หินโคลน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หินโคลนที่ก่อตัวที่หาดลีมเรจิสตอนใต้ของประเทศอังกฤษ

หินโคลน (Mudstone) เป็นหินตะกอน (Sediment Rock) มีลักษณะ เนื้อละเอียด ประกอบด้วยทรายละเอียดและดินเหนียวปะปนกัน ซึ่งมีการเชื่อมประสานอนุภาคให้จับตัวกันแน่น มีขนาดอนุภาคน้อยกว่า 1/256 มิลลิเมตร หรือ น้อยกว่า 0.063 มิลลิเมตร (mm) หรือเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.0025 นิ้ว (inch)

กระบวนการเกิด[แก้]

เกิดจากการพัดพาตะกอนที่มีอนุภาคขนาดเล็กมาทับถมกันและมีจับตัวกันของอนุภาคขนาดเล็กเหล่านั้น

องค์ประกอบ[แก้]

หินโคลนประกอบด้วย

  1. แร่ควอร์ตซ์
  2. แร่ดินเหนียวต่าง ๆ

บริเวณที่พบ[แก้]

พบเกือบทุกจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย บริเวณที่เป็นแหล่งใหญ่ของหินโคลนก็คือ บริเวณ จังหวัดสระบุรี อยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี และยังพบที่ จังหวัดเลย สงขลา ยะลา นครศรีธรรมราช กาญจนบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี

ประโยชน์[แก้]

  1. ใช้เป็นหินประดับ
  2. ใช้เป็นวัสดุผสมในอุตสาหกรรมซีเมนต์

อ้างอิง[แก้]