สปากส์ฟลาย (เพลง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"สปากส์ฟลาย"
ซิงเกิลโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์
จากอัลบั้มสปีกนาว
เขียนเมื่อ2006
วางจำหน่าย18 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 (2011-07-18)
แนวเพลงป็อปร็อก[1]
ความยาว4:22
ค่ายเพลงบิกมะชีน
ผู้ประพันธ์เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์
โปรดิวเซอร์
ลำดับซิงเกิลของเทย์เลอร์ สวิฟต์
"เดอะสตอรีออฟอัส"
(2011)
"สปากส์ฟลาย"
(2011)
"อาวเวอส์"
(2011)
มิวสิกวิดีโอ
"สปากส์ฟลาย" ที่ยูทูบ

"สปากส์ฟลาย" (อังกฤษ: Sparks Fly) เป็นเพลงของนักร้องนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ จากสตูดิโออัลบั้มที่สาม สปีกนาว (2010) เพลงเขียนและผลิตโดยสวิฟต์ และนาธาน แชปแมน เป็นผู้ช่วยผลิตด้วย สวิฟต์แต่งเพลงนี้ขณะอายุ 16 ปี ก่อนออกซิงเกิลแรก "ทิม แม็กกรอว์" เมื่อ ค.ศ. 2006 หลังจากเธอร้องสดใน ค.ศ. 2007 "สปากส์ฟลาย" ได้รับความนิยมในหมู่แฟนคลับของสวิฟต์ ขณะกำลังทำอัลบั้มสปีกนาว แฟนคลับขอร้องให้บรรจุเพลงนี้ลงไปในอัลบั้มด้วย เพลงถูกเผยแพร่ตามคลื่นวิทยุเพลงคันทรีในสหรัฐอเมริกาผ่านสังกัดบิกแมชีนเรเคิดส์ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2011 เป็นซิงเกิลที่ห้า มีซีดีซิงเกิลออกจำหน่ายในร้านค้าของสวิฟต์ในเวลาจำกัดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2011 ด้วย

"สปากส์ฟลาย" ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์ซึ่งยกย่องดนตรีที่มีจังหวะ นักวิจารณ์อีกกลุ่มชื่นชมเนื้อเพลง และกล่าวว่าเพลงถูกเปิดในคลื่นวิทยุทั้งแนวเพลงคันทรีและป็อป หลังจากออกอัลบั้มสปีกนาว เพลงเปิดตัวที่อันดับที่ 17 ในบิลบอร์ดฮอต 100 และอันดับที่ 28 ในแคนาเดียนฮอต 100 เนื่องจากยอดดาวน์โหลดสูง หลังจากเพลงออกเป็นซิงเกิล เพลงกลับเข้าบิลบอร์ดฮอต 100 ที่อันดับที่ 84 เพลงขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอตเพลงคันทรี และได้รับการรับรองระดับแพลตินัมจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากทำยอดขายได้มากกว่า 1,000,000 ซิงเกิล "สปากส์ฟลาย" ถูกนำไปร้องเปิดคอนเสิร์ตในสปีกนาวเวิลด์ทัวร์ (2011–12) มิวสิกวิดีโอเป็นคลิปวิดีโอจากการแสดงสดในสปีกนาวเวิลด์ทัวร์

เบื้องหลังและการจำหน่าย[แก้]

