รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ
รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศที่สถานีปาดังเบซาร์, มาเลเซีย
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทรถด่วนพิเศษ
สถานะเปิดให้บริการ
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, นครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, และสงขลา ประเทศไทย และรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย
ให้บริการครั้งแรก1 กันยายน พ.ศ. 2461 (105 ปีก่อน)
(นับจากวันก่อสร้างเส้นทางชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซา แล้วเสร็จ)
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
เส้นทาง
ปลายทางกรุงเทพอภิวัฒน์
ปาดังเบซาร์
จอด22
ระยะทาง751.42 km (466.91 mi)
เวลาเดินทาง18 ชั่วโมง 15 นาที
ความถี่ให้บริการ2 เที่ยวต่อวัน (เที่ยวไป/เที่ยวกลับ)
เลขขบวน45 (เที่ยวไป)
46 (เที่ยวกลับ)
ในเส้นทางทางรถไฟสายใต้
บริการบนขบวน
ชั้น2
ที่นอนรถนั่งและนอนชั้น 2
ข้อมูลทางเทคนิค
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
ความเร็ว100 km/h (62 mph)

รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Express, ขบวนที่: 45/46) เป็นรถด่วนพิเศษขบวนหนึ่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย วิ่งระหว่างสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร กับสถานีปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส มาลาเซียใช้รหัสขบวน 45/46 ปัจจุบันสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีปาดังเบซาร์และผู้โดยสารจะต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและไปซื้อตั๋วเพื่อขึ้นรถไฟ อีทีเอส หรือ โคมูเตอร์ ของมาเลเซียต่อไป

ปัจจุบันชนิดรถที่ให้บริการมีเพียงรถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นสอง (บนท.ป.)

ประวัติ[แก้]

รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศหรือชื่อเดิม รถด่วนสายใต้ เปิดเดินรถครั้งแรกในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2465 วิ่งทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์ ต้นทางในขณะนั้นคือสถานีรถไฟบางกอกน้อย และได้ย้ายต้นทางมาที่สถานีรถไฟกรุงเทพ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2470 ต่อมาได้หยุดทำการเดินรถชั่วคราวระหว่างวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2493 จนถึง 2 มกราคม พ.ศ. 2497 เนื่องจากสะพานพระราม 6 ถูกทำลาย

โดยปกติรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพในช่วงบ่ายและไปถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธในช่วงสายของวันถัดมาโดยทำการเดินรถทุกวัน แต่ภายหลังในช่วงกลางปี พ.ศ. 2559 หลังจากที่ประเทศมาเลเซียได้มีการปรับปรุงการให้บริการรถไฟด้วยระบบรถไฟฟ้าทางคู่ขนาดความกว้าง 1 เมตร หรือขบวนรถไฟ อีทีเอส ประกอบกับการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2559 ทำให้รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศจึงสิ้นสุดเส้นทางเพียงแค่สถานีปาดังเบซาร์ โดยจะพ่วงตู้โดยสารรวมไปกับรถด่วนพิเศษทักษิณขบวนที่ 37/38 (กรุงเทพ - สุไหงโกลก - กรุงเทพ) และผู้โดยสารจะต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและดำเนินการซื้อตั๋วเพื่อใช้บริการรถไฟของประเทศมาเลเซียเพื่อเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางต่อไป

กำหนดเวลาเดินรถ[แก้]

รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศที่สถานีรถไฟกรุงเทพ

เที่ยวขึ้น[แก้]

ขบวนที่ 45
(กรุงเทพอภิวัฒน์ - ปาดังเบซาร์)
สถานี ถึง ออก หมายเหตุ
กรุงเทพอภิวัฒน์ ต้นทาง 15.35 -
บางบำหรุ 15.47 15:48 -
ชุมทางตลิ่งชัน 15.53 15:54 -
ศาลายา 16.08 16.09 -
นครปฐม 16.36 16:46 -
บ้านโป่ง 17.05 17:06 -
ราชบุรี 17.37 17:47 -
เพชรบุรี 18.42 18:52 -
หัวหิน 19.45 19:55 -
วังก์พง 20.12 20:13 -
ประจวบคีรีขันธ์ 21.08 21:09 -
บางสะพานใหญ่ 22.10 22:11 -
ปะทิว 23.12 23:26 -
ชุมพร 23.50 00:21 -
สุราษฎร์ธานี 03.35 03:49 -
ชุมทางทุ่งสง 05.35 05:45 -
ชะอวด 06.39 06:40 -
พัทลุง 07.21 07:23 -
บางแก้ว 07.47 6.17 -
ชุมทางหาดใหญ่ 08.41 08:55 สถานีตัดตู้โดยสารและแยกขบวน 37 และ 45 ออกจากกัน
คลองแงะ 09.22 09:50 -
ปาดังเบซาร์ (ไทย) 09.50 ปลายทาง


เที่ยวล่อง[แก้]

ขบวนที่ 46
(ปาดังเบซาร์ - กรุงเทพอภิวัฒน์)
สถานี ถึง ออก หมายเหตุ
ปาดังเบซาร์ (ไทย) ต้นทาง 17:00
คลองแงะ 17.29 17.30 -
ชุมทางหาดใหญ่ 17.55 18:15 พ่วงเข้ากับขบวนที่ 38 ที่สถานีนี้
บางแก้ว 19:08 19.09 -
พัทลุง 19:32 19:34 -
ชะอวด 20:15 20:16 -
ชุมทางทุ่งสง 21:08 21:18 -
สุราษฎร์ธานี 23:04 23:14 -
ชุมพร 01:32 01:42 -
บ้านคอกม้า 02:01 02:02 -
บางสะพานใหญ่ 03:41 03:42 -
นาผักขวง 03:54 03:55 -
ประจวบคีรีขันธ์ 05:18 05:19 -
หัวหิน 06:59 07:09 -
เพชรบุรี 08:23 08:33 -
ราชบุรี 09:29 09:34 -
บ้านโป่ง 10:16 10:17 -
นครปฐม 10:48 10:53 -
ศาลายา 11:29 11:30 -
บางบำหรุ 11:53 11:54 -
กรุงเทพอภิวัฒน์ 12:05 ปลายทาง -


อ้างอิง[แก้]