ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์ (อังกฤษ: Corpuscularianism) คือทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่เชื่อว่าสสารทุกชนิดประกอบขึ้นด้วยอนุภาคขนาดเล็ก ๆ ซึ่งกลายเป็นทฤษฎีที่มีบทบาทสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 17 นักวิทยาศาสตร์ผู้นิยมลัทธิคอร์พัสคิวลาร์รวมไปถึง เรอเน เดส์การ์ตส์, โรเบิร์ต บอยล์, และ จอห์น ล็อก[1]

แนวคิดคอร์พัสคิวลาร์นิยมนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎีอะตอมนิยม (atomism) เว้นแต่เพียงว่า แนวคิดอะตอมนิยมบอกว่าอะตอมนั้นแบ่งแยกไม่ได้อีกแล้ว แต่คอร์พัสเคิลยังสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อในทางทฤษฎีว่าการใส่ปรอทเข้าไปในเหล็กจะสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการเปลี่ยนโลหะให้กลายเป็นทองคำได้ ผู้ที่นิยมแนวคิดนี้มีความเชื่อว่าคุณสมบัติบางอย่างของวัตถุนั้นเป็นผลลัพธ์ที่สร้างขึ้นมาจากความคิดจิตใจ เป็นคุณสมบัติ "อันดับที่สอง" ที่แยกออกมาจากคุณสมบัติ "พื้นฐาน" ของวัตถุ[2] แนวคิดคอร์พัสคิวลาร์นิยมดำรงอยู่เป็นทฤษฎีกระแสหลักตลอดเวลาหลายศตวรรษ ต่อมาถูกควบรวมเข้ากับศาสตร์ในการเล่นแร่แปรธาตุ (Alchemy) โดยนักวิทยาศาสตร์ยุคแรก ๆ เช่น โรเบิร์ต บอยล์ และ ไอแซก นิวตัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 17

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Brown, Sable (2005-01-01). Philosophy. Lotus Press. pp. 53–. ISBN 9788189093525. สืบค้นเมื่อ 8 June 2010.
  2. The Mechanical Philosophy เก็บถาวร 2008-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Early modern 'atomism' ("corpuscularianism" as it was known)