ราชวงศ์ตองอู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ตองอู

တောင်ငူခေတ်
ค.ศ. 1510–ค.ศ. 1752
แผนที่จักรวรรดิตองอูช่วงรุ่งเรืองสูงสุดในปี พ.ศ. 2123
แผนที่จักรวรรดิตองอูช่วงรุ่งเรืองสูงสุดในปี พ.ศ. 2123
แผนที่ยุคฟื้นฟูจักรวรรดิตองอูหรือสมัยญองยานในปี พ.ศ. 2194
แผนที่ยุคฟื้นฟูจักรวรรดิตองอูหรือสมัยญองยานในปี พ.ศ. 2194
สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวงเกตุมะดี (ค.ศ. 1510–39)
หงสาวดี (ค.ศ. 1539–99)
อังวะ (ค.ศ. 1599–1613)
หงสาวดี (ค.ศ. 1613–35)
อังวะ (ค.ศ. 1635–1752)
ภาษาทั่วไปทางการ
ภาษาพม่า
ศาสนา
ทางการ
พุทธศาสนาเถรวาท
ส่วนน้อย
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระมหากษัตริย์ 
• ค.ศ. 1485-1530
พระเจ้าเมงจีโย
• ค.ศ. 1530–50
พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้
• ค.ศ. 1550–81
พระเจ้าบุเรงนอง
• ค.ศ. 1605–28
พระเจ้าอะเนาะเพะลูน
• ค.ศ. 1629–48
พระเจ้าตาลูน
• ค.ศ. 1733–52
พระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้งราชวงศ์
ค.ศ. 1485
• เอกราชจากอังวะ
16 ตุลาคม ค.ศ. 1510
• เริ่มจักรวรรดิตองอู
ค.ศ. 1510 – ค.ศ. 1599
• ฟื้นฟูจักรวรรดิตองอู
ค.ศ. 1599 – ค.ศ. 1752
• ราชวงศ์ล่มสลาย
23 มีนาคม ค.ศ. 1752
พื้นที่
ค.ศ. 15801,550,000 ตารางกิโลเมตร (600,000 ตารางไมล์)
ค.ศ. 1650750,000 ตารางกิโลเมตร (290,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 1580
6000000
• ค.ศ. 1650
3000000
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรอังวะ
อาณาจักรหงสาวดี
รัฐฉาน
อาณาจักรล้านนา
อาณาจักรอยุธยา
ล้านช้าง
มณีปุระ
ราชวงศ์โก้นบอง‎
อาณาจักรอยุธยา
ล้านช้าง
มณีปุระ
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

ราชวงศ์ตองอู (อังกฤษ: Toungoo Dynasty; พม่า: တောင်ငူခေတ်, [tàuɴŋù kʰɪʔ] เต่าง์หงู่คิ) ราชวงศ์ที่ 2 ในประวัติศาสตร์พม่า ภายหลังจากราชวงศ์พุกาม ราชวงศ์แรกล่มสลายลงจากการรุกรานของชาวมองโกลโดยกุบไลข่าน

พระเจ้าเมงจีโย ได้รวบรวมชาวพม่าที่หลงเหลืออยู่อย่างกระจัดกระจาย โดยสถาปนาเมืองตองอูขึ้นเป็นราชธานี เพราะเป็นเมืองที่อยู่ในขุนเขาซึ่งเป็นปราการที่เข้มแข็ง ตองอูเข้มแข็งขึ้นมารัชสมัยของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระโอรสของพระองค์ที่ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรขยายไปรอบด้าน เช่น แปร, พะสิม อังวะ, ยะไข่ และที่สำคัญที่สุดคือ หงสาวดี อันเป็นอาณาจักรเดิมของมอญ ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของพม่า

ยุคสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ครอบคลุมอาณาจักรพม่าทั้งตอนบนและตอนล่างลุ่มอิรวดี อีกทั้งได้บุคลากรที่สำคัญ เช่น มหาอุปราชาบุเรงนอง, เมงเยสีหตู ร่วมกันสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ เข้มแข็ง และได้ย้ายเมืองหลวงจากตองอูมายังหงสาวดี

ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เมืองต่าง ๆ ที่เคยขึ้นต่ออาณาจักร ก็แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นตรงต่อไป มีกบฏเกิดขึ้นมากมาย มหาอุปราชาบุเรงนองต้องใช้เวลาปราบปรามอยู่ราวอีก 2-3 ปี จึงจะได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์

ในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง ได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรตองอู ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยครอบคลุมตั้งแต่ลุ่มน้ำอิรวดี ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไปจรดถึงลุ่มน้ำโขงในลาว มีเมืองเป็นประเทศราชต่าง ๆ มากมาย เช่น เชียงใหม่, ฉาน, อยุธยา, ล้านช้าง, กัมพุช เป็นต้น จนได้การขนานพระนามว่าเป็น "พระเจ้าชนะสิบทิศ"

ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบุเรงนอง ศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรถูกสั่นคลอน เนื่องจากการปกครองอย่างแข็งกร้าว ไร้ไมตรีของพระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสของพระองค์ เมืองที่เคยขึ้นเป็นประเทศราชต่าง ๆ ต่างแข็งเมืองและได้ประกาศอิสรภาพ ทำสงครามรบพุ่งกันตลอดมา เช่น แปร, อังวะ, อยุธยา เป็นต้น ในที่สุดเมืองทั้งหลายเหล่านี้ก็แตกแยกกระจัดกระจายออกไป

มีความพยายามฟื้นฟูอาณาจักรจากพระเจ้าญองยานและพระเจ้าอะเนาะเพะลูนซึ่งเรียกกันว่า "สมัยญองยาน" (Nyaungyan Dynasty) แต่ก็สำเร็จเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากยุคนี้แล้วมอญสามารถตั้งตัวได้และขึ้นมาเป็นใหญ่แทน ก่อนที่ทางพม่าจะสถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาอีกครั้งในสมัยพระเจ้าอลองพญา

ในทางวิชาการ นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งราชวงศ์ตองอูไว้เป็น 2 ยุค คือ ราชวงศ์ตองอูตอนต้น กินระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2029 - พ.ศ. 2142 คือตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเมงจีโยจนถึงพระเจ้านันทบุเรง และราชวงศ์ตองอูตอนปลายหรือยุคหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2140 - พ.ศ. 2295 ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าญองยานจนถึงการสถาปนาอำนาจขึ้นมาของพระเจ้าอลองพญา

ลำดับกษัตริย์ในราชวงศ์ตองอู[1][แก้]

ลำดับที่ พระฉายาลักษณ์ พระนาม ระยะเวลาในราชสมบัติ
1 พระเจ้าเมงจีโย พ.ศ. 2029 - พ.ศ. 2074
2 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พ.ศ. 2074 - พ.ศ. 2094
3 พระเจ้าบุเรงนอง พ.ศ. 2094 - พ.ศ. 2124
4 พระเจ้านันทบุเรง พ.ศ. 2124 - พ.ศ. 2142
5 พระเจ้าญองยาน พ.ศ. 2142 - พ.ศ. 2148
6 พระเจ้าอะเนาะเพะลูน พ.ศ. 2148 - พ.ศ. 2171
7 พระเจ้ามีนเยเดะบะ พ.ศ. 2171 - พ.ศ. 2172
8 พระเจ้าตาลูน พ.ศ. 2172 - พ.ศ. 2191
9 พระเจ้าปีนดะเล พ.ศ. 2191 - พ.ศ. 2204
10 พระเจ้าปเย พ.ศ. 2204 - พ.ศ. 2215
11 พระเจ้านะราวะระ พ.ศ. 2215 - พ.ศ. 2216
12 พระเจ้ามังกะยอดิน พ.ศ. 2216 - 2241
13 พระเจ้าสเน่ห์มิน พ.ศ. 2241 - พ.ศ. 2257
14 พระเจ้าตะนินกันเหว่ พ.ศ. 2257 - พ.ศ. 2276
15 พระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี พ.ศ. 2276 - 2295

อ้างอิง[แก้]

  • Victor B. Lieberman, "Burmese Administrative Cycles: Anarchy and Conquest, c. 1580–1760", Princeton University Press, 1984.