ยุทธนาวีที่ทะเลคอรัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยุทธนาวีทะเลคอรัล)
ยุทธนาวีทะเลคอรัล
ส่วนหนึ่งของ สมรภูมิแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง

เรือบรรทุกอากาศยาน เล็กซิงตัน ระเบิดในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 หลังจากที่ได้รับความเสียหายจากการโจมตีของเรือบรรทุกอากาศยานญี่ปุ่นเมื่อหลายชั่วโมงก่อน
วันที่4–8 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 (พ.ศ. 2485)
สถานที่
ทะเลคอรัล ระหว่างออสเตรเลีย, เกาะนิวกินี, และหมู่เกาะโซโลมอน
ผล
คู่สงคราม
สหรัฐ สหรัฐอเมริกา
 ออสเตรเลีย
 ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐ ชารล์ส ดับบลิว. นิมิทซ์
สหรัฐ แฟรงค์ เจ. เฟล็ทเชอร์
สหรัฐ โทมัส ซี. คิงเคด
สหรัฐ ออเบรย์ ฟิตช์
สหรัฐ จอร์จ เบร็ตต์
สหรัฐ ดักลาส แมกอาเธอร์
ออสเตรเลีย จอห์น เครซ
จักรวรรดิญี่ปุ่น อิโซะโระกุ ยะมะโมะโตะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ชิเงะโยะชิ อิโนะอุเอะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ทะเกะโอะ ทะกะงิ
จักรวรรดิญี่ปุ่น คิโยะฮิเดะ ชิมะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น อะริโตะโมะ โกะโต
จักรวรรดิญี่ปุ่น ชูอิชิ ฮะระ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ซะดะมิชิ คะจิโอะกะ
กำลัง
เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือ 2 ลำ,
เรือลาดตระเวน 9 ลำ,
เรือพิฆาต 13 ลำ,
เรือบรรทุกน้ำมัน 2 ลำ,
เรือบรรทุกเครื่องบินทะเล 1 ลำ,
อากาศยานบนเรือบรรทุกอากาศยาน 128 ลำ[1]
เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือ 2 ลำ,
เรือบรรทุกอากาศยานเบา 1 ลำ,
เรือลาดตะเวน 9 ลำ,
เรือพิฆาต 15 ลำ,
เรือกวาดทุ่นระเบิด 5 ลำ,
เรือวางทุ่นระเบิด 2 ลำ,
เรือขับไล่เรือดำน้ำ 2 ลำ,
เรือปืน 3 ลำ,
เรือบรรทุกน้ำมัน 1 ลำ,
เรือบรรทุกเครื่องบินทะเล 1 ลำ,
เรือขนส่ง 12 ลำ,
เครื่องบิน 127 ลำ[2]
ความสูญเสีย
เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือ 1 ลำถูกจมทิ้ง,
เรือพิฆาต 1 ลำถูกจม,
เรือบรรทุกน้ำมัน 1 ลำถูกจม,
เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือ 1 ลำได้รับความเสียหาย,
เครื่องบิน 69 ลำถูกทำลาย[3]
เสียชีวิต 656 นาย[4]
เรือบรรทุกอากาศยานเบา 1 ลำถูกจม,
เรือพิฆาต 1 ลำถูกจม,
เรือรบขนาดเล็ก 3 ลำถูกจม,
เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือ 1 ลำได้รับความเสียหาย,
เรือพิฆาต 1 ลำได้รับความเสียหาย,
เรือรบขนาดเล็ก 2 ลำได้รับความเสียหาย,
เรือขนส่ง 1 ลำได้รับความเสียหาย,
เครื่องบิน 92 ลำถูกทำลาย[5]
เสียชีวิต 966 นาย[6]

ยุทธนาวีทะเลคอรัล เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 (พ.ศ. 2485) เป็นยุทธการทางทะเลที่สำคัญในสมรภูมิแปซิฟิกแห่งสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองกำลังทางทะเลและอากาศของสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ยุทธนาวีครั้งนี้เป็นการรบครั้งแรกที่มีการปะทะระหว่างเรือบรรทุกอากาศยาน เช่นเดียวกันครั้งแรกที่เรือรบของทั้งสองฝ่ายไม่เห็นซึ่งกันและกันหรือยิงใส่กันโดยตรง

กองทัพญี่ปุ่นต้องการที่จะสร้างเสริมของความแข็งแกร่งให้กับแนวป้องกันของตนเองในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ จึงตัดสินใจเข้ารุกรานและยึดครองพอร์ตมอร์สบีในนิวกินีและเกาะทูลากิในหมู่เกาะโซโลมอนทางตะวันออกเฉียงใต้ แผนการรุกรานที่เรียกว่าปฏิบัติการณ์โม ประกอบด้วยหน่วยรบใหญ่หลายหน่วยจากกองเรือร่วมของญี่ปุ่น ที่มีเรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือ 2 ลำและเรือบรรทุกอากาศยานเบา 1 ลำเพิ่อให้การสนับสนุนทางอาการให้กับกองเรือรุกราน ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอกชิเกโยชิ อิโนอุเอะ ทางฝ่ายสหรัฐฯ ที่ทราบแผนการรุกรานของญี่ปุ่นผ่านข่าวกรองสื่อสาร จึงส่งกองกำลังเรือบรรทุกอากาศยานเฉพาะกิจจากกองทัพเรือสหรัฐ 2 กองเรือและกองกำลังเรือลาดตระเวนร่วมของสหรัฐฯ และออสเตรเลียภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอกแฟรงค์ เจ. เฟล็ทเชอร์แห่งกองทัพเรืออเมริกัน เพื่อต่อกรกับการรุกรานของญี่ปุ่น

