วุยก๊ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐเว่ย์

ค.ศ. 220–266
ดินแดนวุยก๊ก (เหลือง) ใน ค.ศ. 262
ดินแดนวุยก๊ก (เหลือง) ใน ค.ศ. 262
เมืองหลวงสฺวี่ชาง (ค.ศ. 220–226),[1] ลั่วหยาง (ค.ศ. 226–266)
ภาษาทั่วไปจีนเก่า
ศาสนา
ลัทธิเต๋า, ลัทธิขงจื๊อ, ศาสนาพื้นเมืองจีน
การปกครองราชาธิปไตย
จักรพรรดิ 
• 220–226
โจผี
• 226–239
โจยอย
• 239–254
โจฮอง
• 254–260
โจมอ
• 260–266
โจฮวน
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก
• พระเจ้าเหี้ยนเต้สละราชสมบัติ
11 ธันวาคม ค.ศ. 220[2][3]
• ง่อก๊กเป็นเอกราชจากวุยก๊ก
ค.ศ. 222
• วุยก๊กพิชิตจ๊กก๊ก
ค.ศ. 263
• พระเจ้าโจฮวนสละราชสมบัติ
4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266[a]
ประชากร
• 260
4,432,881 (กำกวม)[5][b]
สกุลเงินเหรียญจีน
ก่อนหน้า
ถัดไป
ฮั่นตะวันออก
จิ้นตะวันตก
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน
ประเทศเกาหลีเหนือ
ประเทศเวียดนาม
วุยก๊ก
อักษรจีนตัวเต็ม曹魏
อักษรจีนตัวย่อ曹魏
ฮั่นยฺหวี่พินอินCáo Wèi

เว่ย์ (จีน: ; พินอิน: Wèi < จีนสมัยกลาง: *ŋjweiC < จีนฮั่นตะวันออก: *ŋuiC[8]; ค.ศ. 220–266) มีอีกชื่อว่า วุยก๊ก หรือ อดีตเว่ย์[9][10] เป็นหนึ่งในสามรัฐหลักที่ต่อสู้รบแย่งชิงกันเพื่อครองอำนาจสูงสุดเหนือแผ่นดินจีนในยุคสมัยสามก๊ก(ค.ศ. 220 - ค.ศ. 280) ด้วยเริ่มแรก เมืองหลวงตั้งอยู่ที่สวี่ชาง(นครฮูโต๋) และต่อจากนั้นเป็นลั่วหยาง รัฐนี้ได้ถูกสถาปนาโดยเฉา ผี(โจผี) ใน ค.ศ. 220 จากรากฐานที่ได้ถูกวางไว้โดยบิดาของเขา เฉาเฉา(โจโฉ) ตลอดจนถึงจุดสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ชื่อว่า "เว่ย์" มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นครั้งแรกกับเฉาเฉา เมื่อเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "วุยก๋ง" โดยราชสำนักฮั่นตะวันออกใน ค.ศ. 213 และกลายเป็นชื่อของรัฐ เมื่อเฉาพีได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิใน ค.ศ. 220 นักประวัติศาสตร์มักจะเติมคำนำหน้าว่า "เฉา" เพื่อแบ่งแยกความแตกต่างจากรัฐอื่น ๆ ของจีนที่เรียกว่า "เว่ย์" เช่น รัฐเว่ย์แห่งยุครณรัฐ(จั้นกั๋ว) และรัฐเว่ย์เหนือแห่งยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ อำนาจการปกครองของตระกูลเฉาได้อ่อนแอลงอย่างมากในภายหลังจากทำการขับไล่เนรเทศและประหารชีวิตเฉา ซวง(โจซอง) พร้อมกับบรรดาพี่น้องของเขา ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของจักรพรรดิเว่ย์องค์ที่สาม เฉา ฟาง(โจฮอง) โดยอำนาจควบคุมรัฐก็ค่อย ๆ ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของซือหม่า อี้(สุมาอี้) ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกคนและครอบครัวของเขา ตั้งแต่ ค.ศ. 249 ต่อมา ในท้ายที่สุดจักรพรรดิเว่ย์ยังคงกลายเป็นผู้ปกครองหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของตระกูลซื่อหม่า จนกระทั่งซือหม่า หยาน(สุมาเอี๋ยน) หลานชายของซือหม่า อี้ ได้บีบบังคับให้เฉา ฮวั่น(โจฮวน) จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งเว่ย สละราชบัลลังก์และสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นมา

วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่[11]

  1. โจผี ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 763 — พ.ศ. 769
  2. โจยอย ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 769 — พ.ศ. 782
  3. โจฮอง ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 782 — พ.ศ. 797
  4. โจมอ ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 797 — พ.ศ. 803
  5. โจฮวน ปกครองวุยก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 803 — พ.ศ. 808

ประวัติ[แก้]

จุดเริ่มต้นและการสถาปนา[แก้]

ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ภาคเหนือของจีนอยู่ใต้การปกครองของโจโฉ อัครมหาเสนาบดีในพระเจ้าเหี้ยนเต้ จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น ในปี ค.ศ. 213 พระเจ้าเหี้ยนเต้สถาปนาโจโฉขึ้นเป็น "วุยก๋ง" (魏公 เว่ย์กง) และพระราชทานเมืองให้ปกครองสิบเมือง พื้นที่นี้ถูกเรียกว่า "วุย" (เว่ย์) ขณะนั้นภาคใต้ของจีนถูกแบ่งเป็นสองพื้นที่ที่ปกครองโดยอีกสองขุนศึกคือเล่าปี่และซุนกวน ในปี ค.ศ. 216 พระเจ้าเหี้ยนเต้เลื่อนโจโฉขึ้นเป็น "วุยอ๋อง" (魏王 เว่ย์หวาง) และมอบอาณาเขตให้ปกครองมากขึ้น

โจโฉถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 220 โจผีขึ้นสืบทอดตำแหน่งวุยอ๋อง หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนในปีเดียวกัน โจผีบังคับพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้สละราชสมบัติ โจผีขึ้นครองราชย์แทนและสถาปนาวุยก๊ก (รัฐวุย) ขึ้น เล่าปี่ตอบโต้การอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ของโจผีทันทีโดยการสถาปนาตนเป็น "จักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก" ในปีถัดมา ซุนกวนดำรงตำแหน่งอ๋องภายใต้วุยก๊ก แต่ก็ได้ประกาศตนเป็นอิสระในปี ค.ศ. 222 และสถาปนาตนเป็น "จักรพรรดิแห่งง่อก๊ก" ในปี ค.ศ. 229

เพื่อแยกความแตกต่างของรัฐจากรัฐอื่น ๆ ในประวัติศาสร์จีนที่มีชื่อเดียวกัน นักประวัติศาสตร์ได้เพื่ออักขระที่เกี่ยวข้องกับชื่อเดิมของรัฐ: รัฐที่เรียกตัวเองว่า "เว่ย์"(魏) ยังเป็นที่รู้จักกันคือ "เฉา เว่ย์" (曹魏)

รัชสมัยพระเจ้าโจผีและพระเจ้าโจยอย[แก้]

เฉา ผี(โจผี) ทรงปกครองมาเป็นเวลาหกปีจนกระทั่งสวรรคตในปี ค.ศ. 226 และถูกสืบราชสมบัติโดยราชโอรสของพระองค์ เฉา รุ่ย(โจยอย) ทรงปกครองจนกระทั่งทรงสวรรคตใน ค.ศ. 239 ตลอดรัชสมัยของเฉาผีและเฉารุ่ย รัฐเว่ย์ต้องต่อสู้รบในสงครามหลายครั้งกับสองรัฐที่เป็นคู่แข่งกันคือ รัฐฉู่(จ๊กก๊ก) และรัฐอู๋(ง่อก๊ก)

