สาธารณรัฐนิยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สาธารณรัฐนิยม (อังกฤษ: republicanism) เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ความเป็นพลเมืองในรัฐที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ ซึ่งอาจเป็นระบอบคณาธิปไตยไปจนถึงอำนาจอธิปไตยของปวงชน (popular sovereignty) อย่างไรก็ดี ประเทศบางประเทศเป็นสาธารณรัฐเฉพาะในแง่ที่ว่า รัฐเหล่านั้นไม่ได้ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ ทว่าไม่ได้ยึดเอาอุดมคติของสาธารณรัฐนิยมเป็นที่ตั้ง

คำว่า "สาธารณรัฐ" มีที่มาจากคำลาตินว่า res publica ซึ่งอ้างอิงถึงรูปแบบของการปกครองที่ถือกำเนิดขึ้นในราว ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากการขับไล่กษัตริย์ของกรุงโรม โดย ลูเชียส จูนิอัส บรูตัส และ คอลลาตินัส[1] รูปแบบการปกครองนี้ล่มสลายลงในช่วงท้ายของ ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช โดยเปลี่ยนเป็นการปกครองแบบมีกษัตริย์ในเชิงรูปแบบ

การปกครองแบบสาธารณรัฐถูกฟื้นฟูกลับมาอีกครั้ง ในสมัยการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการฟลอเรนซ์ คตินิยมแบบสาธารณรัฐนิยมมีบทบาทอย่างมากในการปฏิวัติอเมริกา ส่วนในยุโรปแนวคิดนี้ได้เพิ่มอิทธิพลอย่างมากหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส

อ้างอิง[แก้]

  1. Mortimer N. S. Sellers. American Republicanism: Roman Ideology in the United States Constitution. (New York University Press, 1994. p. 71.)