สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Tempietto di San Pietro in Montorio (ค.ศ. 1502) โรม โดย โดนาโต ดันเจโล บรามันเต ซึ่งเป็นวัดที่สร้างบนที่ที่เชื่อกันว่าเป็นที่ที่นักบุญปีเตอร์สิ้นชีวิด
มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี

สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ (อังกฤษ: Renaissance architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่15 และรุ่งเรืองไปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบางประเทศในทวีปยุโรปหันมาฟื้นฟูความสนใจเกี่ยวกับปรัชญากรีก และ โรมันโบราณ และวัตถุนิยม

สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเน้นความมีความสมมาตร (symmetry) ความได้สัดส่วน (proportion) การใช้รูปทรงเรขาคณิต และลักษณะที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่นสถาปัตยกรรมสมัย โรมัน การวางโครงสร้างจะเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ว่าจะเป็นเสา หรือ คานรับเสา และการใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม การใช้โดม มุข (niche) หรือ aedicule ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้ามาแทนที่จะเป็นแบบตรงกันข้ามกับรูปทรงที่ซับซ้อนและไม่เป็นระเบียบ (irregular profile) ที่เป็นที่นิยมของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิก

สถาปนิกคนแรกที่เริ่มแบบแผนของสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคือ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีหลังจากนั้นไม่นานลักษณะสถาปัตยกรรมที่ว่านี้ก็แพร่หลายไปทั่วประเทศอิตาลี และต่อไปยังฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอื่นๆ

อ้างอิง[แก้]

  • Sir Banister Fletcher, A History of Architecture on the Comparative Method, first published 1896, current edition 2001, Elsevier Science & Technology ISBN 0750622679

ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]