สถานีรถไฟแม่กลอง

พิกัด: 13°24′27″N 99°59′47″E / 13.4074994°N 99.9962577°E / 13.4074994; 99.9962577
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟแม่กลอง
รถไฟชานเมือง
ป้ายสถานีรถไฟแม่กลองฝั่งถนนเพชรสมุทร
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนเพชรสมุทร ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 75000
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
  สายแม่กลอง – สายบ้านแหลม–แม่กลอง
ชานชาลา1
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ที่จอดรถข้างสถานีริมฝั่งแม่น้ำ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี5032 (แอ.)
ประเภทสถานีรถไฟชั้น 3
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ10 มิถุนายน พ.ศ. 2448 (118 ปี)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
สถานีปลายทาง สายแม่กลอง
สายบ้านแหลม–แม่กลอง
ลาดใหญ่
มุ่งหน้า บ้านแหลม
แม่กลอง
Mae Klong
กิโลเมตรที่ 33.944
บางกระบูน
Bang Krabun
−3.59 กม.
สิ้นสุดทางรถไฟ
End of the railway
+0.11 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายแม่กลอง
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรถไฟแม่กลอง (อังกฤษ: Mae Klong Railway Station) เป็นสถานีรถไฟระดับ 3 บนทางรถไฟสายแม่กลอง (ช่วงบ้านแหลม-แม่กลอง) ตั้งอยู่ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม[1] ซึ่งเป็นสถานีปลายทางของเส้นทางช่วงบ้านแหลม-แม่กลอง ระยะทาง 34.049 กิโลเมตร ในระยะทางปัจจุบัน

ผู้โดยสารที่เดินทางไปกรุงเทพ จะต้องลงจากขบวนรถที่สถานีรถไฟบ้านแหลม และต่อเรือข้ามฟากที่ท่าฉลอม ไปขึ้นรถไฟช่วงต่อที่สถานีรถไฟมหาชัย มีปลายทางที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ระยะทาง 31.220 กิโลเมตร [2]

ตารางเวลาการเดินรถ[แก้]

*ข้อมูลวันที่ 4 กันยายน 2563[3]

เที่ยวไป[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง แม่กลอง ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ช4381 บ้านแหลม 07.30 ปลายทาง แม่กลอง 08.30
ช4383 บ้านแหลม 10.10 ปลายทาง แม่กลอง 11.10
ช4385 บ้านแหลม 13.30 ปลายทาง แม่กลอง 14.30
ช4387 บ้านแหลม 16.40 ปลายทาง แม่กลอง 17.40
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวกลับ[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง แม่กลอง ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ช4380 แม่กลอง 06.20 ต้นทาง บ้านแหลม 07.20
ช4382 แม่กลอง 09.00 ต้นทาง บ้านแหลม 10.00
ช4384 แม่กลอง 11.30 ต้นทาง บ้านแหลม 12.30
ช4386 แม่กลอง 15.30 ต้นทาง บ้านแหลม 16.30
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

ประวัติสถานีรถไฟแม่กลอง[แก้]

สถานีรถไฟแม่กลอง อยู่ในเส้นทางรถไฟสายแม่กลอง(ช่วงสถานีรถไฟบ้านแหลม - สถานีรถไฟแม่กลอง) เปิดเดินรถไฟตลอดทั้งสายครั้งแรกเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2448 ในนามบริษัท รถไฟแม่กลอง ทุนจำกัด(บริษัทที่ได้รับสัมปทานในขณะนั้น)

วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 บริษัท รถไฟท่าจีน จำกัด ผู้ได้รับสัมปทานทางรถไฟสายแม่กลอง(ช่วงสถานีรถไฟปากคลองสาน - สถานีรถไฟมหาชัย)ในขณะนั้น กับบริษัท รถไฟแม่กลอง ทุนจำกัด ได้รวมกิจการเข้าเป็นบริษัทเดียวกัน โดยได้รับพระบรมราชานุญาตเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2451 ใช้ชื่อว่า“บริษัท รถไฟแม่กลอง ทุนจำกัด ”

วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 เวลาเที่ยงคืน สัมปทานทางรถไฟระหว่างสถานีคลองสาน – มหาชัย ได้หมดอายุลง และในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เวลาเที่ยงคืน สัมปทานทางรถไฟระหว่างสถานีบ้านแหลม – แม่กลอง ได้สิ้นสุดลงตามลำดับ ทางรัฐบาลได้รับซื้อกิจการทั้งหมดของบริษัทฯ มาดำเนินงานต่อไป ตามสัญญาซื้อขายทรัพย์สิน ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,000,000 บาท และจัดตั้ง “องค์กรรถไฟสายแม่กลอง” ดำเนินกิจการเป็นเอกเทศ ภายใต้สังกัดกรมรถไฟ โดยมีคณะกรรมการควบคุมอำนวยการ ประกอบด้วยอธิบดีกรมรถไฟ เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง มีผู้จัดการเป็นผู้รับผิดชอบบริหารงานแบบเดียวกับครั้งยังเป็นของบริษัท

