ศาสตร์แห่งการเล่าเรื่อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสตร์แห่งการเล่าเรื่อง (อังกฤษ: narratology)[1] หรือ ศาสตร์เรื่องเล่า [2] คือวิชาว่าด้วยการศึกษาเรื่องเล่า (narrative) โดยเน้นศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของเรื่องเล่า รวมถึงแก่นเรื่อง ขนบของการเล่าเรื่อง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในเรื่องเล่า ศาสตร์นี้อาจสืบเชื้อสายเชิงทฤษฎีมาจากอริสโตเติล (the Poetics) แต่ปัจจุบันถือว่าริเริ่มโดยนักรูปแบบนิยมรัสเซีย โดยเฉพาะวลาดีมีร์ โปรปป์ (Morphology of the Folktale, 1928) และทฤษฎีการใช้หลากเสียง (heteroglossia) เสียงอันหลากหลาย (dialogism)[3] และพื้นที่และเวลาของการใช้ศัพท์ (chronotope) ของมิคาอิล บัคติน ซึ่งถูกนำเสนอใน The Dialogic Imagination (1975)

ประวัติ[แก้]

ต้นกำเนิดของศาสตร์เรื่องเล่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับโครงสร้างนิยม ซึ่งเป็นทฤษฎีที่แสวงหาระบบเชิงรูปแบบนิยมที่สามารถชี้แจงลักษณะของเนื้อหาภายในเรื่องเล่าได้จริง โดยอาศัยทฤษฎีคล้ายไวยากรณ์เชิงรูปแบบนิยมเป็นพื้นฐานในการแจงส่วนประโยคในบางสาขาของภาษาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนเหล่านี้ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมในศาสตร์เรื่องเล่าอย่างแพร่หลาย

อ้างอิง[แก้]

  1. ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค. 2548. เรื่องเล่า (Narrative) และศาสตร์แห่งการเล่าเรื่อง (Narratology).
  2. Phasomsup, P. (2018). ความ ย้อน แย้ง ใน อุดมการณ์ และ การ ลิดรอน ความ เป็น มนุษย์ ใน เรื่อง เล่า บาดแผล เรื่อง Escape from Camp 14. Humanities Journal, 25(2), 143-179.
  3. วัชรี เก ว ล กุล. การ สื่อสาร “วิกฤต อัต ลักษณ์” ใน นวนิยาย ของ ฮารูกิมูราคามิ และ เรื่องสั้น แนวหลัง สมัยใหม่ ของ ไทย (Doctoral dissertation, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย).