อักษรญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรญี่ปุ่น
วรรณกรรมภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ 漢字仮名交じり文 (ข้อความที่ประกอบทั้งคันจิและคะนะ) อักขรวิธีสามัญสำหรับภาษาญี่ปุ่นสมัยใหม่ อักษรกำกับใช้กับคำในคันจิ ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2451
ชนิดตัวหนังสือคำ (คันจิ), ชุดตัวหนังสือพยางค์ (ฮิระงะนะ, คะตะคะนะ)ผสม:
ภาษาพูดภาษาญี่ปุ่น
กลุ่มภาษารีวกีว
ช่วงยุคคริสต์ศตวรรษที่ 4–ปัจจุบัน
ระบบแม่
(ดูที่คันจิและคะนะ)
  • อักษรญี่ปุ่น
ช่วงยูนิโคดU+4E00–U+9FBF คันจิ
U+3040–U+309F ฮิระงะนะ
U+30A0–U+30FF คะตะคะนะ
ISO 15924Jpan
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

ระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นสมัยใหม่ ใช้วิธีการผสมตัวหนังสือคำ คันจิ ซึ่งนำมาจากอักษรจีน และชุดตัวหนังสือพยางค์ คานะ ตัวคานะเองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม: ฮิรางานะที่ใช้สำหรับคำและองค์ประกอบทางไวยากรณ์ของภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม และคาตากานะที่ใช้สำหรับคำและชื่อต่างชาติ, คำยืม, สัทพจน์, ชื่อวิทยาศาสตร์ และบางครั้งอาจรวมการเน้น ประโยคภาษาญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดมีอักษรที่ผสมระหว่างคันจิและคานะ เนื่องจากการผสมผสานอักษรเหล่านี้ (นอกเหนือจากรายการอักษรคันจิจำนวนมาก) ทำให้ระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นจึงถือว่าเป็นหนึ่งในระบบที่ซับซ้อนที่สุดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน[1][2]

มีการใช้อักษรคันจิในชีวิตประจำวันถึงพันกว่าตัว ซึ่งส่วนใหญ่มีที่มาจากอักษรจีนตัวเต็ม ส่วนอักษรอีกกลุ่มที่ประดิษฐ์ในประเทศญี่ปุ่นมีชื่อเรียกว่า “วาเซคันจิ” (和製漢字, wasei kanji; หรือ “โคกูจิ” 国字, kokuji) แต่ละตัวอักษรมีความหมายที่แท้จริง (หรือช่วงของความหมาย) และส่วนใหญ่มีการออกเสียงมากกว่าหนึ่งรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบท โดยใน ค.ศ. 2010 นักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของญี่ปุ่นจำเป็นต้องเรียนรู้โจโยกันจิ 2,136 ตัว[3] อักษรคันจิทั้งหมดมีมากกว่า 50,000 ตัว แม้ว่าเจ้าของภาษาที่รู้อักษรคันจิใกล้เคียงจำนวนนี้จะมีจำนวนน้อยก็ตาม[4]

ข้อความที่ไม่มีอักษรคันจิเลยไม่ค่อยพบเห็นบ่อย โดยส่วนใหญ่จะปรากฏในหนังสือสำหรับเด็ก (เนื่องจากเด็กจะเรียนรู้อักษรตันจิเพียงไม่กี่ตัวในช่วงแรก) หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในยุคแรก เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และวิดีโอเกม ซึ่งไม่สามารถแสดงหน่วยอักขระที่ซับซ้อนอย่างอักษรคันจิ เนื่องจากข้อจำกัดทั้งด้านกราฟิกและคอมพิวเตอร์[5]

การใช้อักษร[แก้]

ประวัติ[แก้]

ก่อนพ.ศ. 900 ภาษาญี่ปุ่นไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเอง หลังจากนั้น เริ่มปรับปรุงอักษรจีนมาใช้ คาดว่าผ่านมาทางเกาหลี ครั้งแรกภาษาญี่ปุ่นเขียนด้วยอักษรจีนโบราณ หรือรูปแบบผสมระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ตัวอย่างของรูปแบบผสมเช่นโกจิกิ (kojiki:บันทึกประวัติศาสตร์) เขียนเมื่อ พ.ศ. 1255 พวกเขาเริ่มใช้รูปแบบอักษรจีนเขียนภาษาญี่ปุ่น ในรูปอักษรพยางค์ใบไม้หมื่นใบ (man'yōgana)

เมื่อเวลาผ่านไป ระบบการเขียนเป็นแบบใช้อักษรจีนเขียนคำยืมจากภาษาจีน หรือคำให้ภาษาญี่ปุ่นที่มีความหมายใกล้เคียงกัน รูปแบบอักษรจีนยังใช้แทนการออกเสียงในการเขียนไวยากรณ์ และต่อมากลายเป็นอักษรแทนพยางค์ 2 ชนิดคือ ฮิระงะนะ และคะตะคะนะ วรรณคดีญี่ปุ่นปรากฏขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1600 เช่น เรื่องเล่าแห่งเคนจิ โดย มูราซากิ ชิกิบุ

ภาษาญี่ปุ่นสมัยใหม่เขียนด้วยรูปแบบผสมของฮิระงะนะ คะตะคะนะร่วมกับคันจิ หนังสือสมัยใหม่จะรวมโรมาจิ (อักษรโรมัน) ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับการเขียนภาษาญี่ปุ่นด้วยอักษรโรมัน คำที่ไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่นเขียนด้วยอักษรของภาษานั้นหรือหรือสัญลักษณ์ที่เรียกคิโกะ (kigō)

อ้างอิง[แก้]

  1. Serge P. Shohov (2004). Advances in Psychology Research. Nova Publishers. p. 28. ISBN 978-1-59033-958-9.
  2. Kazuko Nakajima (2002). Learning Japanese in the Network Society. University of Calgary Press. p. xii. ISBN 978-1-55238-070-3.
  3. "Japanese Kanji List". www.saiga-jp.com. สืบค้นเมื่อ 2016-02-23.
  4. "How many Kanji characters are there?". japanese.stackexchange.com. สืบค้นเมื่อ 2016-02-23.
  5. "How To Play (and comprehend!) Japanese Games". GBAtemp.net -> The Independent Video Game Community. สืบค้นเมื่อ 2016-03-05.

ข้อมูล[แก้]

  • Gottlieb, Nanette (1996). Kanji Politics: Language Policy and Japanese Script. Kegan Paul. ISBN 0-7103-0512-5.
  • Habein, Yaeko Sato (1984). The History of the Japanese Written Language. University of Tokyo Press. ISBN 0-86008-347-0.
  • Miyake, Marc Hideo (2003). Old Japanese: A Phonetic Reconstruction. RoutledgeCurzon. ISBN 0-415-30575-6.
  • Seeley, Christopher (1984). "The Japanese Script since 1900". Visible Language. XVIII. 3: 267–302.
  • Seeley, Christopher (1991). A History of Writing in Japan. University of Hawai'i Press. ISBN 0-8248-2217-X.
  • Twine, Nanette (1991). Language and the Modern State: The Reform of Written Japanese. Routledge. ISBN 0-415-00990-1.
  • Unger, J. Marshall (1996). Literacy and Script Reform in Occupation Japan: Reading Between the Lines. OUP. ISBN 0-19-510166-9.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]