สากลศักราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สากลศักราช[หมายเหตุ ก] (อังกฤษ: Common Era) ราชบัณฑิตยสภาเสนอให้ย่อว่า ส.ศ.[1] (CE) เป็นระบบนับปีปฏิทินสำหรับปฏิทินเกรกอเรียนและปฏิทินจูเลียน ซึ่งมีจำนวนเท่าเทียมกับปีตามระบบศักราชไดโอไนซัส (Dionysian era) ที่แบ่งออกเป็นคริสต์ศักราช (Christian Era) ย่อว่า ค.ศ. (CE) กับก่อนคริสตกาล (before Christ) เช่น ปี ส.ศ. 1 ย่อมตรงกับ ค.ศ. 1 ส่วนปีก่อน ส.ศ. 1 เรียกว่า ก่อนสากลศักราช (before the Common Era) อาจย่อว่า ก่อน ส.ศ. (BCE)[2][3]

เดิมที ไดโอไนซัสผู้นอบน้อม (อังกฤษ: Dionysius the Humble; ละติน: Dionysius Exiguus) คิดค้นระบบศักราชไดโอไนซัส (ค.ศ.) ขึ้นใน ค.ศ. 525 เพื่อใช้แทนศักราชของมรณสักขี (Era of the Martyrs) เพราะไม่ต้องการสืบสานความทรงจำเกี่ยวกับทรราชที่กดขี่ชาวคริสต์จนเกิดมรณสักขี[4] โดยเริ่มนับปีจากวันเริ่มยุคอ้างอิง (initial reference date) ซึ่งหมายถึงการประสูติของพระเยซู[4][5][6] ต่อมา นักบุญบีด (ฺBede) นำระบบศักราชไดโอไนซัสมาใช้ในประเทศอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 731 ทั้งยังริเริ่มการนับปีก่อนการประสูติของพระเยซู (ปีก่อนคริสตกาล) ทำให้ระบบศักราชดังกล่าวเริ่มแพร่หลายในยุโรป[7] ส่วนการเรียกปีตามระบบนี้ว่า ส.ศ. สามารถย้อนหลังไปถึง ค.ศ. 1615 อันเป็นเวลาที่ชื่อ "ส.ศ." ปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือของโจฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) ด้วยภาษาละตินว่า "vulgaris aerae"[8][9] และต่อมาปรากฏในภาษาอังกฤษว่า "Vulgar Era" เมื่อ ค.ศ. 1635 ส่วนชื่อ "Common Era" พบได้เก่าแก่ที่สุดใน ค.ศ. 1708[10] ครั้นกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชื่อ "ส.ศ." ได้รับการใช้งานแทนชื่อ "ค.ศ." อย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะในหมู่นักวิชาการชาวยิว จนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส.ศ. กลายเป็นที่นิยมใช้ในงานวิชาการและวิทยาศาสตร์ ทั้งใช้งานทั่วไปมากขึ้นในเหล่านักเขียนและนักพิมพ์ที่ไม่ต้องการอ้างอิงกับศาสนาคริสต์ หรือต้องการเน้นย้ำแนวคิดฆราวาสนิยม[11][12]

ระบบ ส.ศ. นี้เป็นระบบปฏิทินตามกฎหมายที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลกปัจจุบัน และเป็นมาตรฐานทั่วโลกที่สถาบันระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ และสหภาพไปรษณีย์สากล ยึดถือมานาน

หมายเหตุ[แก้]

