หน่วยความมั่นคงกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน่วยความมั่นคงกลาง
Федеральная служба безопасности
อักษรย่อFSB (ФСБ)
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้ง12 เมษายน พ.ศ. 2538 (28 ปี)
หน่วยงานก่อนหน้า
เจ้าหน้าที่State secret - greater than 262,000 (see text)
โครงสร้างเขตอำนาจ
หน่วยงานรัฐบาลกลางรัสเซีย
เขตอำนาจในการปฏิบัติการรัสเซีย
ลักษณะทั่วไป
สำนักงานใหญ่Lubyanka Square, มอสโก, รัสเซีย

เว็บไซต์
FSB.ru

หน่วยความมั่นคงกลาง หรือ เอฟเอสบี (รัสเซีย: Федеральная служба безопасности; ย่อ: ФСБ) เป็นหน่วยข่าวกรองของรัฐบาลประเทศรัสเซีย โดยเป็นหน่วยที่ได้รับสืบทอดมาจากหน่วยสืบราชการลับของสหภาพโซเวียตคือ คณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐ (KGB)

หน่วยงานก่อนหน้าของเอฟเอสบีคือ หน่วยงานต่อต้านข่าวกรองกลาง(FSK) ของรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้รับช่วงต่อจากหน่วยเคจีบี: เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2538 ประธานาธิบดีรัสเซีย บอริส เยลต์ซิน ได้ลงนามกฏหมายบังคับให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยเอฟเอสเคเสียใหม่ ซึ่งเป็นผลทำให้มีการสร้างหน่วยเอฟเอสบี ในปี พ.ศ. 2546 ความรับผิดชอบของหน่วยเอฟเอสบีได้ถูกขยายเพิ่มเติมโดยการรวมหน่วยงานพิทักษ์ชายแดนที่เป็นอิสระก่อนหน้านี้และเป็นส่วนสำคัญของสำนักการสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศของรัฐบาลกลาง (Federal Agency of Government Communication and Information - FAPSI) ที่ถูกยกเลิกไป องค์ประกอบโครงสร้างที่สำคัญของทั้งสามหน่วยงานที่รับช่วงต่อของอดีตหน่วยเคจีบีที่ยังคงเป็นอิสระในการบริหารของเอฟเอสบี คือ หน่วยข่าวกรองต่างประเทศ (SVR) หน่วยการป้องกันกลาง (FSO) และกองอำนวยการหลักของโครงการพิเศษของประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (GUSP)

ภายใต้กฏหมายของรัฐบาลกลางรัสเซีย เอฟเอสบีเป็นหน่วยงานทางทหาร เช่นเดียวกับกองทัพ กระทรวงกิจการภายใน (MVD) หน่วยการป้องกันกลาง (FSO) หน่วยข่าวกรองต่างประเทศ (SVR) หน่วยควบคุมยาเสพติดกลางของรัสเซีย (FSKN) กองอำนวยการหลักสำหรับการควบคุมยาเสพติด (GUKON) และกระทรวงสถานการณ์ฉุกเฉิน (EMERCOM) ในการปกป้องพลเรือน แต่เจ้าหน้าที่นายทหารชั้นสัญญาบัตรมักจะไม่สวมเครื่องแบบทหาร

เอฟเอสบี มีหน้าที่หลักในการรักษาความปลอดภัยภายในของรัฐรัสเซีย การต่อต้านข่าวกรอง และการต่อสู้กับองค์กรอาชญากรรม การก่อการร้าย และการลักลอบขนยาเสพติด ในขณะที่การจารกรรมในต่างประเทศถือเป็นความรับผิดชอบหลักของหน่วยข่าวกรองต่างประเทศของรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้รับช่วงต่อจากผู้อำนวยการแรกของเคจีบี เช่นเดียวกับกองอำนวยการข่าวกรองหลัก(GRU) หน่วยงานภายในกระทรวงกลาโหมรัสเซีย อย่างไรก็ตาม FAPSI ของเอฟเอสบีได้ดำเนินการเฝ้าระวังทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศ หน่วยงานบังคับใช้กฏหมายและหน่วยงานข่าวกรองทั้งหมดในรัสเซียนั้นจะทำงานอยู่ภายใต้คำแนะนำของเอฟเอสบี หากมีความจำเป็น[1]

เอฟเอสบี มีบุคลากรในเครื่องแบบ จำนวนประมาณ 66,000 คน รวมถึงทหารหน่วยรบพิเศษจำนวนประมาณ 4,000 นาย นอกจากนี้ยังมีบุคลากรจากหน่วยงานชายแดน มีทหารเฝ้าชายแดนจำนวนประมาณ 160,000–200,000 นาย[2]

ภายใต้มาตรา 32 ของกฏหมายรัฐธรรมนูญของรัฐบาลกลางเกี่ยวกับรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย[3] เอฟเอสบีจะตอบคำถามโดยตรงกับประธานาธิบดีรัสเซียและผู้อำนวยการของเอฟเอสบี ในขณะที่สมาชิกของรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งมีหัวหน้าเป็นประธานของรัฐบาล ที่จะรายงานต่อประธานาธิบดีเท่านั้น ผู้อำนวยการนั้น ยังมีตำแหน่งเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งรัสเซีย ซึ่งมีประธานโดยประธานาธิบดีและประธานแห่งคณะกรรมการการต่อต้านการก่อการร้ายแห่งชาติของรัสเซีย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sakwa, Richard. Russian Politics and Society (4th ed.). p. 98.
  2. Sakwa, Richard. Russian Politics and Society (4th ed.). p. 98.
  3. "Федеральный конституционный закон "О Правительстве Российской Федерации". kremlin.ru. 17 December 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Profiles[แก้]