สวิฟต์เริ่มทำสตูดิโออัลบั้มที่สาม สปีกนาว เมื่อ ค.ศ. 2010 ก่อนวางจำหน่ายสองปี[2] "สปากส์ฟลาย" เขียนโดยสวิฟต์ขณะที่เธออายุ 16 ปี ก่อนอัลบั้มเทย์เลอร์ สวิฟต์ จำหน่ายใน ค.ศ. 2006[3] เธอแสดงเพลงนี้สดในการแสดงตามบาร์ที่ "มีผู้ชม 40-50 คน" หลายแห่ง[3] มีการบันทึกการแสดงสดในคอนเสิร์ตแห่งหนึ่งแล้วเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตเมื่อ ค.ศ. 2007[4] เพลงนี้กลายเป็นเพลงโปรดของแฟนเพลงของสวิฟต์ ทำให้สวิฟต์นำเพลงมาปรับปรุงใหม่ และนำบรรจุในอัลบั้มสปีกนาวหลังจากมีการร้องขอให้รวมไว้ในอัลบั้ม[3][5] สวิฟต์กล่าวถึงเพลงนี้ว่า "นี่เป็นเพลงที่ฉันแต่งไว้เมื่อสองสามปีก่อน และฉันก็ใช้เวลากับมันมาเรื่อย ๆ มันดูยอดเยี่ยมดีที่เห็นความเปลี่ยนแปลงของเพลงตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา แฟนเพลงได้ยินเพลงนี้มาก่อนในคอนเสิร์ต แต่มันก็มีความเปลี่ยนแปลงที่ฉันภูมิใจและฉันรอไม่ไหวที่จะให้พวกเขาได้ฟัง"[6]

เพลงถูกส่งเข้าคลื่นวิทยุเพลงคันทรีหลายคลื่นในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2011[7] เป็นซิงเกิลที่ห้าจากอัลบั้มสปีกนาว[8][9] หีบห่อรุ่นพิเศษวางจำหน่ายในร้านค้าของสวิฟต์ ประกอบด้วย สร้อยคอ "สปีกนาว" และซีดีซิงเกิล "สปากส์ฟลาย" มีตัวเลขระบุ ซีดีซิงเกิลดังกล่าวผลิตออกมาจำนวน 2,500 แผ่น และจำหน่ายในเวลาจำกัด[10] หีบห่อรวมอัลบั้มสปีกนาวฉบับดีลุกซ์ของบริษัททาร์เกตคอร์เปอเรชัน หูฟังหนึ่งคู่ และซีดีซิงเกิลให้เลือกระหว่างเพลง "สปากส์ฟลาย" "เดอะสตอรีออฟอัส" หรือ "มีน"[11] เพลงถูกนำไปเล่นในวิดีโอตัวอย่างของละครชุด ฮาร์ตออฟดิกซี ทางช่อง CW[12] เพลงถูกนำไปแสเงในงานประจำปี "การแสดงดอกไม้ไฟ 4 กรกฎาคม ของเมซี" (Macy's 4th of July Fireworks Show) เมื่อ ค.ศ. 2012 เพลงยังอยู่ในอัลบั้มรวมเพลง นาวแดตส์วอตไอคอลคันทรีวอลยุม 5 ด้วย[13][14]

ดนตรีและเนื้อเพลง[แก้]

"สปากส์ฟลาย" เป็นเพลงแนวคันทรีป็อป[7] ความยาว 4 นาที 22 วินาที[15] เพลงแต่งโดยสวิฟต์เพียงคนเดียว[16] แต่งด้วยคีย์ D ไมเนอร์ เสียงร้องของสวิฟต์เป็นอ็อกเทฟสองช่วง จาก F3 ถึง C5[17] โจนาธาน คีฟ กล่าวว่า "ท่อนอะแคปเปลลาที่ร้องว่า "Drop everything now" เรียกความสนใจได้อย่างง่ายดาย มาจากความรู้สึกสิ้นหวังของสวิฟต์หลังจากมีคำวิจารณ์ว่างานเพลงของเธอไร้เพศและไร้มลทิน"[18] บ็อบบี พีค็อก กล่าวว่า "ผมไม่รังเกียจหากยังมีเสียงแบนโจจากเพลงรุ่นปี 2007 อยู่แต่หากเอาออกไปก็ไม่เสียหายอะไร บางทีปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของผมคือท่อนประสานเสียงในครึ่งหลังของเพลงฟังดูอ่อนลง มันเริ่มต้นแบบเน้น ๆ และเป็นจังหวะตามปกติ แต่ในท่อนสร้อยกลับไม่มี "ความมีชีวิตชีวา" (oomph) มันเกือบจะรู้สึกราวกับว่าเธอเดินหลุดออกไปตรงกลางประโยค"[4] เบลก โบลต์ จากเอนจิน 145 กล่าวว่า ""สปากส์ฟลาย" มีท่อนสร้อยที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพ ท่อนที่ร้องว่า "I see sparks fly whenever you smile" ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้เธอเป็นนักแต่งเพลงที่มีฝีมือที่สุดคนหนึ่ง"[19] อะแมนดา เฮนเซล จากเทสต์ออฟคันทรี ให้ความเห็นเกี่ยวกับท่อนประสายเสียงในเพลงว่า ""แม้ว่าสวิฟต์บอกเป็นนัยว่า การหลงรักคนคนนี้เป็น "ความคิดที่แย่" เธอยังยืนยันว่าพวกเธอควรทำให้ผ่านไปด้วยดีในท่อนที่ว่า "ทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไว้ตอนนี้ แล้วพบฉันท่ามกลายสายฝน จูบฉันที่ข้างทางแล้วเยียวยาความเจ็บปวด เพราะฉันเห็นประกายระยิบระยับ เมื่อใดก็ตามที่คุณยิ้ม" (Drop everything now, meet me in the pouring rain / Kiss me on the sidewalk, take away the pain / ‘Cause I see sparks fly / Whenever you smile) ที่เธอร้องอย่างยืนหยัด[7]