ในวันที่ 3-4 พฤษภาคม กองกำลังญี่ป่นเข้ารุกรานและยึดครองเกาะทูลากิได้สำเร็จ แม้ว่าเรือรบสนับสนุนหลายลำของญึ่ปุ่นจะถูกจู่โจมโดยไม่ให้ตั้งตัวและถูกจมโดยเครื่องบินจากเรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือสหรัฐฯ ยอร์คทาว์น เมื่อทางญี่ปุ่นทราบว่ามีเรือบรรทุกอากาศยานของสหรัฐฯ อยู่ในบริเวณ จึงส่งเรือบรรทุกเครื่องบินประจำกองเรือของตนไปยังทะเลคอรัล เพื่อค้นหาและทำลายกองกำลังทางเรือของฝ่ายสัมพันธมิตร เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม กองกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินของทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนการโจมตีทางอากาศอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสองวัน ในวันแรก ฝ่ายสหรัฐฯ จมเรือบรรทุกอากาศยานเบาของญี่ปุ่น โชโฮ ในขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นจมเรือพิฆาตของสหรัฐ และสร้างความเสียหายอย่างหนักกับเรือบรรทุกน้ำมันประจำกองเรือ (และถูกจมทิ้งในเวลาต่อมา) วันต่อมา เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือญี่ปุ่น โชคาคุ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และเรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือสหรัฐฯ เล็กซิงตัน ได้รับความเสียหายในระดับวิกฤต (และถูกจมทิ้งในเวลาต่อมา) ในขณะที่เรือยอร์คทาว์นก็ได้รับความเสียหาย ด้วยทั้งสองฝ่ายต่างก็สูญเสียกองกำลังอย่างหนักทั้งอากาศยานและเรือบรรทุกอากาศยานที่ได้รับความเสียหายหรือถูกจม กองเรือของทั้งสองฝ่ายจึงยุติการปะทะและถอนกำลังจากบริเวณการรบ เนื่องจากสูญเสียความคุ้มครองทางอากาศ นายพลเรืออิโนอุเอะจึงเรียกกองเรือรุกรานพอร์ตมอร์สบีกลับ เพื่อพยายามใหม่ในคราวหลัง

แม้การรบครั้งนี้จะเป็นชัยชนะทางยุทธวิธีของฝ่ายญี่ปุ่นในแง่ของจำนวนเรือที่ถูกจม ท้ายที่สุดแล้วการรบครั้งนี้กลับเป็นชัยชนะทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายสัมพันธมิตรเพราะหลายเหตุผลด้วยกัน ยุทธการครั้งนี้เป็นยุทธการแรกตั้งแต่เริ่มสงครามที่การรุกครั้งสำคัญของญี่ปุ่นถูกสกัดโดยฝ่ายพันธมิตร ที่สำคัญ เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือญี่ปุ่น โชคาคุ ได้รับความเสียหาย ในขณะที่เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือญี่ปุ่น ซุยคาคุ ประสบกับภาวะขาดอากาศยานรบ ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมยุทธนาวีที่มิดเวย์ ที่เกิดขึ้นในเดือนถัดมาได้ ส่งผลให้จำนวนอากาศยานของทั้งสองฝ่ายในการรบครั้งนั้นมีความสูสี และเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้กองทัพสหรัฐฯ ได้รับชัยชนะ การสูญเสียเรือบรรทุกอากาศยานเป็นจำนวนมากที่มิดเวย์ทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถรุกรานพอร์ตมอร์สบีจากทางทะเล สองเดือนต่อมา ฝ่ายสัมพันธมิตรชิงความได้เปรียบจากความอ่อนแอทางยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ที่เกิดจากการรบครั้งก่อนๆ และเริ่มดำเนินการทัพกัวดัลคะแนล และการทัพนิวกินี จนสามารถเจาะทะลุแนวป้องกันของญี่ปุ่นในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ได้สำเร็จ และเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สองในที่สุด

อ้างอิง[แก้]

  1. Lundstrom, Pearl Harbor to Midway, p. 190.
  2. Lundstrom, Pearl Harbor to Midway, p. 188; Millot, p. 154; Cressman (p.93).
  3. Wilmott (1983), p. 286; Crave, p. 449; Gillison, pp. 518–519; Salecker, p.181.
  4. Phillips; ONI, pp. 25–45.
  5. Lundstrom, Guadalcanal Campaign, p.92; Wilmott (1983), p.286; Millot, p.160.
  6. Peattie, pp. 174–175; Gill, p. 44; Tully, "IJN Shoho" and "IJN Shokaku".