รัฐบัญญัติมอบอำนาจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮิตเลอร์ปราศรัยต่อไรชส์ทาค

รัฐบัญญัติมอบอำนาจ (เยอรมัน: Ermächtigungsgesetz) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐบัญญัติว่าด้วยการบรรเทาทุกข์แห่งประชาชนและประเทศ (เยอรมัน: Gesetz zur Behebung der Not von Volk und Reich)[1] เป็นกฎหมายที่ผ่านโดยที่ประชุมใหญ่ไรชส์ทาค และได้รับการลงนามจากประธานาธิบดีเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1933[2][3][4] ซึ่งเป็นการมอบอำนาจเต็มบริบูรณ์และขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นฟือเรอร์ ผลจากบัญญัติดังกล่าวเป็นการอนุญาตให้คณะรัฐมนตรีสามารถผ่านกฎหมายได้โดยไม่ต้องผ่านไรชส์ทาคเป็นเวลาสี่ปี

เบื้องหลัง[แก้]

หลังจากการประกาศใช้กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค ฮิตเลอร์ได้ใช้ข้ออ้างดังกล่าวในการจับกุมผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี นับเป็นการกำจัดบทบาททางการเมืองออกไปอย่างสิ้นเชิง

ถึงแม้ว่าพรรคนาซีจะได้รับคะแนนเสียงกว่าห้าล้านคะแนนในการเลือกตั้งที่ผ่านมา แต่พรรคนาซีก็ไม่อาจเป็นพรรคที่ครองเสียงข้างมากในไรชส์ทาคได้ โดยอีกห้าสิบสองที่นั่งเป็นของพรรคประชาชนแห่งชาติเยอรมัน ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ฮิตเลอร์ได้เรียกประชุมกับคณะรัฐมนตรีของเขาในวันที่ 15 มีนาคม เพื่อร่างบัญญัติการให้อำนาจ ซึ่งพรรคนาซีจะอาศัยอำนาจดังกล่าวเพื่อจะได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองอย่างสมบูรณ์โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากวุฒิสภา และไม่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกับพรรคร่วมรัฐบาลอีกต่อไป

การเตรียมการและการเจรจา[แก้]

รัฐบัญญัติดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ผ่านกฎหมายได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา เพราะรัฐบัญญัติดังกล่าวถือว่าเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการประกาศใช้รัฐบัญญัติดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่สองในสาม และได้รับคะแนนเสียงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสองในสามเช่นกัน

การลงจะลงคะแนนเสียงเห็นชอบกับรัฐบัญญัติมอบอำนาจ คาดว่า พรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งเยอรมนีและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนีจะลงคะแนนเสียงคัดค้าน เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากทั้งสองพรรคถูกจับกุมเป็นบางส่วน จากผลของกฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค พรรคนาซีคาดว่า ชนชั้นกลาง เศรษฐีเจ้าของที่ดินและผู้ได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจจะลงคะแนนเสียงสนับสนุนรัฐบัญญัติดังกล่าว เพราะกลุ่มบุคคลเหล่านี้น่าจะเบื่อหน่ายต่อความไม่มีเสถียรภาพของสาธารณรัฐไวมาร์ และไม่กล้าที่จะขัดขวางพวกเขา

ด้านฮิตเลอร์เชื่อว่า ด้วยการออกเสียงสนับสนุนจากพรรคกลางจะทำให้เขาได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่มากกว่าสองในสาม ดังนั้นฮิตเลอร์จึงเจรจากับหัวหน้าพรรคกลาง ลุดวิก คาส ซึ่งการเจรจายุติลงในวันที่ 22 มีนาคม โดยคาสตกลงที่จะลงคะแนนเสียงให้กับรัฐบัญญัติมอบอำนาจนี้ โดยแลกกับการปกป้องพลเมืองชาวคาทอลิก เสรีภาพในการศาสนา โรงเรียนสอนศาสนา และลูกจ้างซึ่งได้รับการว่าจ้างจากพรรคกลาง

นักประวัติศาสตร์บางคน อย่างเช่น เคลาส์ โชลเดอร์ ยืนยันว่าฮิตเลอร์ยังสัญญาที่จะเจรจาข้อตกลงกับพระสันตปาปา ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นการยกระดับฐานะของโบสถ์คาทอลิกในเยอรมนีในระดับชาติ แต่อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างรัฐบัญญัติมอบอำนาจและข้อตกลงระหว่างฮิตเลอร์กับพระสันตปาปา

ผลที่ตามมา[แก้]

ภายใต้รัฐบัญญัติดังกล่าว ทำให้คณะรัฐมนตรีสามารถออกกฎหมายได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านไรชส์ทาค โดยกฎหมายเหล่านี้บางส่วนอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญเสียด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นการยุติบทบาททางการเมืองของสมาชิกวุฒิสภา จากผลของรัฐบัญญัติมอบอำนาจและกฤษฎีกาว่าด้วยเพลิงไหม้ไรชส์ทาคทำให้รัฐบาลของฮิตเลอร์เป็นเผด็จการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ผลจากรัฐบัญญัติดังกล่าวยังเป็นการถอดความพลั้งเผลอของตัวประธานาธิบดีได้ ทั้งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งว่าประธานาธิบดีฮินเดนบูร์กไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหารายวันที่เกิดขึ้น และคำสั่งจากประธานาธิบดีที่ต้องใช้ในการผ่านกฎหมายใด ๆ ก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

อ้างอิง[แก้]

  1. Rabinbach, Anson; Gilman, Sander L. (2013). The Third Reich Sourcebook. p. 52. ISBN 0520276833.
  2. "The Reichstag Fire and the Enabling Act of March 23, 1933 | Britannica Blog". blogs.britannica.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-11. สืบค้นเมื่อ 2017-03-30.
  3. (www.dw.com), Deutsche Welle. "The law that 'enabled' Hitler's dictatorship | Germany | DW.COM 23 March 2013". DW.COM (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-03-30.
  4. Mason, K.J. Republic to Reich: A History of Germany 1918–1945. McGraw-Hill.