สวิฟต์กล่าวว่า เพลงมีเนื้อหาเกี่ยวกับ "การตกหลุมรักคนที่คุณอาจจะไม่คู่ควร แต่คุณไม่สามารถหยุดตัวเองได้ เพราะมันมีความเชื่อมโยงและเคมี"[7]

การตอบรับ[แก้]

"สปากส์ฟลาย" ได้รับคำวิจารณ์ทั่วไปในด้านดี ร็อบ เชฟฟิลด์จากนิตยสารโรลลิงสโตนยกย่องเสียงร้องของสวิฟต์ในเพลง "สปากส์ฟลาย" ให้ความเห็นว่า เสียงของเธอในเพลงที่มีจังหวะเพิ่มขึ้นไม่มีผลเพียงพอที่จะปกปิดความเชี่ยวชาญในฐานะนักร้องของเธอ[20] Rahul Prabhakar จากนิตยสารดิออกโซเนียนรีวิวมองว่าเป็น "สิ่งที่สูบฉีดโดปามีน และชวนให้โยกสะบัดผม"[21] โจนาธาน คีฟ จากนิตยสารสแลนต์แมกกาซีนเรียกเพลงนี้ว่า "การวนซ้ำที่บริสุทธิ์ที่สุดตามแบบฉบับและองค์ประกอบศิลป์ของสวิฟต์" และกล่าวต่อไปว่ามัน "สามารถเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ รอบตัวสวิฟต์ บางทีอาจจะเป็นซิงเกิลที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างสมบูรณ์แบบที่สุดในอาชีพนักร้องที่เกิดขึ้นบนงานเพลงมหัศจรรย์ด้านการผลิตและแต่งเพลงป็อป" เขาสรุปโดยกล่าวว่าเพลง "พิสูจน์การนำเสนอที่รำลึกอดีตเหล่านั้นจะทำได้ในบริบทของเพลง ด้วยเหตุนั้น "สปากส์ฟลาย" จะเป็นแม่แบบได้พอ ๆ กับซิงเกิลเดี่ยวซิงเกิลหนึ่ง และเป็นการพิสูจน์ทุกสิ่งที่เทย์เลอร์ สวิฟต์ทำไว้ถูกแล้ว"[18] บ็อบบี พีค็อก จากรัฟสต็อก กล่าวว่าเขา "สัมผัสได้ว่าเทย์เลอร์เริ่มพบกับความเหนื่อยล้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ทางวิทยุ เพลงของเธอร่วงหล่นจากยอดดั่งก้อนหิน และเธอยังทำเพลงขึ้นสูงสุดบนชาร์ตบิลบอร์ดได้ 0 จาก 3 เพลง ขณะที่ผมไม่คิดว่าเพลงนี้จะให้ความรู้สึกเหนือคำบรรยาย (je ne sais quoi) เพื่อให้ได้รับความนิยมเทียบเท่ากับเพลง 'ยูบีลองวิดมี' ผมยังคิดว่าแม้ความพยายามเพียงเล็กน้อยของเธอก็เป็นเพลงที่คุ้มค่าต่อการฟัง"[4] เบลก โบลต์ จากเอนจิน 145 ยกย่องสวิฟต์โดยกล่าวว่า "การใส่ความเร่งรีบ ('Drop everything now,' เธอยืนกราน) และความกระตือรือร้น ('Take away the pain,' เธออ้อนวอน) ลงไปในท่อนเพลงแต่ละท่อน มาจากพรสวรรค์ของเธอ ไม่ได้มากเท่านักร้องแนวอื่น ๆ แต่เป็นผู้สื่อสารที่ยอดเยี่ยม โน้ตเพลงที่ตึงเครียดแต่ละโน้ตเต็มไปด้วยความหมาย ฉันควรจะอยู่หรือควรจะไป เธอสงสัย ปล่อยเวลาให้ผ่านไปหลายชั่วโมงก่อนเขาจะโทรหาเธออีกครั้ง"[19] อะแมนดา เฮนเซล จากนิตยสารเทสต์ออฟคันทรีอ้างว่าเพลงเป็น "อีกหนึ่งในหลาย ๆ เพลงของสวิฟต์ที่ค่อย ๆ เชื่อมต่อแนวเพลงคันทรีและป็อปเพื่อสร้างเป็นแนวเพลงใหม่ที่เป็นเทย์เลอร์ สวิฟต์ 100%"[7] เอริน ทอมสัน จากนิตยสารซีแอตเทิลวีกลี กล่าวว่า เขาไม่ "ตื่นเต้น" กับเพลงนี้และเปรียบเทียบเพลงนี้กับงานเพลงก่อนหน้า "เฟียร์เลส" "เฮย์สตีเฟน" และ "ฟอร์เอเวอร์แอนด์ออลเวส์" และกล่าวว่าสวิฟต์ "ใส่ท่อนเพลงเกี่ยวกับการยืนตากฝนในหลายเพลงจนผมเริ่มคิดว่าเธอดูภาพยนตร์ รักเธอหมดใจ ขีดไว้ให้โลกจารึก ทุกครั้งที่เธอนั่งแต่งเพลง"[22] มิคาเอล สูด จากนิตยสารสปินมองว่าเป็นเพลงที่สดชื่นเช่นเดียวกับเพลง "ลองลิฟ"[23]