ระหว่างปี ค.ศ. 228 และ ค.ศ. 234 จูเก่อ เลี่ยง(ขงเบ้ง) ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีและผู้แทนพระองค์ของรัฐฉู่ ได้นำชุดของการทัพทางทหารห้าครั้งเพื่อเข้าโจมตีชายแดนทางตะวันตกของเว่ย์ (ภายในกานซูและส่านซีในปัจจุบัน) โดยมีเป้าหมายเพื่อพิชิตนครฉางอัน เมืองยุทธศาสตร์ซึ่งอยู่บนถนนสู่นครลั่วหยาง เมืองหลวงของเว่ย์ การบุกครองของรัฐฉู่ได้ถูกขับไล่โดยกองทัพเว่ย์ที่นำโดยแม่ทัพ เฉาเจิน(โจจิ๋น) ซือหม่าอี้ จางเหอ(เตียวคับ) และอื่น ๆ รัฐฉู่ไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ อย่างมีนัยสำคัญในการทัพครั้งนี้เลย

บนชายแดนทางใต้และตะวันออก เว่ยได้ต่อสู้รบกับรัฐอู๋ในชุดของความขัดแย้งทางอาวุธตลอดช่วงปี ค.ศ. 220 และ ค.ศ. 230 รวมทั้งยุทธการที่ตงโข่ว (ค.ศ. 222-223) เจียงหลิง (ค.ศ. 223) และเซ็กเต๋ง (ค.ศ. 228) อย่างไรก็ตาม การสู้รบส่วนใหญ่ส่งผลก่อให้เกิดหนทางตันและทั้งสองฝ่ายไม่สามารถขยายอาณาเขตของตนได้มากนัก

การบุกเลียวตั๋งของสุมาอี้[แก้]

ภายหลังจากบู๊ขิวเขียม ได้ล้มเหลวในการปราบปรามตระกูลกงซุน(กองซุน)ในจังหวัดเลียวตั๋ง ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 238 ซือหม่าอี้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นไท่เว่ย์( 太尉 หรือ มหาเสนา) เปิดฉากการบุกครองพร้อมกับทหารจำนวน 40,000 นาย ตามรับสั่งของจักรพรรดิเฉา รุ่ยในการเข้าปะทะกับเลียวตั๋ง ซึ่งจุดที่แห่งนี้ได้ถูกหยั่งรากอย่างเหนียวแน่นภายใต้การควบคุมของตระกูลกงซุนมาเป็นเวลายาวนานถึงสี่ทศวรรษ ภายหลังจากการโอบล้อมเป็นเวลาสามเดือน โดยได้รับความช่วยเหลือจากอาณาจักรโคกูรยอ ซือหม่าอี้สามารถเข้ายึดเมืองหลวงเซียงผิงได้ ส่งผลทำให้สามารถพิชิตจังหวัดภายในช่วงปลายเดือนกันยายนของปีเดียวกัน

ศึกโคกูรยอ-วุยก๊ก[แก้]

ในช่วงเวลานั้น เมื่ออาณาจักรโคกูรยอรวบรวมอำนาจ ได้ดำเนินการพิชิตดินแดนบนคาบสมุทรเกาหลีซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจีน โคกูรยอได้ริเริ่มสงครามโคกูรยอ-เว่ย์ ใน ค.ศ. 242 โดยพยายามตัดขาดเส้นทางในการเข้าถึงดินแดนเกาหลีของจีน โดยพยายามเข้ายึดป้อมปราการของจีน อย่างไรก็ตาม เว่ย์ได้ตอบโต้ด้วยบุกรุกและเอาชนะโคกูรยอ ฮวันโดได้ถูกทำลายจากการล้างแค้นโดยกองทัพเว่ย์ใน ค.ศ. 244 การบุกครองครั้งนี้ทำให้กษัตริย์หลบหนีไป และทำลายความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการระหว่างโคกูรยอและชนเผ่าอื่น ๆ ของเกาหลีซึ่งก่อให้เกิดเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของโคกูรยอ แม้ว่ากษัตริย์จะหลบหนีจากการถูกจับกุมและไปตั้งรกรากในเมืองหลวงแห่งใหม่ในที่สุด โคกูรยอก็ได้ถูกลดความสำคัญลงจนเหลือเพียงครึ่งทศวรรษ หลังจากนั้นมาก็ไม่มีการเอ่ยถึงรัฐในตำราประวัติศาสตร์จีน

