รถด่วนพิเศษนครพิงค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถด่วนพิเศษนครพิงค์
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทรถด่วนพิเศษ
สถานะยกเลิกบริการ
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, นครสวรรค์, พิจิตร, อุตรดิตถ์, แพร่, ลำปาง, ลำพูน และเชียงใหม่
ให้บริการครั้งแรก13 เมษายน พ.ศ. 2530 (37 ปีก่อน)
สิ้นสุดให้บริการ12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (7 ปีก่อน) [1]
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
เส้นทาง
ปลายทางกรุงเทพ (หัวลำโพง)
เชียงใหม่
จอด18
ระยะทาง751.42 km (466.91 mi)
เวลาเดินทาง12 ชั่วโมง 35-50 นาที
ความถี่ให้บริการ2 เที่ยวต่อวัน (เที่ยวไป/เที่ยวกลับ)
เลขขบวน1 (เที่ยวไป)
2 (เที่ยวกลับ)
ในเส้นทางทางรถไฟสายเหนือ
บริการบนขบวน
ชั้นชั้น 1,2
ผู้พิการเข้าถึงได้มีบริการ
ที่นอนรถนั่งและนอนชั้น 1
รถนั่งและนอนชั้น 2
บริการอาหารตู้เสบียง
ข้อมูลทางเทคนิค
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
ความเร็ว90 km/h (56 mph)

รถด่วนพิเศษนครพิงค์ (อังกฤษ: Nakhon Phing Special Express; เลขขบวน: 1/2) เป็นรถด่วนพิเศษในอดีตขบวนหนึ่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้บริการระหว่างสถานีรถไฟกรุงเทพ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยรถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นหนึ่งและชั้นสอง (บนอ.ป. และ บนท.ป.) รถนั่งปรับอากาศชั้นที่2สำหรับผู้พิการ และรถเสบียงปรับอากาศ (บกข.ป) ปัจจุบันยุติการให้บริการและทดแทนด้วยรถด่วนพิเศษอุตราวิถีขบวนที่ 9/10 เดินรถเที่ยวสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (ถึงสถานีรถไฟกรุงเทพวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559) รวมระยะเวลาการใช้งานทั้งสิ้น 29 ปี 10 เดือน 30 วัน

ประวัติ[แก้]

รถด่วนพิเศษนครพิงค์ ในอดีตคือรถด่วนนครพิงค์ เป็นรถโดยสารปรับอากาศล้วน เปิดเดินรถครั้งแรกในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2530 และเป็นขบวนรถด่วนที่วิ่งคู่กับรถด่วนขบวนที่ 13/14 ซึ่งเปิดทำการมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 โดยใช้รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 1 รุ่นฮุนได 24 ที่นั่งและนอน ที่นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ เมือปี พ.ศ. 2539 และรถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 2 รุ่นแดวู 40 ที่นั่งและนอน ที่นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ เมือปี พ.ศ. 2539 เช่นเดียวกับรถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 1 และมีรถนั่งปรับอากาศชั้นที่ 2 ที่รองรับผู้โดยสารที่เป็นคนพิการ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการ รวมทั้งห้องน้ำกว้างกว่ารถโดยสารปกติ โดยดัดแปลงมาจากรถนั่งปรับอากาศชั้น 3 เดิมจาก JR-west ประเทศญี่ปุ่น และมีตู้สำหรับสุภาพสตรีและเด็กอยู่ที่คันที่ 11 ในเที่ยวไป และคันที่ 3 ในเที่ยวกลับ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 รถด่วนพิเศษนครพิงค์ได้กลายมาเป็นขบวนรถตัวอย่างขบวนหนึ่งของการรถไฟฯ ควบคู่กับรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ รถด่วนพิเศษทักษิณ และรถด่วนพิเศษดีเซลรางขบวนที่ 21/22 กรุงเทพ - อุบลราชธานี - กรุงเทพ

รถด่วนพิเศษนครพิงค์ยกเลิกการเดินรถตั้งแต่คืนวันที่ 11 พฤศจิกายน (สำหรับขบวนที่ 1) และคืนวันที่ 12 พฤศจิกายน (สำหรับขบวนที่ 2) พ.ศ. 2559[1] และทดแทนด้วยการเดินรถด่วนพิเศษอุตราวิถีขบวนที่ 9/10 โดยใช้รถไฟชุด 115 คันจาก ประเทศจีนชุดละ 13 คัน โดยใช้ชุดเวลาเดิมกับด่วนพิเศษนครพิงค์ นับเป็นการปิดฉากขบวนรถด่วนพิเศษยอดนิยมมาทุกยุคทุกสมัยขวัญใจชาวต่างประเทศ ซึ่งรับใช้คนไทยและต่างประเทศมานานเกือบ 30 ปี

สถานีรถไฟที่จอด[แก้]

ภายในรถนอนปรับอากาศชั้น 2

ขบวน 1 กรุงเทพ - เชียงใหม่[แก้]

ขบวน 2 เชียงใหม่ - กรุงเทพ[แก้]

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Chiang Mai City Update. "ปิดตำนาน "รถด่วนพิเศษนครพิงค์" รฟท. เปิดขบวนใหม่ "อุตราวิถี" แทน". 25 October 2016. Chiang Mai City Update. สืบค้นเมื่อ 3 December 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]