หมายเหตุ ก ชื่อภาษาไทยของ "Common Era" นั้น ยังไม่มีการบัญญัติอย่างเป็นทางการ[1] "สากลศักราช" เป็นชื่อที่วินัย พงศ์ศรีเพียร เสนอต่อราชบัณฑิตยสภา[1] ส่วนวุฒิชัย มูลศิลป์ เสนอต่อราชบัณฑิตยสภาให้ใช้ว่า "ศักราชร่วม"[1] นอกจากนี้ ยังมีการเรียกว่า "ศักราชสากล"[13] ในแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการใช้ว่า "สากลศักราช"[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 วุฒิชัย มูลศิลป์ (2555). "Common Era คือศักราชอะไร และควรเรียกในภาษาไทยอย่างไร". จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน. ราชบัณฑิตยสถาน. 21 (238): 7.
  2. "Controversy over the use of the "CE/BCE" and "AD/BC" dating notation/". Ontario Consultants on Religious Tolerance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2011-11-12.
  3. "Common Era". American Heritage Dictionary of the English Language (3rd ed.). Boston: Houghton Mifflin. 1992.
  4. 4.0 4.1 Pedersen, O. (1983). "The Ecclesiastical Calendar and the Life of the Church". ใน Coyne, G.V.; และคณะ (บ.ก.). The Gregorian Reform of the Calendar. Vatican Observatory. p. 50. สืบค้นเมื่อ 2011-05-18.
  5. Doggett, L.E., (1992), "Calendars" in Seidelmann, P.K., The Explanatory Supplement to the Astronomical Almanac, Sausalito CA: University Science Books, 2.1
  6. Bromiley, Geoffrey W. (1995). The International Standard Bible Encyclopedia. Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 978-0-8028-3781-3. สืบค้นเมื่อ 2011-05-18.
  7. Bede wrote of the Incarnation of Jesus, but treated it as synonymous with birth. Blackburn, B & Holford-Strevens, L, (2003), The Oxford Companion to the Year, Oxford University Press, 778.
  8. Coolman, Robert. "Keeping Time: The Origin of B.C. & A.D." Live Science. สืบค้นเมื่อ 11 November 2017.
  9. "Earliest-found use of "vulgaris aerae" (Latin for Common Era) (1615)". สืบค้นเมื่อ 2011-05-18.Johannes Kepler (1615). Joannis Keppleri Eclogae chronicae: ex epistolis doctissimorum aliquot virorum & suis mutuis, quibus examinantur tempora nobilissima: 1. Herodis Herodiadumque, 2. baptismi & ministerii Christi annorum non plus 2 1/4, 3. passionis, mortis et resurrectionis Dn. N. Iesu Christi, anno aerae nostrae vulgaris 31. non, ut vulgo 33., 4. belli Iudaici, quo funerata fuit cum Ierosolymis & Templo Synagoga Iudaica, sublatumque Vetus Testamentum. Inter alia & commentarius in locum Epiphanii obscurissimum de cyclo veteri Iudaeorum (ภาษาละติน). Francofurti:Tampach. anno aerae nostrae vulgaris
  10. first so-far-found use of common era in English (1708). Printed for H. Rhodes. 1708. สืบค้นเมื่อ 2011-05-18. The History of the Works of the Learned. Vol. 10. London. January 1708. p. 513.
  11. Andrew Herrmann (27 May 2006). "BCE date designation called more sensitive". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-10. สืบค้นเมื่อ 2016-09-18. Herrmann observes, "The changes – showing up at museums, in academic circles and in school textbooks – have been touted as more sensitive to people of faiths outside of Christianity." However, Herrmann notes, "The use of BCE and CE have rankled some Christians"
  12. McKim, Donald K (1996). Common Era entry. Westminster dictionary of theological terms. ISBN 978-0-664-25511-4. สืบค้นเมื่อ 2011-05-18.
  13. Charin Phakprapai และ La–iard Silanoi (2561). "ความรู้เรื่องการเทียบพุทธศักราชกับศักราชอื่น ๆ ที่มัคคุเทศก์ควรทราบ". กระแสวัฒนธรรม: 64.[ลิงก์เสีย]
  14. สัญชัย สุวังบุตร และคนอื่น ๆ (2551). ประวัติศาสตร์สากล ม. 4–ม.6 (PDF). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์. pp. 2–3. ISBN 978-616-203-564-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-16. สืบค้นเมื่อ 2020-07-30.