การล่มสลายของวุยก๊ก[แก้]

ในปี ค.ศ. 249 ในรัชสมัยของทายาทผู้สืบทอดต่อจากเฉา รุ่ยคือ เฉา ฟาง(โจฮอง) ซือหม่า อี้ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ยึดอำนาจควบคุมรัฐมาจากเฉา ซวง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกคนนึงในการก่อรัฐประหาร เหตุการณ์นี้เป็นการบ่งบอกถึงการล่มสลายของอำนาจจักรพรรดิในเว่ย์ เนื่องจากบทบาทของเฉา ฟางถูดลดทอนลงเหลือเพียงผู้ปกครองหุ่นเชิด ในขณะที่ซือหม่า อี้ควบคุมอำนาจรัฐอย่างมั่นคงไว้ในกำมือของเขา หวัง หลิง แม่ทัพแห่งเว่ย์ ได้พยายามที่จะก่อกบฏต่อต้านซือหม่า อี้ แต่ถูกปราบปรามอย่างรวดเร็วและต้องปลิดชีพตนเอง ซือหม่า อี้ได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 251 โดยส่งอำนาจต่อให้แก่ซือหม่าซือ(สุมาสู) บุตรชายคนโตของเขาในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ซือหม่าซือได้ปลดเฉา ฟางออกจากราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 254 ด้วยเหตุผลในการวางแผนก่อกบฏต่อต้านเขาและแต่งตั้งเฉาเหมา(โจมอ) ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่แทน ในผลตอบสนอง บู๊ขิวเขียมและเหวิน ฉินได้ร่วมมือกันก่อกบฏ แต่กลับถูกปราบปรามอย่างราบคาบโดยซือหม่าซือ ด้วยเหตุการณ์นี้ยังได้ส่งผลอย่างมากต่อสุขภาพของซือหม่าซือ ซึ่งได้รับการผ่าตัดที่ดวงตาช่วงก่อนการจลาจล ทำให้เขาต้องเสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 255 แต่ได้มีการส่งมอบอำนาจต่อและตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปให้กับซือหม่าเจา(สุมาเจียว) น้องชายคนเล็กของเขา

ในปี ค.ศ. 258 ซือหม่าเจาได้ปราบปรามการก่อกบฏของจูเก๋อต้าน เป็นการยุติสิ่งที่ถูกเรียกว่า กบฏทั้งสามในโชชุน ใน ค.ศ. 260 เฉาเหมาได้พยายามจะยึดอำนาจควบคุมรัฐกลับคืนมาจากซือหม่าเจาในการก่อรัฐประหาร แต่กลับถูกสังหารโดยเฉิงจี แม่ทัพทหารนายกองซึ่งรับใช้อยู่ภายใต้เจี่ยชง(กาอุ้น) ซึ่งเป็นผู้ติดตามของซือหม่า ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของเฉาเหมา เฉา ฮวั่น(โจฮวน)ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเว่ย์องค์ที่ห้า อย่างไรก็ตาม เฉา ฮวั่นก็ยังคงเป็นเพียงผู้ปกครองหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของซือหม่าเจาเช่นเดียวกับจักรพรรดิองค์ก่อน ใน ค.ศ. 263 กองทัพเว่ย์ซึ่งนำโดยจงหุ้ย(จงโฮย) และเติ้งอ้าย(เตงงาย) สามารถพิชิตรัฐฉู่มาได้ ภายหลังจากนั้นจงหุ้ยและเจียงเหวย(เกียงอุย) อดีตแม่ทัพแห่งรัฐฉู่ ได้ร่วมมือกันและวางแผนเพื่อขับไล่ซือหม่าเจาลงจากอำนาจ อย่างไรก็ตาม แม่ทัพทหารเว่ย์หลายคนได้หันมาต่อต้านพวกเขา เมื่อพบว่าเจียงเหวยยุแยงจงฮุ้ยให้กำจัดแม่ทัพทหารเหล่านี้ก่อนที่จะเริ่มก่อรัฐประหารตามแผน ซือหม่าเจาเองได้รับและในที่สุดก็ยอมรับบรรดาศักดิ์เก้าขั้นและได้รับสถาปนาเป็น จิ้นก๋ง ใน ค.ศ. 264 และต่อมาได้รับพระราชทานยศตำแหน่งเป็น จิ้นอ๋อง โดยเฉา ฮวั่นใน ค.ศ. 264 แต่เขาได้เสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 265 โดยทิ้งไว้เหลือเพียงขั้นตอนสุดท้ายของการแย่งชิงอำนาจให้กับซือหม่า หยาน(สุมาเอี๋ยน) บุตรชายคนโตของเขา

