สมัชชาแห่งชาติไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมัชชาแห่งชาติของประเทศไทย (อังกฤษ: National People's Assembly of Thailand) เป็นองค์กรที่ประกอบด้วยบุคคลจากหลากหลายสาขาอาชีพ มาประชุมกันเพื่อคัดเลือกกันเองไปเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

พ.ศ. 2516[แก้]

หลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมัชชาแห่งชาติ เพื่อให้สมัชชาแห่งชาติจัดการประชุมคัดเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเข้าไปทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งนั้นประชุมกันที่สนามม้านางเลิ้ง จึงถูกเรียกว่า "สภาสนามม้า"[1] มีสมาชิก 2,347 คน[2]

พ.ศ. 2549[แก้]

หลังเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวน 1,982 คน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2549 จากนั้นวันที่ 17 ธันวาคม 2549 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ ณ หอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ และมีการประชุมเลือกสมาชิกด้วยกันเองจำนวน 200 คนในวันที่ 18 ธันวาคม 2549 เพื่อส่งให้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คัดเลือกเหลือ 100 คนเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

อ้างอิง[แก้]

  1. วิชญ์ชัย ธรรมประดิษฐ์, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) สภาผู้แทนราษฎร, สถาบันพระปกเกล้า, พ.ศ. 2544, หน้า 20-21
  2. สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พ.ศ. 2539, หน้า 433

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]