ชาร์ต[แก้]

ชาร์ตประจำสัปดาห์[แก้]

ชาร์ต (2010–11) อันดับ
สูงสุด
Australia (ARIA)[24] 97
Canada (Canadian Hot 100)[25] 28
Canada Country (Billboard)[26] 3
US Billboard Hot 100[27] 17
US Hot Country Songs (Billboard)[28] 1

ชาร์ตสิ้นปี[แก้]

ชาร์ต (2011) อันดับ
US Hot Country Songs (Billboard)[29] 37

การรับรอง[แก้]

ประเทศ การรับรอง จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย
United States (RIAA)[31] Platinum 1,100,000[30]

*ตัวเลขยอดขายขึ้นกับการรับรองอย่างเดียว
^ตัวเลขการจัดส่งขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว

ประวัติการวางจำหน่าย[แก้]

ประเทศ วันที่ รูปแบบ สังกัด
สหรัฐ 18 กรกฎาคม 2011[32] Country radio บิกมะชีนเร็กเคิดส์
10 สิงหาคม 2011[10][33] ซีดีซิงเกิลลิมิเต็ดอิดิชัน

อ้างอิง[แก้]

  1. O'Connor, Roisin (August 23, 2019). "Taylor Swift: Her 100 album tracks – ranked". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2019. สืบค้นเมื่อ December 3, 2019.
  2. John, Christopher (July 21, 2010). "Taylor Swift Sets Release Date for New Album 'Speak Now' – Speakeasy — WSJ". The Wall Street Journal. Les Hinton. สืบค้นเมื่อ July 22, 2010.
  3. 3.0 3.1 3.2 Taylor Swift (September 1, 2011). "YouTube Presents Taylor Swift". YouTube. Google Inc. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Taylor Swift – "Sparks Fly"". Bobby Peacock. Roughstock. August 8, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-14. สืบค้นเมื่อ August 8, 2011.
  5. Swiftie13 (August 22, 2011). "Fans Responsible For Getting "Sparks Fly" On Taylor Swift CD « Nashville Music Scene". Nashville!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-18. สืบค้นเมื่อ June 20, 2012.
  6. "Taylor Swift Music and Lyrics". TaylorSwift.com. October 25, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-25. สืบค้นเมื่อ August 11, 2011.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "Taylor Swift, 'Sparks Fly' – Song Review". Taste of Country. Townsquare Media. July 4, 2011. สืบค้นเมื่อ August 11, 2011.
  8. "Watch the "Sparks Fly" Beginning Next Week" (PDF). Country AirCheck. June 28, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-21. สืบค้นเมื่อ June 27, 2012.
  9. "Taylor Swift confirms 5th single off Speak Now". Alejandro. Shuffleme.net. July 7, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-27. สืบค้นเมื่อ June 27, 2012.
  10. 10.0 10.1 CD Single Reference:
  11. "Speak Now Deluxe CD-DVD + CD Single + FREE Headphones". TaylorSwift.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ September 9, 2011.
  12. Bricker, Tierney (January 9, 2012). "Taylor Swift Makes "Sparks Fly" in New Hart of Dixie Clip—Check It Out Now!". E! Online. สืบค้นเมื่อ January 20, 2012.
  13. "Now That's What I Call Country, Vol. 5 - Various Artists : Songs, Reviews, Credits, Awards". Allmusic. Rovi Corporation. สืบค้นเมื่อ June 2, 2012.
