ยุทธการมู่เหย่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการมู่เหย่
วันที่ประมาณ 1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช
สถานที่
ตำบลมู่เหย่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอินซฺวี มณฑลเหอหนานกลาง
ผล

ราชวงศ์โจวชนะอย่างเด็ดขาด

คู่สงคราม
ราชวงศ์ซาง ราชวงศ์โจวและพันธมิตร
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พระเจ้าซางโจ้ว พระเจ้าโจวอู่
กำลัง
ในประวัติศาสตร์:
ทหาร 530,000 นาย
ทาส 170,000 คน (แปรพักตร์ทั้งหมด)
~รวม 700,000 นาย

ประมาณในปัจจุบัน:
ทหาร 50,000-70,000 นาย
ทาสจำนวนมาก
ในประวัติศาสตร์:
รถศึกโจว 300 คัน
รถศึกฝ่ายกบฏ 3,700 คัน
ทหารระดับสูง 3,000 นาย[1]
ทหารราบ 45,000 นาย
ความสูญเสีย
ทหารฝ่ายภักดีต่อราชวงศ์ซางถูกสังหารทั้งหมด น้อย

ยุทธการมู่เหย่ (อังกฤษ: Battle of Muye; จีน: 牧野之戰; พินอิน: Mùyě zhī zhàn) เป็นการสู้รบระหว่างราชวงศ์ซางกับราชวงศ์โจว เกิดขึ้นประมาณปีที่ 1046 ก่อนคริสต์ศักราช[2][3]

ประมาณศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์ซางได้ขยายอิทธิพลมาทางตะวันตกแถบหุบเขาแม่น้ำเว่ย์ ซึ่งตระกูลโจวปกครองอยู่ พระเจ้าโจวเหวินเป็นผู้ปกครองดินแดนพระองค์หนึ่งของราชวงศ์ซางและเคยช่วยเหลือพระเจ้าซางโจ้วในตอนที่พระองค์นำทัพบุกภาคตะวันออกเฉียงใต้ แต่พระเจ้าซางโจ้วรู้สึกระแวงจึงสั่งคุมขังพระเจ้าโจวเหวิน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างซางและโจวตึงเครียดขึ้น ภายหลังที่ถูกปล่อยตัวออกมา พระเจ้าโจวเหวินได้นำกองทัพพิชิตดินแดนต่าง ๆ ที่ภักดีต่อราชวงศ์ซาง แต่ในปีที่ 1050 ก่อนคริสต์ศักราช พระองค์เสด็จสวรรคต พระเจ้าโจวอู่ พระโอรสก่อกบฏต่อพระเจ้าซางโจ้วโดยมีประชาชนเข้าร่วมจำนวนมาก

พระเจ้าโจวอู่ได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษา เจียง จื่อหยา ให้นำกำลัง 50,000 นายเข้าตีกองทัพพระเจ้าซางโจ้วที่กำลังติดพันกับการศึกทางทิศตะวันออก แต่พระเจ้าซางโจ้ววางกำลังทหารไว้ป้องกันเมืองอินซฺวี เมืองหลวงราว 530,000 นายและทาสกว่า 170,000 คน อย่างไรก็ตาม กลุ่มทาสได้แปรพักตร์ไปอยู่ฝ่ายพระเจ้าโจวอู่ ทำให้ขวัญกำลังใจทหารซางลดน้อยลง ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่ตำบลมู่เหย่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอินซฺวี ทหารฝ่ายราชวงศ์ซางส่วนใหญ่ลดอาวุธลงและแปรพักตร์เพราะไม่อยากรบเพื่อพระเจ้าซางโจ้ว แต่บางส่วนยังไม่ยอมจำนนจึงเกิดการสู้รบกันอย่างรุนแรง พระเจ้าซางโจ้วหลบหนีไปที่เมืองหลวงหลังเห็นว่าทัพของพระองค์พ่ายแพ้

หลังการสู้รบ พระเจ้าซางโจ้วได้ปลงพระชนม์พระองค์เอง พระเจ้าโจวอู่สังหารพระนางต๋าจี่ พระมเหสีของพระเจ้าซางโจ้วหลังพบว่าพระนางวางแผนลอบปลงพระชนม์พระองค์ ข้าวในท้องพระคลังถูกนำไปแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วไป ยุทธการมู่เหย่เป็นจุดสิ้นสุดของราชวงศ์ซาง และการขึ้นสู่อำนาจของราชวงศ์โจว[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Encyclopedia of Ancient Asian Civilizations by Charles Higham
  2. Wu, note 40, 319 and note 41, 320: ถึงแม้จะทราบวันและเดือนที่แท้จริง แต่ปีที่เกิดยุทธการมู่ยียังคงเป็นที่ถกเถียง
  3. Cambridge History of Ancient China (google excerpt)
  4. China at War: An Encyclopedia by Xiaobing Li

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]