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 ซือหม่า หยาน บุตรชายของซือหม่าเจา ได้บีบบังคับให้เฉา ฮวั่นสละราชบัลลังก์ และตัวเขาเองก็ขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นมาแทนที่ราชวงศ์เว่ย์ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 ส่วนเฉา ฮวั่นเองทรงรอดชีวิตและมีพระชนม์ชีพอยู่จนถึง ค.ศ. 302 ก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์

ราชสำนัก[แก้]

วัฒนธรรม[แก้]

ลายสือศิลป์แบบไข่ชูได้รับการพัฒนาในระหว่างช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและราชวงศ์วุยก๊ก ผู้เชี่ยวชาญลายสือศิลป์แบบไข่ชูที่เป็นที่รู้จักคือจงฮิว ขุนนางแห่งวุยก๊ก[12]

รายชื่ออาณาเขต[แก้]

รายพระนามกษัตริย์[แก้]

ผู้ปกครองวุยก๊ก
ชื่อวัด พระราชสมัญญานาม แซ่ (ตัวหนา) และชื่อตัว ครองราชย์ (ค.ศ.) ชื่อรัชศกและช่วงเวลา (ค.ศ.) หมายเหตุ
(-) จักรพรรดิเกา
(เกาหฺวังตี้)
高皇帝
โจเท้ง
(เฉา เถิง)
曹騰
(-) (-) พระราชสมัญญานามของโจเท้งได้รับการยกย่องย้อนหลังโดยพระเจ้าโจยอย
(-) จักรพรรดิไท่
(ไท่หฺวังตี้)
太皇帝
โจโก๋
(เฉา ซง)
曹嵩
(-) (-) พระราชสมัญญานามของโจโก๋ได้รับการยกย่องย้อนหลังโดยพระเจ้าโจผี
ไท่จู่
太祖
จักรพรรดิอู่
(อู่หฺวังตี้)
武皇帝
โจโฉ
(เฉา เชา)
曹操
(-) (-) ชื่อวัดและพระราชสมัญญานามของโจโฉได้รับการยกย่องย้อนหลังโดยพระเจ้าโจผี
ชื่อจู่
世祖
จักรพรรดิเหวิน
(เหวินหฺวังตี้)
文皇帝
โจผี
(เฉา ผี)
曹丕
220-226
เลี่ยจู่
烈祖
จักรพรรดิหมิง
(หมิงหฺวังตี้)
明皇帝
โจยอย
(เฉา รุ่ย)
曹叡
227-239
(-) (-) โจฮอง
(เฉา ฟาง)
曹芳
240-249 โจฮองถูกลดขั้นเป็น "เจอ๋อง" (齊王 ฉีหวาง) หลังถูกถอดจากราชสมบัติ โจฮองได้รับการสถาปนาย้อนหลังเป็น "เช่าหลิงลี่กง" (邵陵厲公) ในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตก
(-) (-) โจมอ
(เฉา เหมา)
曹髦
254-260 โจมอได้รับการสถาปนาย้อนหลังเป็น "เกากุ้ยเซียงกง" (高貴鄉公).
(-) จักรพรรดิยฺเหวียน
(ยฺเหวียนหฺวังตี้)
元皇帝
โจฮวน
(เฉา ฮฺวั่น)
曹奐
260-266

