องศาเดลิเซิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โจเซฟ-นิโคลัส[ลิงก์เสีย] เดลิเซิล ผู้คิดค้นมาตรวัดอุณหภูมิองศาเดลิเซิล

องศาเดลิเซิล (อังกฤษ:Delisle Scale, สัญลักษณ์: °D) คือหน่วยวัดอุณหภูมิที่คิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1732 โดยนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โจเซฟ-นิโคลัส เดลิเซิล[1] (Joseph-Nicolas Delisle) โดยวัดจุดเดือดของน้ำเป็น 0°D และจุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 150°D เป็นหน่วยที่นิยมใช้ในจักรวรรดิรัสเชียในอดีตเป็นเวลากว่า 100 ปี โดยมีผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงในวงการวิทยาศาสตร์คือ มิคาอิล โลโมโนซอฟ (Mikhail Lomonosov) นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ผู้ค้นพบกฎการอนุรักษ์มวลในปฏิกิริยาเคมี เป็นหน่วยการวัดอุณหภูมิที่แปลกกว่าหน่วยวัดอื่น ๆ เพราะ ยิ่งอุณหภูมิในหน่วยองศาเดลิเซิลสูงขึ้น อากาศจะยิ่งเย็นลง สวนทางกับมาตรวัดแบบอื่น ๆ

จากองศาเดลิเซิล แปลงให้เป็นองศาเดลิเซิล
องศาเซลเซียส [°C] = 100 − [°De] × ​23 [°De] = (100 − [°C]) × ​32
องศาฟาเรนไฮต์ [°F] = 212 − [°De] × ​65 [°De] = (212 − [°F]) × ​56
เคลวิน [K] = 373.15 − [°De] × ​23 [°De] = (373.15 − [K]) × ​32
องศาแรงคิน [°R] = 671.67 − [°De] × ​65 [°De] = (671.67 − [°R]) × ​56
องศานิวตัน [°N] = 33 − [°De] × ​1150 [°De] = (33 − [°N]) × ​5011
องศาโรเมอร์ [°Ré] = 80 − [°De] × ​815 [°De] = (80 − [°Ré]) × ​158
องศาเรอเมอร์ [°Rø] = 60 − [°De] × ​720 [°De] = (60 − [°Rø]) × ​207

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Camuffo, Dario (2002). Improved Understanding of Past Climatic Variability from Early Daily European Instrumental Sources. Kluwer Academic Publishers. p. 314.