สงครามพิวนิกครั้งที่สาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามพิวนิกครั้งที่สาม
ส่วนหนึ่งของ สงครามพิวนิก
a map showing the defences of the city of Carthage
แผนที่การป้องกันของนครคาร์เธจ
วันที่149 ปี – 145 ปีก่อน ค.ศ. (4 ปี)
สถานที่
ดินแดนคาร์เธจในตูนิเซียในปัจจุบัน
ผล

โรมันชนะ

  • คาร์เธจถูกทำลาย
คู่สงคราม
โรม คาร์เธจ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สกิปิโอ ไอมิลิอานุส
มานิอุส มานิลิอุส
ลูกิอุส มาร์กิอุส แก็นโซรินุส
ลูกิอุส กัลปูร์นิอุส ปิโซ
ฮัสดรูบัล
ดิโอเกเนส
ฮิมิลโก ฟามีอัส
กำลัง
ทหารราบ 36,000–46,000 นาย
ทหารม้า 4,000 นาย
ทหาร 20,000 นาย หรือมากกว่านั้น
พลเรือนติดอาวุธหลายคน
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ ถูกฆ่ามากกว่า 750,000 คน รวมถึงพลเรือน
ผู้รอดชีวิตถูกจับไปเป็นทาส 50,000 คน

สงครามพิวนิกครั้งที่สาม เกิดขึ้นระหว่าง 149–146 ปีก่อนคริสตกาล เป็นสงครามครั้งสุดท้ายของสงครามพิวนิก ระหว่างสาธารณรัฐโรมันและคาร์เธจโบราณ

จุดเริ่มต้นของสงครามมาจากสนธิสัญญายุติสงครามพิวนิกครั้งที่สอง คาร์เธจต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามและห้ามทำสงครามโดยปราศจากการยินยอมจากโรม ในปี 151 ก่อนคริสตกาล คาร์เธจจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจนครบและมองว่าตนพ้นจากสนธิสัญญานี้แล้ว[1] ในปีเดียวกัน ชาวนูมิเดียล้อมเมืองโอรอสโคปาของคาร์เธจ ทำให้คาร์เธจต้องยกทัพไปปราบ โรมมองว่าเหตุการณ์นี้เป็นการละเมิดสนธิสัญญาและประกาศสงครามในปี 149 ก่อนคริสตกาล[2] คาร์เธจพยายามขอเจรจาแต่ภายหลังปฏิเสธเมื่อกงสุลโรมันสั่งให้ชาวเมืองวางอาวุธและย้ายออกจากเมืองคาร์เธจ ก่อนที่เมืองจะถูกเผา ในช่วงแรกโรมล้มเหลวในการบุกเมืองคาร์เธจ แต่การยึดเมืองเนฟาริส ทางตอนใต้ของคาร์เธจทำให้ทหารคาร์เธจเสียขวัญ ชาวคาร์เธจสามารถยันทัพโรมันไว้ได้ถึงปี 146 ก่อนคริสตกาล ก่อนทัพโรมันจะบุกเข้าเมืองได้สำเร็จ เมืองคาร์เธจถูกเผา ส่วนชาวเมืองหลายแสนคนถูกฆ่าและขายเป็นทาส โรมผนวกคาร์เธจเป็นจังหวัดแอฟริกา[3] เมืองคาร์เธจกลายเป็นเมืองร้างจนกระทั่งจูเลียส ซีซาร์บูรณะเมืองนี้ขึ้นใหม่ในอีกหนึ่งศตวรรษต่อมา[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. French, Peter (2010). War and Moral Dissonance. Cambridge, UK: Cambridge University Press. pp. 302–303. ISBN 0521169038.
  2. "Punic Wars - Ancient History". HISTORY.com. สืบค้นเมื่อ July 31, 2018.
  3. Mark Cartwright (May 31, 2016). "Third Punic War". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ July 31, 2018.
  4. "A New Heracles and A New Carthage". Erenow. สืบค้นเมื่อ July 31, 2018.[ลิงก์เสีย]