียญเฮนรีมาร์แชลทอรี มอบโดยราชสมาคมแห่งแคนาดาในฐานะ "นำเกียรติยศและสิ่งล้ำค่าทางภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศ"[6]
  • (พ.ศ. 2558) รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ร่วมกับทากาอากิ คาจิตะ ในฐานะ "การค้นพบปรากฏการณ์การแกว่งของนิวตริโน ซึ่งชี้ให้เห็นว่านิวตริโนนั้นมีมวล"[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "The Nobel Prize in Physics 2015" (ภาษาอังกฤษ). Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 ""Arthur B. McDonald"" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ""Board of directors"" (ภาษาอังกฤษ). Perimeter Institute for Theoretical Physics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-07. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Order of Canada, The Governor General of Canada, สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2558
  5. "Arthur McDonald", The Franklin Institute, สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2558
  6. "Henry Marshall Tory Medal" เก็บถาวร 2016-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Royal Society of Canada, สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2558

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]