สมเด็จพระราชาธิบดีมีซัน ไซนัล อาบีดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชาธิบดีมีซัน ไซนัล อาบีดิน
อัล-วาทิกุ บิลละฮ์ (ผู้เชื่อในพระเป็นเจ้า)
สุลต่านแห่งรัฐตรังกานู
ยังดี เปอร์ตวน อากง ลำดับที่ 13
ครองราชย์13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ราชาภิเษก26 เมษายน พ.ศ. 2550
ก่อนหน้าซีรอญุดดีนแห่งปะลิส
ถัดไปอับดุลแห่งเกอดะฮ์
นายกรัฐมนตรีอับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี
นาจิบ ราซัก
สุลต่านแห่งรัฐตรังกานู
ครองราชย์15 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน
ราชาภิเษก4 มีนาคม พ.ศ. 2542
ก่อนหน้าสุลต่านมะห์มูด
พระราชสมภพ22 มกราคม พ.ศ. 2505 (62 พรรษา)
รัฐตรังกานู สหพันธรัฐมาลายา
พระอัครมเหสีตวนกู นูร์ ซาฮิระห์
พระราชบุตรเติงกู นัดฮิระห์ ซาฮาระห์
เติงกู มูฮัมมัด อิสมาอิล
เติงกู มูฮัมมัด มุอาอัซ
เติงกู ฟาติมาตัส ซาห์รา
ราชวงศ์ตรังกานู
พระราชบิดาสุลต่านมะห์มูด อัลมักฟาติ บิลลาห์ ชาห์
พระราชมารดาชาลิฟา นอง ฟาติมา บินติ ซัยยิด อับดุลเลาะห์ เตงกู บซาร์ ตรังกานู
ศาสนาอิสลาม

สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน ทรงเป็นเป็นพระมหากษัตริย์มหารายาแห่งรัฐตรังกานู และเป็นพระราชโอรสในสุลต่าน มะห์หมุด อัลมักตาฟี บิลลาห์ ชาห์ พระมหากษัตริย์แห่งตรังกานูองค์ก่อน และพระองค์ทรงเป็นยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 13 ทรงเป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พระราชประวัติ[แก้]

สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน เสด็จพระราชสมภพวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2505 ณ พระราชวังอิสตานา อัล มักตาฟี เมืองกัวลาเตอเริงกานู รัฐตรังกานู เป็นพระราชโอรสพระองค์โตในสุลต่านมะห์มุด อัล-มักตาฟี บิลลาห์ ชาห์ กับพระนางชารีฟะ นอง ฟาติมา บินติ ซัยยิด อับดุลเลาะห์ พระมเหสีองค์รอง พระองค์เป็นยังดีเปอร์อากงแห่งมาเลเซียพระองค์แรก ที่ประสูติหลังการประกาศเอกราชของมาเลเซีย ส่วนพระมารดาของพระองค์มีเชื้อสายอาหรับจากซัยยิด โอมัร อัลญุนิอิด[1]

การศึกษา[แก้]

พระองค์ได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนประถมสุลต่านสุไลมาน และโรงเรียนระดับสองสุลต่านสุไลมาน ในเมืองกัวลาเตอเริงกานู เมืองเอกของรัฐตรังกานู ต่อมาได้ทรงเข้ารับการศึกษาต่อมาที่โรงเรียนกีลองแกรมมา เมืองกีลอง ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2531 พระองค์เสร็จสิ้นการศึกษาระดับปริญญาจาก U.S. International University-Europe ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยนานาชาติแอลเลียนต์ (Alliant International University) ที่กรุงลอนดอน สาขาศิลป์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

พระองค์สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารจากวิทยาลัยวิชาการทหารแซนเฮริสต์ (Sandhurst) ในสหราชอาณาจักร และสำเร็จการศึกษาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2526 และได้รับเรือโทกิตติมศักดิ์ใน พ.ศ. 2527

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตรังกานู[แก้]

  • พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชวงศ์ตรังกานูอันเป็นที่ยกย่องสูงสุด ชั้นสมาชิก
  • พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชวงศ์ตรังกานูที่ทรงเกียรติที่สุด ชั้นสมาชิก
  • พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชวงศ์ที่โดดเด่นที่สุดของตรังกานู ชั้นที่ 1
  • พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ถูกเลือกที่สุดของสุลต่านมิซานไซนัลอาบีดินแห่งตรังกานู ชั้นที่ 1
  • พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เคารพนับถือที่สุดของสุลต่านมะห์มุดที่ 1 แห่งตรังกานู ชั้นที่ 1
  • พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันโดดเด่นที่สุดแห่งมงกุฎตรังกานู ชั้นที่ 1

เครื่องราชอิสริยาภรณ์มาเลเซีย[แก้]

  • พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเลิศล้ำเลิศแห่งราชวงศ์
  • พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอันสูงสุดแห่งอาณาจักร
  • พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันที่นับถือที่สุดของผู้พิทักษ์อาณาจักร
  • พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติตุณ
  • พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดีเด่นแห่งการราชการ
  • พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ความภักดีต่อราชวงศ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Al-Mahjar" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-27. สืบค้นเมื่อ 2009-12-11.
  2. ราชกิจจานุบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖, ตอน ๔ ข, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒, หน้า ๑
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีมีซัน ไซนัล อาบีดิน ถัดไป
สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ซีรอญุดดีน ยังดี เปอร์ตวน อากง
(13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554)
สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ชาห์
สมเด็จพระราชาธิบดีซาลาฮุดดีน อับดุล อาซิซ ยังดี เปอร์ตวน อากง
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

(พ.ศ. 2544)
สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ซีรอญุดดีน
สุลต่านมะห์มุด อัล-มักตาฟี บิลลาห์ ชาห์
สุลต่านแห่งรัฐตรังกานู
(พ.ศ. 2541-ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในราชสมบัติ