สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติเมียนมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Myanmar Radio and Television (MRTV)
ประเภทโทรทัศน์ภาคพื้นดิน เครือข่ายวิทยุและเครือข่ายโทรทัศน์
ประเทศธงของประเทศพม่า พม่า
เจ้าของกระทรวงสารสนเทศพม่า
วันที่เปิดตัว
15 กุมภาพันธ์ 1946; 78 ปีก่อน (1946-02-15)[1] (วิทยุ)
มิถุนายน 1979; 44 ปีก่อน[2] (โทรทัศน์)
ชื่อเดิม
Burma Broadcasting Service (BBS) (1946–1962)
ပြန်ကြားရေးနှင့် အသံလွှင့်ဦးစီးဌာန (1962–1989)
Myanma Television and Radio Department (MTRD) (1989–1997)
ระบบภาพ
480i (4:3 SDTV)
1080i (16:9 HDTV)
สัญญาณเรียกขานMRTV
เว็บไซต์ทางการ
www.mrtv.gov.mm

สถานีวิทยุและโทรทัศน์เมียนมา (พม่า: မြန်မာ့အသံနှင့်ရုပ်မြင်သံကြား; ย่อมาจาก MRTV) ชื่อเดิมคือ Burma Broadcasting Service (BBS) เป็นหน่วยงานบริหารของสถานีวิทยุ Myanmar Radio National Service และสถานีโทรทัศน์ MRTV ของรัฐบาลพม่า โดยสถานีโทรทัศน์ออกอากาศจากศูนย์ที่ กะมายุ่ ย่างกุ้ง ส่วนบริการวิทยุปัจจุบันออกอากาศจากสถานีหลักในเนปยีดอ

ประวัติ[แก้]

บริการวิทยุเริ่มออกอากาศในพม่าครั้งแรกในปี ค.ศ. 1936 ช่วงยุคอาณานิคมของอังกฤษ[3] ชื่อของสถานีคือ Bama Athan (พม่า: ဗမာ့အသံ; "้เสียงจากพม่า") เริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 เมื่อเมียนมาร์อยู่ในอาณานิคมของอังกฤษได้จัดตั้งองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะพม่า (BBS) โดยดำเนินการออกอากาศรายการข่าวสารทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยภาษาพม่า ดนตรีและความบันเทิง ตอบปัญหาความรู้และบทเรียนเพื่อการศึกษา ข่าวภาษาอังกฤษและเพลง[1] หลังจากได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1948 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น Myanma Athan (พม่า: မြန်မာ့အသံ; ยังหมายถึงเสียงของพม่า แต่เป็นคำที่เป็นทางการของ "พม่า") บริการถูกเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยุพม่าโดย รัฐบาลทหาร ซึ่งเข้ามามีอำนาจในปี ค.ศ.1988 รัฐบาลทหารพม่ายังได้เปลี่ยนชื่อบริการวิทยุหลักของ BBS เป็น สถานีวิทยุและโทรทัศน์พม่า (MRTV) ในปี ค.ศ. 1997[3]

จนกระทั่งถึงการเปิดตัวของวิทยุย่างกุ้งเอฟเอ็ม ในปี ค.ศ. 2001 สถานี BBS / วิทยุพม่า เป็นเพียงสถานีวิทยุแห่งเดียวในประเทศ ศูนย์ออกอากาศหลักเคยตั้งอยู่ที่ 426 ถนนแปร ในกะมายุ่ ในย่างกุ้ง เป็นเวลาหลายปี ต่อมาตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 2007 สถานีออกอากาศหลักได้ย้ายไปที่เนปยีดอ ปัจจุบันสถานีย่างกุ้งส่วนใหญ่ถ่ายทอดรายการจากทางสถานีเนปยีดอ

บริการโทรทัศน์ในพม่าเปิดตัวครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1979 เพื่อทดลองส่งสัญญาณการออกอากาศใช้ในย่างกุ้ง[2] MRTV เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1980[4] และบริการโทรทัศน์ปกติเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1981[5] โดยใช้มาตรฐาน NTSC[6] ในปี ค.ศ. 2005 MRTV มีสถานีถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ 195 สถานีทั่วประเทศ[7]

การขยายตัว[แก้]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 MRTV เริ่มออกอากาศภาคพื้นดินแบบดิจิทัล ด้วย DVB-T2 เช่นเดียวกับประเทศไทยและส่วนใหญ่ในอาเซียน โดยมี 18 ช่องโทรทัศน์และ 3 ช่องวิทยุในระบบ MRTV มัลติเพล็กซ์ สถานี MRTV มีแผนในการนำเสนอข่าวในรูปแบบที่ทันสมัย และจะมีห้องรายงานข่าวที่ตกแต่งอย่างดี และจะเพิ่มเวลาการออกอากาศข่าวเป็น 18 ชั่วโมง (ก่อนหน้านี้ 10 ชั่วโมง) เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2018 MRTV ได้เพิ่ม 5 ช่องทีวีใหม่ในระบบ Multiplex Play out เช่น Mizzima TV, Democratic Voice of Burma, Fortune, Channel K และ MYTV (พม่า) อย่างไรก็ตามมีเพียง Mizzima TV และ Democratic Voice of Burma เท่านั้นที่เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแแบบในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2018

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Kyaw Kyaw Htun; Win Lwin. "Myanmar Country Report" (PDF). ASEAN Mass Communication Studies and Research Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2008.
  2. 2.0 2.1 Thant Myint-U (2006). The River of Lost Footsteps--Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. p. 371. ISBN 978-0-374-16342-6.
  3. 3.0 3.1 Aung Zaw (2004). Marie Korpe (บ.ก.). Shoot the Singer!. Zed Books. p. 41. ISBN 9781842775059.
  4. "Junta Launches New PR Offensive". The Irrawaddy. 1 สิงหาคม 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 สิงหาคม 2010.
  5. May Thaw (12–18 มีนาคม 2007). "Broadcasting options expanding". Myanmar Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ธันวาคม 2013.
  6. Michael Hegarty; Anne Phelan; Lisa Kilbride (1 January 1998). Classrooms for Distance Teaching and Learning: A Blueprint. Leuven University Press. pp. 260–. ISBN 978-90-6186-867-5.
  7. "Myanmar to Launch Second FM Radio Station". Xinhua. Red Orbit. 5 October 2005.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]