วิกิพีเดีย:การเตรียมภาพสำหรับอัปโหลด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เมื่ออัปโหลดไฟล์ภาพเข้าสู่วิกิพีเดีย หรือที่แนะนำมากกว่าสู่วิกิมีเดียคอมมอนส์ สิ่งสำคัญคือการใช้รูปแบบไฟล์ที่ถูกต้องสำหรับเนื้อหา ไม่ต้องพยายามถอนมพื้นที่ดิสก์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ภาพแล้วยอมเสียสารสนเทศที่มีประโยชน์

เก็บที่มา:

  • หากภาพนั้นสร้างขึ้นจากข้อมูล (เช่นกราฟในไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล) ควรใส่ข้อมูลและไฟล์ (คือสเปรตชีต) เพื่อให้สามารถเพิ่มข้อมูลใหม่ลงในกราฟได้ และ/หรือควรมีการอ้างอิงแลห่งที่มาของข้อมูล
  • หากภาพนั้นสร้างขึ้นจากสคริปต์ (เช่นใน ระบบพีชคณิตคอมพิวเตอร์) ควรใส่รหัสด้วยเพื่อให้การปรับปรุงเล็กน้อยอย่างการปรับแก้ป้ายและสี
  • ในกรณีข้างต้น ควรมีหมายเหตุว่าจำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์จำเพาะใดเพื่อแก้ไขหน้า ควรเลือกใช้รูปแบบข้อมูลและรหัสที่เข้าได้กับซอฟต์แวร์เสรีมากกว่า

มี 4 ตัวเลือกพื้นฐานสำหรับรูปแบบไฟล์ภาพ ดังนี้

SVG สำหรับแผนภาพอย่างง่าย (โดยเฉพาะที่จำเป็นต้องปรับขนาด)
JPEG สำหรับภาพถ่าย
GIF สำหรับภาพเคลื่อนไหว
PNG สำหรับภาพอื่น

แมว่าบางรูปแมีระบบบีบอัดหลายวิธี โดยทั่วไปรูปแบบและระบบการบีบอัดจะเกี่ยวโยงกัน

รูปแบบภาพอื่น ๆ ควรหลีกเลี่ยงในกรณีส่วนใหญ่ ดังนี้

BMP - ภาพไม่มีการบีบอัด ทำให้ไฟล์ขนาดใหญ่ขึ้น ปกติควรแปลงเป็น PNG
TIFF - ควรแปลงเป็น PNG หรือ JPEG ตามที่อภิปรายไว้ข้างต้น

แผนภาพ[แก้]

ความสามารถแก้ไขได้และปรับขนาดได้ของ SVG (กราฟิกส์เวกเตอร์ปรับขนาดได้) ทำให้มันเป็นตัวเลือกที่ชัดเจนสำหรับการนำเสนอกราฟิกของข้อมูลและภาพประกอบ อย่างไรก็ตาม การแปลงภาพแรสเตอร์ เช่น GIF, PNG หรือ JPEG ให้เป็น SVG นั้นไม่ง่ายเสมอไปและบางภาพ (โดยเฉพาะภาพถ่าย) ไม่เอื้อต่อการแปลง หากไม่สามารถสร้างแผนภาพในรูปแบบ SVG ได้ควรเลือกภาพ PNG มากกว่า JPEG

อัลกอริทึมการบีบอัด PNG ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำงานกับพื้นที่สีทึบขนาดใหญ่ที่มีขอบเขตคม จึงเป็นรูปแบบที่ดีสำหรับแผนภาพและการ์ตูน แต่ PNG ไม่ให้ขนาดไฟล์เล็กสุดโดยอัตโนมัติ มีบางขั้นตอนที่ต้องจัดการด้วยตัวเอง

มีความเข้าใจผิดในหมู่นักออกแบบเว็บไซต์หลายคนว่า PNG มีขนาดใหญ่กว่า GIF

เลือกความลึกของสีที่เหมาะสมกับจำนวนสี[แก้]

สี 1 บิต
ไม่ต่อต้านรอยหยัก
180 ไบต์
สี 4 บิต
ต่อต้านรอยหยัก
309 ไบต์
มุมมองขยายใหญ่ของ
ภาพต่อต้านรอยหยัก

แผนภาพปกติมีสีน้อย ถ้าแผนภาพมี 4 สี ไม่จำเป็นต้องเก็บภาพนั้นในรูปแบบ 24 บิตที่สามารถแยกสีได้ 16 ล้านสี PNG ฉบับความลึกสีต่ำกว่าเก็บสีไว้ในพาเลต (palette) ภาพพาเลตมีความลึกบิต 1, 2 , 4 หรือ 8 บิต (2, 4, 16 หรือ 256 สี) ใช้ความลึกบิตต่ำสุดที่สามารถจัดการสีทั้งหมดได้ภาพคุณได้ แม้โปรแกรมแก้ไขภาพบางโปรแรกมไม่สามารถสร้างภาพสี 2 บิตได้

หากคุณแปลงภาพที่มีหลายสี (ซึ่งอาจเป็นเพราะบางคนบันทึกภาพต้นฉบับเป็น JPEG ให้เลี่ยงวิธีนี้) เป็น PNG คุณอาจต้องการลดจำนวนสีในเวลาเดียวกัน ดูที่ How to reduce colors for saving a JPEG as PNG

ภาพต่อต้านรอยหยัก (anti-alias) อาจใช้สีมากกว่าที่คุณสังเกตได้ เพราะการต่อต้านรอยหยักจะเล็มขอบโดยการเพิ่มเฉดสีเทา ณ ที่ที่เดิมมีเฉพาะสีดำและขาว ภาพขาวดำต่อต้านรอยหยักปกติจำเป็นต้องบันทึกเป็นภาพ 16 สีหรือ 256 สีแทน ดูภาพประกอบด้านขวามือ

อย่าบันทึกแผนภาพเป็น JPEG[แก้]

ภาพที่แสดง
การบีบอัด JPEG แบบคงสัญญาณ
มุมมองขยายใหญ่ที่แสดง
อาร์ตีแฟ็กการบีบอัด

ด้านขวามือเป็นตัวอย่างของไฟล์ที่บันทึกเป็น JPEC โดยที่ควรบันทึกเป็น PNG โดย JPEG ใช้การบีบอัดข้อมูลคงสัญญาณหลักที่ตั้งใจให้ใช้กับภาพถ่าย การบีบอัดภาพวาดหรือแผนภาพด้วย JPEG ทำให้ได้ภาพมีคุณภาพต่ำ เพราะตามนุษย์สามารถมองเห็นอาร์ตีแฟ็กที่เกิดจากการบีบอัดรอบ ๆ ขอบได้

ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งของ JPEG คือ สุดท้ายจะได้ขนาดไฟล์ใหญ่ การบีบอัด JPEG มีหลายตัวเลือก แต่ที่พบมากที่สุดมีช่องว่างสีเพียงสองช่อง คือ RGB 24 บิต (8 บิตต่อตัวอย่าง) และ greyscale 8 บิต สำคัญที่สุดคือ JPEG โดยสภาพไม่รองรับสีที่ทำดัชนี ในตัวอย่างทางขวามือ มีการขยายภาพ 4 สีโดยใช้เค้าร่างสีที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้เกิดไฟล์ขนาดใหญ่

หากคุณไม่มีไฟล์ต้นฉบับแต่มีเฉพาะ JPEG ซึ่งควรเป็น PNG อย่าบันทึก JPEG เป็น PNG เพราะจะทำให้เกิดไฟล์ขนาดใหญ่ยิ่งกว่าเดิม

ใช้ SVG ก่อน PNG[แก้]

ภาพ PNG ขยาย ภาพ SVG ขยาย การเปลี่ยนแปลงอย่างง่ายต่อ SVG

PNG เป็นรูปแบบกราฟิกแรสเตอร์ที่เข้ารหัสค่าของแต่ละพิกเซล ในขณะที่ SVG เป็นรูปแบบกราฟิกส์เวกเตอร์ที่เข้ารหัสภาพเป็นชุดรูปทรงเรขาคณิต ไม่ต้องกังวลหากคุณสับสนกับข้อมูลนี้ คุณไม่จำเป็นต้องเข้าใจประเด็นทางเทคนิคในการสร้างหรืออัพโหลดรูปภาพ ความหมายในทางปฏิบัติคือภาพ SVG ปรับขนาดเป็นขนาดต่าง ๆ ได้ดีกว่าภาพ PNG เทียบเท่ามาก ฉะนั้น สำหรับภาพที่ประกอบด้วยรูปหลายเหลี่ยม เส้นตรงหรือส่วนโค้งเป็นส่วนใหญ่ (ธงชาติป้ายถนน ฯลฯ) SVG เป็นรูปแบบที่นิยม ที่แสดงตัวอย่างเป็นการตัดส่วนที่มีการขยายของภาพ ภาพหนึ่งในรูปแบบ PNG และอีกภาพหนึ่งในรูปแบบ SVG ซึ่งแสดงคุณภาพที่สูงกว่า

สามารถสร้าง SVG ได้อย่างง่ายดายด้วยโปรแกรม desktop publishing หลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Scribus ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่าย SVG ยังสามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ ด้วยโปรแกรมแก้ไขข้อความ เพราะมันใช้รหัส ไม่ใช่ตัวเลข ทำให้การปรับและการแปลภาพประกอบง่ายขึ้นมาก สำหรับรายการซอฟต์แวร์แก้ไข SVG ดูที่ รายการตัวแก้ไขกราฟิกเวกเตอร์

ดูเพิ่ม[แก้]