ห่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ห่าน
ห่านหัวลายขณะบิน (Anser indicus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับใหญ่: Galloanserae
อันดับ: Anseriformes
วงศ์: Anatidae
วงศ์ย่อย: Anserinae
เผ่า: Anserini
สกุล

ห่าน จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก เป็นสัตว์ที่มนุษย์นิยมนำมาเลี้ยงเพื่อเฝ้าบ้าน หรือกำจัดวัชพืชในสวน และนำมาเลี้ยงเพื่อบริโภคเป็นอาหาร

ห่าน จัดเป็นนกขนาดใหญ่ที่อยู่ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ด, หงส์ และนกเป็ดน้ำชนิดต่าง ๆ ห่านมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับหงส์ แต่หงส์มีขนาดใหญ่กว่า และมีจุดเด่น คือ ในตัวผู้เมื่อถึงวัยโตเต็มที่แล้วจะมีปุ่มเนื้อแข็งหรือโหนกบริเวณก่อนถึงจะงอยปากตอนบน เด่นเห็นได้ชัดเจน [1]

ห่าน แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล ด้วยกัน (ดูในตาราง) แต่ในส่วนในประเทศไทยที่กลายมาเป็นต้นสายพันธุ์ห่านที่เลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์อย่างในปัจจุบัน ได้แก่ ห่านเทาปากชมพู (Anser anser) และห่านเทาปากดำ (A. cygnoides)[2]

ห่าน เป็นสัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันในเชิงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ด้วยว่ามีตัวใหญ่ มีเนื้อในปริมาณที่มาก นิยมปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ขาห่านอบหม้อดินกับเส้นบะหมี่ในอาหารจีน[3] และชาวจีนมีความเชื่อว่า หากไหว้เจ้าด้วยห่านจะส่งผลให้ลูกหลานรับราชการเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างดี[4]

สายพันธุ์ห่าน[แก้]

ห่าน ในปัจจุบันมีทั้งหมด 7 สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก คือ

  • ห่านพันธุ์จีน (สีเทาลายและสีขาว) (Chinese)
  • ห่านพันธุ์เอ็มเด็น (Embden)
  • ห่านพันธุ์ตูลูส (Toulouse)
  • ห่านพันธุ์ฟิลกริม (Pilgrim)
  • ห่านพันธุ์แอฟริกัน (หัวสิงโต) (African)
  • ห่านพันธุ์แคนาดา (ห่านป่า) (Canadian)
  • ห่านพันธุ์อียิปต์เชียน (Eqyptian)

อ้างอิง[แก้]

  1. [ลิงก์เสีย] ห่านท่าพระ จากกรมปศุสัตว์
  2. ห่าน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  3. ก๋วยเตี๋ยวห่านสะพานเหลือง อบหม้อดินรวมมิตรอร่อย จากไทยโพสต์
  4. "ตลาดสดสนามเป้า 15 กุมภาพันธ์ 2558 (FULL) [HD] "ใหญ่ ฝันดี" บุกล้วงสูตรเด็ด สุดยอด "ห่านฮ่องเต้"". ช่อง 5. 15 February 2015. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]