หมู่เกาะซามัว

พิกัด: 14°16′S 171°12′W / 14.267°S 171.200°W / -14.267; -171.200
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่เกาะซามัว
ชื่อท้องถิ่น:
Motu o Sāmoa
บน: เกาะโอโลเซงาในกลุ่มเกาะมานูอา, หมู่เกาะซามัวตะวันออก ล่าง: แผนที่ของหมู่เกาะซามัว
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งพอลินีเซีย
พื้นที่3,030 ตารางกิโลเมตร (1,170 ตารางไมล์)
ระดับสูงสุด1,858 ม. (6096 ฟุต)
จุดสูงสุดมาอูงา ซิลิซิลิ
การปกครอง
เมืองใหญ่สุดอาปีอา (ประชากร 38,800 คน คน)
เมืองใหญ่สุดตาฟูนา (pop. 9,756 คน)
ประชากรศาสตร์
ประชากร249,839 คน (ค.ศ. 2012)

หมู่เกาะซามัว (ซามัว: Motu o Sāmoa) เป็นกลุ่มเกาะครอบคลุมพื้นที่ 3,030 ตารางกิโลเมตร (1,170 ตารางไมล์) ในแปซิฟิกใต้ตอนกลาง เป็นส่วนหนึ่งของพอลินีเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคโอเชียเนียอีกทอดหนึ่ง ในเชิงเขตบริหาร ปัจจุบัน หมู่เกาะมีสองเขตอำนาจควบคุม (jurisdiction) คือประเทศซามัวและอเมริกันซามัวส่วนใหญ่ (นอกจากเกาะสเวนส์ ซึ่งตามภูมิศาสตร์อยู่ในหมู่เกาะโตเกเลา) ภูมิภาคทั้งสองนี้แบ่งแยกโดยมหาสมุทรกว้าง 64 กิโลเมตร (40 ไมล์) จากจุดที่ใกล้ที่สุด

ประชากรหมู่เกาะซามัวมีประมาณ 250,000 คน[1] โดยใช้ภาษากลางร่วมกัน (ภาษาซามัว) ตลอดจนมีวัฒนธรรม (ฟาอาซามัว) และรูปแบบการปกครองพื้นเมืองแบบเดียวกัน (ฟาอามาไต)[2] ชาวซามัวเป็นหนึ่งในประชากรพอลินีเซียที่มากที่สุดในโลก และส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษเฉพาะชาวซามัว[3]

หลักฐานกิจกรรมของมนุษยฺในหมู่เกาะซามัวที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักปรากฏขึ้นประมาณ 1050 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในพื้นที่ลาปีตาของท่าเรือมูลีฟานูอาบนเกาะอูโปลู[4] ใน ค.ศ. 1768 หมู่เกาะทางตะวันออกมีนักสำรวจชาวฝรั่งเศสชื่อ บูร์แก็งวีล เดินทางมาเยือน ผู้ตั้งชื่อว่า หมู่เกาะต้นหน ชื่อดังกล่าวมิชชันนารีใช้เรื่อยมากระทั่ง ค.ศ. 1845 และในหนังสือราชการยุโรปกระทั่งราว ค.ศ. 1870[5]

เขตอำนาจ[แก้]

เรือรบเยอรมัน, อังกฤษ และอเมริกันที่ท่าเรืออาปีอา ค.ศ. 1899

ในทางการเมือง หมู่เกาะซามัวแบ่งเป็นเขตอำนาจสองเขต คือ :[1]

การแบ่งแยกทางการเมือง[แก้]

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 การแข่งขันทางการเมืองในการควบคุมหมู่เกาะระหว่างสหรัฐ เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ส่งผลให้เกิดอนุสัญญาไตรภาคีในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1899 ซึ่งแบ่งแยกหมู่เกาะซามัวอย่างเป็นทางการเป็นอาณานิคมของเยอรมนี (เยอรมันซามัว) ทางฝั่งตะวันตก และดินแดนของสหรัฐ (อเมริกันซามัว) ทางฝั่งตะวันออก[6] นิวซีแลนด์เริ่มครอบครองหมู่เกาะฝั่งตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งในตอนนั้นเป็นอาณานิคมของเยอรมนี และยังคงครอบครองจนถึง ค.ศ. 1920 จากนั้นนับตั้งแต่ ค.ศ. 1920 จนซามัวเป็นเอกราชใน ค.ศ. 1962 นิวซีแลนด์ปกครองหมู่เกาะทางตะวันตกภายใต้อาณัติชั้น C ของสันนิบาตชาติใน ค.ศ. 1920 ถึง 1946[7] และดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติใน ค.ศ. 1946 ถึง 1962 ขบวนการเมาที่นิยมเอกราชทั่วหมู่เกาะท้ายที่สุดนำไปสู่การได้รับเอกราชทางการเมืองจากนิวซีแลนด์ใน ค.ศ. 1962 ขณะที่หมู่เกาะทางตะวันออกยังคงเป็นดินแดนทางการเมืองของสหรัฐ[8]

ที่ตั้ง[แก้]

ชายหนุ่มสวมชุดรับททเป็น มาไนอา บุตรของหัวหน้าชาวซามัว (มาไต) ประมาณ ค.ศ. 1890–1910 (ภาพถ่ายโดยทอมัส แอนดรูว์)

หมู่เกาะซามัวตั้งอยู่ห่างจากฟิจิประมาณ 800 กิโลเมตร (500 ไมล์) จากตองงา 530 กิโลเมตร (330 ไมล์) จากนิวซีแลนด์ 2,900 กิโลเมตร (1,800 ไมล์) และ 4,000 กิโลเมตร (2,500 ไมล์) จากรัฐฮาวาย[9] หมู่เกาะตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 13 และ 14 องศาใต้ ลองติจูด 169 และ 173 องศาตะวันตก มีความยาวจากตะวันตกถึงตะวันออกราว 480 กิโลเมตร (300 ไมล์)[9]