เมื่อกรมรถไฟ ได้เปลี่ยนแปลงสถานะเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว กระทรวงคมนาคมมีคำสั่งให้องค์การนี้มารวมกับการรถไฟฯ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เป็นต้นมา โดยให้มีฐานะเป็น “ สำนักงานรถไฟสายแม่กลอง ” แต่ยังรวมเฉพาะหลักการเท่านั้น ส่วนการบริหารและวิธีดำเนินงานคงปฏิบัติตามเดิมต่อไป จนในที่สุดกระทรวงคมนาคม มีคำสั่งให้สำนักงานนี้มารวมกิจการกับการรถไฟฯ ทุกอย่าง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นต้นไป จนถึงปัจจุบัน[4]

การซ่อมบำรุงและปรับปรุงเส้นทาง[แก้]

เดิมย่านสถานีรถไฟแม่กลองนั้นยาวถึงตลาดร่มหุบ ลักษณะเป็นทางตีโค้งคู่กับแนวเส้นทางในปัจจุบัน แต่เนื่องจากความเจริญของเมืองและการรุกล้ำพื้นที่เขตทางรถไฟ ย่านสถานีรถไฟแม่กลองยาวแค่ถึงก่อนจุดตัดถนนเพชรสมุทร ดังเช่นในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2558 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้สั่งปิดเส้นทางรถไฟสายแม่กลอง(สถานีรถไฟบ้านแหลม - สถานีรถไฟแม่กลอง) ระหว่างวันที่ 13 พฤษภาคม 2558 - 8 พฤศจิกายน 2558 รวมระยะเวลา 180 วัน เพื่อปรับปรุงเส้นทางตามโครงการปรับปรุงทางรถไฟ ในระหว่างนี้จะใช้รถยนต์รับส่งผู้โดยสารชั่วคราวไปก่อน[5]

เนื่องจากทางรถไฟสายแม่กลอง(สถานีรถไฟบ้านแหลม - สถานีรถไฟแม่กลอง) มีรถไฟตลอดเส้นทางเพียงขบวนเดียว ทางหลีกจึงมีแค่สถานีบ้านแหลม ป้ายหยุดรถบ้านนาขวาง และสถานีรถไฟแม่กลอง โดยไม่มีเส้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟสายหลัก ทำให้การขนส่งขบวนรถเพื่อซ่อมบำรุง ต้องบรรทุกขบวนรถจากศูนย์ซ่อมบำรุงที่สถานีรถไฟธนบุรีหรือสถานีรถไฟมักกะสัน โดยผ่านทางแพขนานยนต์[6]

การท่องเที่ยว[แก้]

ขบวนรถไฟชานเมืองขณะผ่านตลาดร่มหุบ ใกล้กับสถานีรถไฟแม่กลอง

สถานีรถไฟแม่กลอง เป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยว UNSEEN THAILAND คือ "ตลาดร่มหุบ" ซึ่งเป็นตลาดที่ตั้งอยู่คร่อมรางรถไฟ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้กำหนดเส้นทางวงเวียนใหญ่-มหาชัย-บ้านแหลม-แม่กลอง เป็นเส้นทางส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟ[7]

โครงการในอนาคต[แก้]

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ได้มีการศึกษาการปรับปรุงและสร้างทางในแนวเส้นทางรถไฟสายแม่กลอง[8]โดยจะก่อสร้างผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และราชบุรี โดยที่จังหวัดสมุทรสาครจะก่อสร้างข้ามแม่น้ำท่าจีนด้วย และคาดว่าจะใช้แนวทางเลือกที่ 4 คือเป็นเส้นทางเลี่ยงตัวเมืองจังหวัดสมุทรสาคร โดยเบี่ยงแนวออกจากแนวของรถไฟเดิมประมาณ กม.31 ระหว่างสถานีรถไฟบ้านขอมและสถานีรถไฟคลองจาก ยกระดับข้ามถนนเอกชัย และเบี่ยงแนวเข้าไปตามแนวเส้นทางของถนนพระราม 2 บริเวณกม.26+800 ถึง กม.32+160 แล้วเบี่ยงแนวออกทางซ้ายเพื่อตรงไปเชื่อมกับแนวเส้นทางรถไฟเดิม

