สเปกตรัมความถี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สเปกตรัมการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของเหล็ก ในย่านแสงที่ตามองเห็น

สเปกตรัมความถี่ (อังกฤษ: frequency spectrum) ของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่แปรเปลี่ยนตามเวลา คือการแสดงค่าสัญญาณในโดเมนของความถี่ สามารถสร้างสเปกตรัมความถี่ได้โดยอาศัยการแปลงสัญญาณแบบฟูรีเย ผลลัพธ์ที่ได้มักจะแสดงเป็นแอมพลิจูดและเฟส โดยพล็อตอ้างอิงกับความถี่[1]

สัญญาณทุกชนิดที่สามารถแสดงค่าแอมพลิจูดที่แปรตามเวลา จะมีสเปกตรัมความถี่ที่เกี่ยวข้องเสมอ ซึ่งรวมไปถึง แสงที่ตามองเห็น (สี) โน้ตดนตรี ช่องสัญญาณโทรทัศน์หรือวิทยุ แม้แต่การหมุนของโลก เมื่อสามารถแสดงปรากฏการณ์ทางกายภาพเหล่านี้ในรูปแบบของสเปกตรัมความถี่ได้ ก็จะสามารถอธิบายถึงลักษณะทางกายภาพได้โดยง่าย โดยมากสเปกตรัมความถี่มักจะแสดงให้เห็นฮาร์โมนิกอย่างชัดเจน ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์ถึงกลไกภายในที่สร้างสัญญาณชนิดนั้นขึ้นมาได้

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Alexander, Charles; Sadiku, Matthew (2004). Fundamentals of Electric Circuits (Second ed.). McGraw-Hill. p. 761. ISBN 0-07-249350-X. The frequency spectrum of a signal consists of the plots of the amplitudes and phases of the harmonics versus frequency.