สปริง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สปริง คือ ขดสปริง หมายถึง Coil Spring เป็นขดลวดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดต่างๆ ขดเป็นวง รูปทรงกระบอก โดยทั่วไปหมายถึงการยืดหด ยุบ หรือขยายตัว ของอุปกรณ์ เรียกว่า สปริง เช่น การสปริงของยางยืด (Rubber Spring) เป็นต้น ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ว่า สปริงหมายถึง สิ่งที่ยืดหรือหดแล้วคืนตัวได้เอง (อ. spring) สปริงมีหลายประเภท หลายรูปแบบ ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่

  • แหนบ (Leaf Spring)

สปริงแบบแหนบจะรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนโดยการ โค้งหรืองอตัว ของแผ่นแหนบ สปริงขดรับน้ำหนักโดยการ หด หรือยุบตัว ของขดสปริง

  • เหล็กบิด หรือทอร์ชั่นบาร์ (Torsion bar)

ส่วนเหล็กบิด หรือทอร์ชั่นบาร์ นั้น จะรับแรงสั่นสะเทือนโดยการ บิดตัวของเพลา

  • สปริงลม (Air Spring)

สปริงลมลดแรงสั่นสะเทือนจากการอัดตัวของลม ในถุงลม

  • ไฮโดรนิวเมติก (Hydro - Pneumatic)

ส่วนสปริงแบบไฮโดรนิวเมติก ดูดซับแรงสั่นสะเทือน โดยการอัดตัวของแก๊สไนโตรเจนและของเหลว (ที่ใช้อยู่เป็นน้ำมันไฮดรอลิก) ในระบบ

สปริง

สปริงมีประโยชน์มากต่อกลไกประดิษฐ์ที่เป็นอุปกรณ์ในชีวิตประจำวัน สปริงเชื่อมโยงกับสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์กระทำขึ้นในทุกหนทุกแห่ง แม้บนเตียงนอนและเฟอร์นิเจอร์ที่เราใช้งาน ใต้เบาะลึกลงไปก็ประกอบไปด้วยสปริงจำนวนมาก

ค่าการยุบของสปริง[แก้]

ค่า K ของสปริง คือ ค่าการยุบตัวของสปริงรถยนต์ เป็นค่าความแข็งของคอยล์สปริง ที่ใช้ในระบบรองรับน้ำหนักรถยนต์ สำหรับการผลิตรถยนต์ เมื่อทำการออกแบบระบบรองรับน้ำหนักรถยนต์ วิศวกรจะต้องกำหนดค่า Spring Rate ของคอยล์สปริงให้เหมาะสมกับการใช้งานและน้ำหนักของรถยนต์ เพื่อให้ได้สมรรถนะการขับขี่และยึดเกาะถนนที่ดี รวมถึงการทรงตัว และความนุ่มนวลในการขับขี่ โดยการออกแบบต้องให้สอดคล้องกับการใช้งานจริง