หวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หวี

หวี เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดทรงผม ทำความสะอาด และจัดการกับผมหรือหนังศีรษะ มนุษย์ใช้หวีมาแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ถูกค้นพบย้อนไป 5,000 ปี ในแถบเปอร์เซีย[1]

รายละเอียด[แก้]

หวีประกอบด้วยด้าม และซีที่ติดตั้งฉากกับด้าม หวีอาจทำจากวัสดุต่าง ๆ ปกติทำจากพลาสติก โลหะ หรือไม้ ในอดีต หวีที่ทำจากงาสัตว์[2] และเปลือกเต่า[3] เคยหาง่าย แต่ประเด็นเกี่ยวกับสัตว์ทำให้พบได้น้อยลง หวีที่ทำจากไม้ มักทำจากไม้เนื้อแข็งจากพืชสกุลบอนไซ ไม้เชอร์รี หรือไม้ลายเรียบชนิดอื่น ๆ หวีไม้คุณภาพดีมักผลิตด้วยมือและขัดเงา[4]

หวีมีหลายรูปร่างและขนาดขึ้นกับสิ่งที่ใช้ร่วมกัน หวีผมมักบาง มีด้ามจับเรียวลงเพื่อใช้สางผม และมีซี่อยู่ชิดกัน หวีผมโดยทั่วไปมักมีซี่ห่างกว่า และเรียบกว่าหวีชนิดอื่น[5] หวีร้อนใช้ยืดผมตรงตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมในอเมริกาเหนือ[6]

แปรงเริ่มมีให้ใช้ทั้งด้วยมือและไฟฟ้า[7] แปรงมีขนาดใหญ่กว่าหวี และมักใช้จัดรูปร่าง รูปทรง และทำความสะอาดขนหรือผม[8] ในศตวรรษที่ 19 มีการจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ผสมกันระหว่างหวีกับแปรง[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Vaux, William Sandys Wright (1850-01-01). Nineveh and Persepolis: An Historical Sketch of Ancient Assyria and Persia, with an Account of the Recent Researches in Those Countries (ภาษาอังกฤษ). A. Hall, Virtue, & Company.
  2. Sandell, Hanne Tuborg; Sandell, Birger (1991-01-01). Archaeology and Environment in the Scoresby Sund Fjord (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. ISBN 9788763512084.
  3. White, Carolyn L. (2005-01-01). American Artifacts of Personal Adornment, 1680-1820: A Guide to Identification and Interpretation (ภาษาอังกฤษ). Rowman Altamira. ISBN 9780759105898.
  4. Sherrow, Victoria (2006-01-01). Encyclopedia of Hair: A Cultural History (ภาษาอังกฤษ). Greenwood Publishing Group. ISBN 9780313331459.
  5. Laing, Lloyd Robert (2006-06-29). The Archaeology of Celtic Britain and Ireland: C.AD 400 - 1200 (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 9780521838627.
  6. Hodder, Ian (1997-01-01). Interpreting Archaeology: Finding Meaning in the Past (ภาษาอังกฤษ). Psychology Press. ISBN 9780415157445.
  7. Corporation, Bonnier (1937-09-01). Popular Science (ภาษาอังกฤษ). Bonnier Corporation. p. 39.
  8. Cooley, Arnold James (1866-01-01). The Toilet and Cosmetic Arts in Ancient and Modern Times (ภาษาอังกฤษ). R. Hardwicke.
  9. The Canadian Patent Office Record and Register of Copyrights and Trade Marks (ภาษาอังกฤษ). Patent Office. 1895-01-01. p. 437.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]