อะพอลโล 13

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะพอลโล 13
see caption
Odyssey's damaged service module, as seen from the lunar module Aquarius, hours before reentry
ประเภทภารกิจCrewed lunar landing attempt (H)
ผู้ดำเนินการNASA
COSPAR ID
  • CSM: 1970-029A
  • LM: 1970-029C
SATCAT no.4371[1]
ระยะภารกิจ5 days, 22 hours, 54 minutes, 41 seconds[2]
ข้อมูลยานอวกาศ
ยานอวกาศ
ผู้ผลิต
มวลขณะส่งยาน45,931 กิโลกรัม (101,261 ปอนด์)[3]
มวลหลังการลงจอด5,050 กิโลกรัม (11,133 ปอนด์)[4]
บุคลากร
รายชื่อผู้โดยสาร
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้นApril 11, 1970, 19:13:00 (1970-04-11UTC19:13Z) UTC
จรวดนำส่งSaturn V SA-508
ฐานส่งKennedy LC-39A
สิ้นสุดภารกิจ
เก็บกู้โดยยูเอสเอส Iwo Jima
ลงจอดแม่แบบ:End-date UTC
พิกัดลงจอดมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้
21°38′24″S 165°21′42″W / 21.64000°S 165.36167°W / -21.64000; -165.36167 (Apollo 13 splashdown)
บินผ่านดวงจันทร์ (orbit and landing aborted)
เข้าใกล้สุด15 เมษายน ค.ศ. 1970, 00:21:00 UTC
ระยะทาง254 กิโลเมตร (137 ไมล์ทะเล)*
Docking with LM
Docking date11 เมษายน ค.ศ. 1970, 22:32:08 UTC
Undocking date17 เมษายน ค.ศ. 1970, 16:43:00 UTC
Apollo 13 logo Three astronauts posing behind a lunar globe
เจมส์ ลอฟเวลล์, แจ็ค สไวเกิร์ต, เฟรด เฮส์ 

อะพอลโล 13 (อังกฤษ: Apollo 13) เป็นภารกิจมีคนควบคุมภารกิจที่ 7 ในโครงการอวกาศอะพอลโลและเป็นโครงการที่สามที่ตั้งใจลงจอดบนดวงจันทร์ มีการปล่อยยานสู่อวกาศในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1970 เมื่อเวลา 14:13 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออกจากศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา

การลงจอดดวงจันทร์ถูกยกเลิกหลังถังออกซิเจนหมายเลขสองระเบิด เพียงสองวันให้หลังจากปล่อยยาน ทำให้โมดูลบริการ (Service Module) ซึ่งเชื่อมต่ออยู่ติดกับโมดูลบังคับการ (Command Module) ได้รับความเสียหายบางส่วน [5] แม้ลูกเรือประสบความยากลำบากมหันต์จากพลังงานจำกัด การสูญเสียอุณหภูมิภายในยาน การขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค รวมถึงการต้องซ่อมบำรุงระบบดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เป็นกรณีเร่งด่วน [6] แต่ลูกเรือสามารถเดินทางกลับสู่โลกได้อย่างปลอดภัยในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1970 หกวันหลังเริ่มต้นภารกิจ

ยานบินผ่านเข้าใกล้ด้านไกลของดวงจันทร์ที่ความสูง 254 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ โดยมีระยะห่างจากโลกสูงสุด 400,171 กิโลเมตร เป็นสถิติมนุษย์ที่เดินทางห่างจากโลกมากที่สุด ภารกิจดังกล่าวมีเจมส์ เอ. ลอฟเวลล์เป็นผู้บัญชาการ โดยมี "แจ็ค" สไวเกิร์ต เป็นนักบินโมดูลบังคับการ และเฟรด ดับเบิลยู. เฮส์ เป็นนักบินโมดูลลงดวงจันทร์

สไวเกิร์ต ถูกเปลี่ยนตัวมาแทนเค็น แมตทิงลี เพียงไม่กี่วันก่อนออกเดินทาง เนื่องจากแมตทิงลีถูกศัลยแพทย์การบินสั่งห้ามบิน หลังมีความเสี่ยงได้รับโรคหัดเยอรมันจาก ชาร์ลส์ ดู๊ก ผู้บัญชาการตัวสำรองของภารกิจ[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Apollo 13 CM". N2YO.com. สืบค้นเมื่อ August 18, 2019.
  2. Orloff 2000, p. 309.
  3. Orloff 2000, p. 284.
  4. Orloff 2000, p. 307.
  5. Mansfield, Cheryl L. (2017-03-29). "Apollo 13". NASA (ภาษาอังกฤษ).
  6. "Apollo 13 Flight Journal - Day 4, part 4: Building The CO2 Adapter". history.nasa.gov.
  7. Mars, Kelli (2020-04-01). "50 Years Ago: Apollo 13 and German Measles". NASA.