ขณะที่จังหวัดสมุทรสงครามจะก่อสร้างข้ามแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งคาดว่าจะใช้ทางเลือกที่ 3 คือเป็นเส้นทางที่เลี่ยงตัวเมืองสมุทรสงคราม โดยเบี่ยงแนวออกจากแนวของรถไฟเดิมประมาณ กม.66 หลังจากผ่านสถานีรถไฟบางกระบูน ซึ่งจะเป็นทางรถไฟยกระดับไปตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 325 เพื่อข้ามคลองแม่กลอง และทางหลวงหมายเลข 325 บริเวณที่จะแยกไปอำเภอดำเนินสะดวกประมาณ กม.40+850 และข้ามแม่น้ำแม่กลอง

จากนั้นจะลงสู่ระดับพื้นดินเพื่อเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟที่จะก่อสร้างใหม่ และเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟปากท่อ จังหวัดราชบุรี ซึ่งจะก่อสร้างรถไฟขนานไปกับแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3093 และจะมีการก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่เพิ่มขึ้นอีก 3 สถานีในช่วงนี้ คาดว่าโครงการนี้จะมีมูลค่าทั้งหมดประมาณ 42,243 ล้านบาท[9]

ชื่อสถานีที่มีการศึกษาและระยะทางที่ห่างจากสถานีกลางบางซื่อ[10][แก้]

ชื่อสถานีภาษาไทย ชื่อสถานีอักษรโรมัน รหัสสถานี ระยะห่างจากสถานีกลางบางซื่อ หมายเหตุ
มหาชัย Mahachai 5019 43.6 สถานีรถไฟในปัจจุบัน
ท่าฉลอม Tha Chalom 5020 46.4 ที่หยุดรถ และป้ายหยุดรถในปัจจุบัน
บ้านชีผ้าขาว Ban Chi Phakhao 5021 48.1
คลองนกเล็ก Khlong Nok Lek 5035 50.1 เป็นป้ายหยุดรถไฟ เปิดเมื่อปี พ.ศ. 2539
บางสีคต Bang Si Kot 5022 51.2 ที่หยุดรถ และป้ายหยุดรถในปัจจุบัน
บางกระเจ้า Bang Krachao 5023 53.0
บ้านบ่อ Ban Bo 5024 54.9
บางโทรัด Bang Thorat 5025 57.4
บ้านกาหลง Ban Ka Long 5026 60.2
บ้านนาขวาง Ban Na Khwang 5027 61.6
บ้านนาโคก Ban Na Khok 5028 64.0
เขตเมือง Ket Muang 5029 67.7
ลาดใหญ่ Lad Yai 5030 72.0
บางกระบูน Bang Krabun 5031 74.5
แม่กลอง Mae Klong 5032 78.1 สถานีรถไฟในปัจจุบัน
บางกระพ้อม Bang Kaphom - 84.5 สถานีรถไฟในอนาคตที่มีการศึกษา
อัมพวา Amphawa - 89.3
วัดเพลง Wat Pleng - 95.7
ปากท่อ Pak Tho 4093 99.4 สถานีรถไฟสายใต้*

เชื่อมต่อกับทางรถไฟสายใต้สายใต้

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ สายแม่กลอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-28. สืบค้นเมื่อ 2009-08-28.
  2. โรม บุนนาค. ชุดบันทึกแผ่นดิน ตอน เรื่องเก่าเล่าสนุก ๒. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2552. 216 หน้า. ISBN 978-611-7180-00-2
  3. หนังสือวันหนึ่งฉันจะนั่งรถไฟ หน้า144 ของกองโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2563
  4. อนุสรณ์ครบรอบ 72 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2439 – 2512 สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2563
  5. ร.ฟ.ท. สั่งปิดสายตลาดร่มหุบชั่วคราว 180 วัน
  6. การซ่อมบำรุงและปรับปรุงเส้นทางรถไฟช่วงสถานีรถไฟบ้านแหลม-สถานีรถไฟแม่กลอง สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2563
  7. นั่งรถไฟเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา เก็บถาวร 2012-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ รฟท. สืบค้นวันที่ 29 กันยายน 2554
  8. http://www.otp.go.th/th/index.php/component/content/article/16-2549/128-itsi.html เก็บถาวร 2010-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โครงการงานศึกษาและออกแบบโครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ร่วมกับรถไฟฟ้าทางไกลเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (รังสิต-สถานีบ้านภาชี มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา ตลิ่งชัน-นครปฐม และมหาชัย-ปากท่อ)
  9. เวนคืน 4 โครงการฝั่งธนฯสนข.ปัดฝุ่นทางด่วน-รถไฟ. หนังสือพิมพ์วัฏจักร. 17/2/2547.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-01. สืบค้นเมื่อ 2010-10-16.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°24′27″N 99°59′47″E / 13.4074994°N 99.9962577°E / 13.4074994; 99.9962577