สมัยระหว่างสงคราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Map of Europe with numbered locations
New-York Tribune ได้พิมพ์แผนที่นี้ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919, ของความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ในทวีปยุโรปในปี ค.ศ. 1919, หนึ่งปีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง:[1]
  1. สงครามประกาศอิสรภาพรัฐบอลติกในสงครามกลางเมืองรัสเซีย
  2. กองทัพขาวของนายพลยูเดนิช
  3. การแทรกแซงรัสเซียเหนือ
  4. กองทัพขาวของคอลชัคในไซบีเรีย
  5. กองทัพขาวของนายพล Denikin
  6. คณะกรรมาธิการยูเครนของนายพล Petlura
  7. สงครามโปแลนด์-โซเวียต
  8. ความตึงเครียดในไซลิเซีย ระหว่างโปแลนด์และเยอรมัน
  9. โรมาเนียยึดครองฮังการี
  10. Gabriele D'Annunzio's เข้ายึดแม่น้ำฟียูเม, ก่อตั้งเขตปกครองของผู้สำเร็จราชการอิตาลีแห่งคาร์นาโร
  11. ในแอลแบเนียประสบภาวะยุ่งเหยิงในการสู้รบของหลายฝ่ายที่เกิดขึ้น
  12. สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี

ในบริบทของประวัติศาสตร์คริสต์ศตวรรษที่ 20 สมัยระหว่างสงคราม (อังกฤษ: interwar period) เป็นช่วงเวลาระหว่างปลายสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 และจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ช่วงเวลานี้ยังถูกเรียกกันว่า ระหว่างสงคราม

แม้เป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างสั้น แต่ก็เป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั่วโลก เชื้อเพลิงปิโตเลียมและการใช้เครื่องจักรขยายตัวมากขึ้นจนนำไปสู่รอริงทเวนตี (Roaring Twenties) ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความมั่นคั่งทางเศรษฐกิจและการเติบโตของชนชั้นกลางในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และส่วนอื่น ๆ ของโลกอีกหลายส่วน รถยนต์, ไฟฟ้าส่องสว่าง, วิทยุกระจายเสียง ฯลฯ กลายเป็นสิ่งสามัญของประชากรในประเทศพัฒนาแล้ว ทว่า ในปลายทศวรรษนั้นได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เป็นการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนซึ่งก่อความเสียหายรุนแรงต่อเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลกหลายประเทศ

ในด้านการเมือง สมัยนี้เปิดฉากขึ้นพร้อมด้วยความเจริญของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งประเดิมด้วยการปฏิวัติเดือนตุลาคมและสงครามกลางเมืองรัสเซีย ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสิ้นสุดลงด้วยความเจริญของลัทธิฟาสซิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเยอรมนีและอิตาลี จีนนั้นอยู่ท่ามกลางช่วงเวลาความไร้เสถียรภาพอันยาวนานและสงครามกลางเมืองระหว่างก๊กมินตั๋ง (จีนคณะชาติ) และพรรคคอมมิวนิสต์จีน; จักรวรรดิบริติช ฝรั่งเศส และอื่น ๆ เผชิญความท้าทาย เมื่อลัทธิจักรวรรดินิยมถูกมองในเชิงลบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทวีปยุโรป และเกิดขบวนการเรียกร้องเอกราชขึ้นในดินแดนอาณานิคมหลายแห่ง ตัวอย่างเช่น ส่วนใต้ของเกาะไอร์แลนด์ที่ได้รับเอกราชหลังการสู้รบหนัก

จักรวรรดิออตโตมัน ออสเตรีย-ฮังการี และเยอรมันล่มสลายลง ในขณะที่ดินแดนอาณานิคมของจักรวรรดิเยอรมันและออตโตมันได้รับการแบ่งสรรในหมู่ชาติฝ่ายสัมพันธมิตรภายใต้การนำโดยบริติชและฝรั่งเศส ส่วนตะวันตกของอดีตจักรวรรดิรัสเซียได้รับเอกราช เกิดเป็นประเทศใหม่ ๆ ได้แก่ เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ ขณะที่เบสซาเรเบีย (ปัจจุบันคือมอลโดวาและบางส่วนของยูเครน) เลือกรวมกับโรมาเนีย

คอมมิวนิสต์รัสเซียสามารถเข้าควบคุมภูมิภาคของรัฐสลาฟตะวันออก เอเชียกลาง และคอเคซัส จึงก่อตั้งสหภาพโซเวียตขึ้น ไอร์แลนด์ได้ถูกแบ่งแยกระว่างรัฐเสรีไอร์แลนด์ที่ได้รับเอกราชและไอร์แลนด์ทางตอนเหนือที่ถูกควบคุมโดยบริติซ ในตะวันออกกลาง อียิปต์และอิรักได้รับเอกราช ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ประเทศลาตินอเมริกาโอนกิจการต่างชาติจำนวนมากมาเป็นของรัฐเพื่อพยายามเสริมสร้างเศรษฐกิจในประเทศของตน ความทะเยอทะยานในการครอบครองดินแดนของโซเวียต ญี่ปุ่น อิตาลี และเยอรมนีนำไปสู่การขยายอาณาเขตของประเทศเหล่านี้

อ้างอิง[แก้]

  1. New-York Tribune 1919, p. 26.