  14. "NOW Country 5: Now That's What I Call Country: Music". Amazon.com (US). Amazon Inc. สืบค้นเมื่อ June 20, 2012.
  15. "Speak Now Taylor Swift". Allmusic. Rovi Corporation. October 25, 2010. สืบค้นเมื่อ July 25, 2011.
  16. Sparks Fly (CD single). Taylor Swift. Big Machine Records. 2011. 4393000542.{{cite AV media notes}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  17. "Digital sheet music – Taylor Swift – Sparks Fly". Musicnotes.com. Alfred Publishing. October 25, 2010. สืบค้นเมื่อ July 25, 2011.
  18. 18.0 18.1 "Single Review: Taylor Swift, "Sparks Fly"". Jonathan Keefe. Country Universe. July 12, 2011. สืบค้นเมื่อ August 8, 2011.
  19. 19.0 19.1 "Single Review: Taylor Swift – "Sparks Fly". Blake Boldt. Engine145. July 18, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-05. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
  20. "Taylor Swift Speak Now Big Machine". Rolling Stone. Wenner Media. October 26, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-11. สืบค้นเมื่อ October 26, 2010.
  21. "Taylor Swift Needs a Gap Year". Rahul Prabhakar. The Oxonian Review. November 1, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-06. สืบค้นเมื่อ August 8, 2011.
  22. "Taylor Swift's Speak Now Track "If This Was A Movie" Is Better Than Her Upcoming New Single". Erin Thompson. Seattle Weekly. November 25, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-30. สืบค้นเมื่อ December 12, 2011.
  23. Mikael Wood (December 2010). "Swift Justice: No time for teardrops, country star spits venom". Spin. Spin Media LLC. สืบค้นเมื่อ June 2, 2012.
  24. "Pandora Archive" (PDF). ARIA Charts. November 8, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ January 16, 2013. สืบค้นเมื่อ January 16, 2013.
  25. "Taylor Swift Chart History (Canadian Hot 100)". Billboard. สืบค้นเมื่อ June 28, 2012.
  26. "Taylor Swift Chart History (Canada Country)". Billboard.
  27. "Taylor Swift Chart History (Hot 100)". Billboard. สืบค้นเมื่อ June 28, 2012.
  28. "Taylor Swift Chart History (Hot Country Songs)". Billboard. สืบค้นเมื่อ June 28, 2012.
  29. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ year
  30. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ sales
  31. "American single certifications – Taylor Swift – Sparks Fly". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ August 10, 2014.
  32. "Country Aircheck Chart Info" (PDF). Country Aircheck. No. 251. July 11, 2011. p. 16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-21. สืบค้นเมื่อ July 11, 2011.
  33. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ twitter

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]