วิโอลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิโอลา
วิโอลาจากมุมมองด้านตรงและด้านข้าง
เครื่องสาย
ชื่ออื่นฝรั่งเศส: alto; เยอรมัน: Bratsche
Hornbostel–Sachs classification321.322-71
(Composite chordophone sounded by a bow)
ช่วงเสียง
เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้อง

วิโอลา เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายที่มีรูปร่างคล้ายไวโอลิน แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า นิยมเล่นในวงออร์เคสตราและวงเครื่องสายซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส โดยวิโอลามีระดับเสียงต่ำกว่าไวโอลิน แต่สูงว่าเชลโลและดับเบิลเบส

โครงสร้างวิโอลา[แก้]

วิโอลามีโครงสร้างเช่นเดียวกับไวโอลิน ดังนี้

  • หัววิโอลิน (Scroll)
  • โพรงลูกบิด (Pegbox)
  • คอ (Neck)
  • สะพานวางนิ้ว หรือ ฟิงเกอร์บอร์ด (Fingerboard)
  • (Upper Bout)
  • เอว (Waist)
  • ช่องเสียง (F-holes)
  • หย่อง (Bridge)
  • (Lower Bout)
  • ตัวปรับเสียง (Fine Tuners)
  • หางปลา (Tailpiece)
  • ที่รองคาง (Chinrest)

วิโอล่าจะตั้งสายเป็น C-G-D-A ซึ่งต่ำกว่าไวโอลินที่เป็น G-D-A-E ปัจจุบันวิโอล่าก็ยังคงมีขนาดที่หลากหลายมากที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีในตระกูลเดียวกัน เพื่อให้การสะท้อนเสียงสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับไวโอลิน วิโอล่าจำเป็นต้องลดขนาดความยาวลงอีกครั้งหนึ่ง ผลของการประนีประนอมดังกล่าว ทำให้วิโอล่ามีขนาดความยาวอยู่ที่ 38 ถึง 45 ซม. ทำให้บทบาทของวิโอล่าในฐานะที่เป็นเครื่องดนตรีแสดงเดี่ยว ช้ากว่าไวโอลินและเชลโลซึ่งเป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเดียวกัน

ตัวอย่างเสียงวิโอลา[แก้]

อ้างอิง[แก้]