พงศาวลีวุยก๊ก[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. โจฮวนสละราชสมบัติในวันเหรินซู (壬戌) เดือน 12 ปีที่ 1 ของศักราช Taishi ในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยน[4] ซึ่งตรงกับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 ตามปฏิทินกริกอเรียน
  2. มีการตั้งคำถามถึงตัวเลขนี้ที่นำมาจากจดหมายเหตุสามก๊ก เพราะระบบสำมะโนนี้ถูกอ้างว่ามีข้อบกพร่อง ประชากรจริง ๆ น่าจะมีมากกว่านี้[6] Tanner (2009) ประมาณการว่าประชากรในวุยก๊กมีมากกว่าประชากรฮั่นที่ ⅔ [7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Achilles Fang. Chronicles of the Three Kingdoms. Spring, first month (Feb. 15 – Mar. 15). The Emperor was about to come to Xu-chang when the south gate of Xu-chang collapsed from some unexplained cause. The Emperor was displeased at this and did not enter the city.
  2. Achilles Fang. Chronicles of the Three Kingdoms. In the tenth month of 220 (November), various ministers proposed that Cao Pi replace Liu Xie as the emperor, citing various astrological signs. On November 25, Liu Xie performed various ceremonies in preparation for abdicating the throne. On December 11, Liu Xie formally abdicated the throne and Cao Pi ascended as the new emperor.
  3. Rafe de Crespigny. To Establish Peace. On 11 December Cao Cao's son and successor Cao Pi received the abdication of the Han Emperor and took the imperial title for himself, with a new reign period Huangchu "Yellow Beginning," named in honour of the new Power of Yellow and Earth which had been foretold should succeed to the Red and Fire of Han. (Cf. note 84 to Jian'an 24.)
  4. ([泰始元年]十二月,壬戌,魏帝禪位于晉;) Zizhi Tongjian vol. 79.
  5. Zou Jiwan (จีน: 鄒紀萬), Zhongguo Tongshi – Weijin Nanbeichao Shi 中國通史·魏晉南北朝史, (1992).
  6. Institute of Advanced Studies (December 1991). Barme, Gerome (บ.ก.). Easy Asian History: THE CONTINUATION OF Papers on Far Eastern History (PDF) (Number 2 ed.). Canberra, Australia: Australian National University. pp. 149–152. สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.
  7. Tanner, Harold M. (13 March 2009). "Chapter 5: The Age of Warriors and Buddhists". China: A History. Hackett Publishing. p. 142. When it was established, Wu had only one-sixth of the population of the Eastern Han Empire (Cao Wei held over two-thirds of the Han population).
  8. Schuessler, Axel. (2009) Minimal Old Chinese and Later Han Chinese. Honolulu: University of Hawai'i. p. 291
  9. BSod-nams-rgyal-mtshan, Per K. Sørensen (1994). The Mirror Illuminating the Royal Genealogies. Otto Harrassowitz Verlag. p. 80. ISBN 3447035102.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. Ching-hsiung Wu, บ.ก. (1940). T'ien Hsia Monthly. Vol. 11. Kelly and Walsh. p. 370.
  11. ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 58
  12. Qiu Xigui (2000). Chinese Writing. Translated by Mattos and Jerry Norman. Early China Special Monograph Series No. 4. Berkeley: The Society for the Study of Early China and the Institute of East Asian Studies, University of California, Berkeley. ISBN 1-55729-071-7; p.142-3

ดูเพิ่ม[แก้]