เกาะขนาดใหญ่กว่ามี ภูเขาไฟเป็นต้นกำเนิด มักเป็นภูเขาและปกคลุมด้วยป่าชื้นเขตร้อน ส่วนเกาะขนาดเล็กกว่าบางแห่งเป็นเกาะปะการังวงแหวนและมีหาดทรายสีดำ[10] [11]

จุดสูงสุด[แก้]

จุดสูงสุดในประเทศซามัวคือเขาซิลิซิลิบนเกาะซาไวอี ที่ความสูง 1,858 เมตร (6,096 ฟุต) และยังเป็นหนึ่งในยอกเขาที่สูงที่สุดในพอลินีเชีย[12] ส่วนจุดสูงสุดในอเมริกันซามัวอยู่ที่ตาอู เขาลาตา ที่มีความสูง 966 เมตร (3,169 ฟุต)[13]: 3 

เขตเวลา[แก้]

ใน ค.ศ. 1892 หมู่เกาะซามัวย้ายเขตเวลาไปฝั่งตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากล มาลีเอโตอา ลาอูเปปา ผู้ปกครองในเวลานั้น ได้ออกประกาศว่าวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคมจะเกิดขึ้นสองครั้ง ทำให้มีวันพิเศษในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1892[14]การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวันประกาศอิสรภาพของสหรัฐ น่าจะมาจากการค้าขายกับสหรัฐที่เพิ่มขึ้น ทำให้หมู่เกาะนี้อยู่ในวันเดียวกันกับสหรัฐ[15]

ต่อมาใน ค.ศ. 2011 รัฐบาลประเทศซามัวตัดสินใจย้ายกลับไปฝั่งตะวันตกอีกครั้งเพื่อให้มีเวลาเดียวกันกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เนื่องจากล่าช้ากว่าประเทศเหล่านี้เพียงหนึ่งวัน ทำให้คู้ค้าหลักของซามัวมีเวลาทำงานเพียง 4 วัน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้ข้ามวันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม โดยคนงานได้รับค่าจ้างในวันที่ "หายไป" โตเกเลาก็ย้ายเวลาไปในวันเดียวกัน[15]

ภูมิอากาศ[แก้]

สภาพภูมิอากาศหมู่เกาะซามัวอยู่ในเขตร้อน โดยมีฤดูฝนอยู่ในช่วงพฤศจิกายนถึงเมษายน หมู่เกาะนี้มักได้รับผมกระทบจากพายุหมุนเขตร้อนในช่วงธันวาคมถึงมีนาคม เนื่องจากที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Cultures of Polynesia - Polynesian Cultural Center". polynesia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-08. สืบค้นเมื่อ 2 April 2018.
  2. Fana'afi Le Tagaloa, Aiono (1986). "Western Samoa: the sacred covenant". Land Rights of Pacific Women. Institute of Pacific Studies of the University of the South Pacific. p. 103. ISBN 982-02-0012-1. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
  3. Stanley, David (2004). Moon Handbooks: South Pacific. David Stanley. p. 500. ISBN 1-56691-411-6. สืบค้นเมื่อ 20 June 2010. Samoans full blooded Polynesian percentage.
  4. "New Information for the Ferry Berth Site, Mulifanua, Western Samoa by Roger C. Green & Helen M. Leach". Journal of the Polynesian Society. 98 (3): 1989. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-10. สืบค้นเมื่อ 22 April 2010.
  5. Masterman, Sylvia (1934). The Origins of International Rivalry in Samoa: 1845–1884. George Allen and Unwin Ltd, London. p. 14.
  6. Ryden, George Herbert. The Foreign Policy of the United States in Relation to Samoa. New York: Octagon Books, 1975. (Reprint by special arrangement with Yale University Press. Originally published at New Haven: Yale University Press, 1928), p. 574. The Tripartite Convention (United States, Germany, Great Britain) was signed at Washington on December 2, 1899, with ratifications exchanged on February 16, 1900.
  7. date of ratification by the League of Nations was 10 January 1920; Class C mandates were designed for populations considered incapable of self-government
  8. "The rise of the Mau movement". NZ History online. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
  9. 9.0 9.1 Robert, Kiste (1993–2002). Samoa: Microsoft Encarta Reference Library 2003. Redmond, WA: Microsoft Corporation. 60210-442-1635445-74407.
  10. "Insular Area Summary for American Samoa". U.S. Department of the Interior. April 6, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2009. สืบค้นเมื่อ April 11, 2011.
  11. "Background: Volcanic Islands and Seamounts in the Samoan Region". NOAA Office of Ocean Exploration and Research. สืบค้นเมื่อ 3 July 2022.
  12. Pratt, H. Douglas; และคณะ (1987). The Birds of Hawaii and the Tropical Pacific. Princeton University Press. pp. 16–18. ISBN 0-691-02399-9.
  13. Sunia, Fofo I.F. (2009). A History of American Samoa. Amerika Samoa Humanities Council. ISBN 978-1573062992.
  14. "Going Back 24 Hours". Evening News. 1892-07-20. สืบค้นเมื่อ 2022-07-03 – โดยทาง NLA.
  15. 15.0 15.1 Mydans, Seth (2011-12-29). "Samoa Sacrifices a Day for Its Future". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-07-03.
  16. "Samoa: Climate". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2007-11-26.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

14°16′S 171°12′W / 14.267°S 171.200°W / -14.267; -171.200