ยิปมัน 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อย่าสับสนกับภาพยนตร์อีกเรื่อง คือ The Legend is Born – Ip Man

ยิปมัน 3
กำกับวิลสัน ยิป
เขียนบทเอ็ดมอนด์ หว่อง
อำนวยการสร้างหวง พัก-หมิง
นักแสดงนำ
กำกับภาพเคนนี ฉี
ตัดต่อกา-เฟย จัง
ดนตรีประกอบเคนจิ กะไว
บริษัทผู้สร้าง
  • เพกาซัสโมชันพิกเจอส์
ผู้จัดจำหน่ายGolden harvest golden way films film workshop magnum films เพกาซัสโมชันพิกเจอส์
โมโนฟิล์ม (ไทย)
วันฉาย16 ธันวาคม 2015 (ปฐมทัศน์ที่ฮ่องกง)
24 ธันวาคม 2015 (ฮ่องกง)
22 มกราคม 2016 (สหรัฐอเมริกา) [1]
14 มกราคม 2016 (ไทย)
ความยาว105 นาที[2]
ประเทศฮ่องกง
ภาษา
ทุนสร้าง36 ล้านเหรียญสหรัฐ[3]
ทำเงิน150 ล้านเหรียญสหรัฐ[4]
ก่อนหน้านี้ยิปมัน 2 อาจารย์บรู๊ซ ลี
(Ip Man 2)
(2010)
ต่อจากนี้ยิปมัน 4 (Ip Man 4: The Finale) (2019)

ยิปมัน 3 (อังกฤษ: Ip Man 3; จีนตัวเต็ม: 葉問3; จีนตัวย่อ: 叶问3; พินอิน: Yè Wèn Sān) ภาพยนตร์กังฟูสัญชาติฮ่องกง ออกฉายในปลายปี ค.ศ. 2015 ในปี 2018 ได้มีภาคแยกของจังทีชี่ชื่อว่า master Z: the IP man legacy ยิปมัน: ตำนานมาสเตอร์ Z

เรื่องย่อ[แก้]

ฝอซาน ในปี ค.ศ. 1959 ยิปมัน ได้ย้ายกลับมาจากฮ่องกงอยู่ที่นี่พร้อมกับ เจ็ง หวิ่งซิง ภรรยาและยิปเช็ง ลูกชายคนเล็ก แต่ทว่าอิทธิพลจากชาติตะวันตกที่เข้ามาหวังจะฮุบโรงเรียนประถม ที่เป็นสถานที่เรียนของเด็ก ๆ ที่นี่ ทำให้ยิปมันพร้อมกับลูกศิษย์ต้องต่อสู้เพื่อปกป้องชุมชนที่อาศัยอยู่ ขณะเดียวกัน จัง ทีชี่ ชายหนุ่มผู้ซึ่งมาใหม่ ซึ่งก็เป็นหย่งชุนเช่นเดียวกัน และเป็นศิษย์ร่วมสำนักกับยิปมัน ก็ฉายแสงเจิดจรัสขึ้นมา และประกาศท้าประลองกับยิปมัน เพื่อพิสูจน์ว่า ใครเป็นปรมาจารย์หย่งชุนตัวจริง

นักแสดงและตัวละคร[แก้]

การสร้างและการเข้าฉาย[แก้]

Ip Man 3 นับเป็นผลงานภาพยนตร์ภาคที่ 3 ซึ่งเป็นภาคต่อของ Ip Man เมื่อปี ค.ศ. 2008 และ Ip Man 2 เมื่อปี ค.ศ. 2010 ภาพยนตร์กังฟูแนวชีวประวัติของยิปมัน ปรมาจารย์กังฟูแบบหย่งชุน ผู้มีตัวตนจริงและได้รับการยอมรับไปทั่วโลก ในฐานะผู้ที่ถ่ายทอดหย่งชุนในยุคปัจจุบัน และเป็นอาจารย์คนแรกของบรูซ ลี ซึ่งต่อมากลายเป็นนักแสดงแอ๊คชั่นระดับตำนานของวงการภาพยนตร์ โดยได้นักแสดงหลัก คือ เจิ้น จื่อตัน กลับมารับบทยิปมันอีกครั้ง โดยมี หยวน หวูปิง กำกับฉากแอ๊คชั่น ซึ่งคราวนี้ยังได้ ไมค์ ไทสัน อดีตนักมวยระดับแชมป์โลกในรุ่นเฮฟวี่เวท มารับบท แฟรงกี้ นักพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการยึดครองที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในเนื้อเรื่องด้วย โดยถือว่าภาพยนตร์เรื่องแรก ที่ไทสันรับบทเด่น หลังจากที่ผ่านมารับแต่เพียงบทตัวประกอบหรือบทตลกเท่านั้น โดยระหว่างการถ่ายทำที่ต้องเข้าฉากต่อสู้กันกับเจิ้น จื่อตัน กระดูกนิ้วมือของไทสันถึงกับหัก[5] อีกทั้งยังได้ จาง จิ้น นักแสดงกังฟูรุ่นใหม่รับบท จัง ทีชี่ ปรมาจารย์หย่งชุนที่ต้องการประลองฝีมือกับยิปมันอีกด้วย[6] และยังมี สุชาติ ขันวิไล หรือ ไซมอน กุ๊ก นักแสดงแสตนอินและสตันแมนชาวไทย ผู้ที่เคยผ่านงานในภาพยนตร์แนวเดียวกันนี้มาแล้วมากมาย เช่น องค์บาก หรือ ต้มยำกุ้ง รับบท สุชาติ นักสู้ในแบบมวยไทยร่วมแสดงด้วย[7]

เมื่อออกฉาย ภาพยนตร์ทำรายได้ในสัปดาห์แรกที่ฮ่องกงถึง 40 ล้านเหรียญฮ่องกง (ประมาณ 186 ล้านบาท) และขึ้นชาร์ตเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งที่ฉายพร้อมกับ Star Wars: The Force Awakens ภาพยนตร์ไซไฟฟอร์มใหญ่จากฮอลลีวูด นอกจากนี้แล้วการเข้าฉายที่ไต้หวันและมาเลเซียก็ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งเช่นเดียวกัน[6]

ในส่วนของประเทศไทย มีการฉายในระบบ 4 มิติ และหากชมแล้วไม่สนุก ทางโรงภาพยนตร์ยินดีคืนเงินภายใน 30 นาที ที่เริ่มฉาย[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Donnie Yen Wants To Continue the Spirit of 'Ip Man'". JayneStars.com. สืบค้นเมื่อ 22 December 2015.
  2. "IP MAN 3 [2D] (12A)". British Board of Film Classification. 21 December 2015. สืบค้นเมื่อ 21 December 2015.
  3. Karen Chu. "Former Boxing Champ Mike Tyson Signs Up for Hong Kong Action Flick 'Ip Man 3'". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 25 March 2015.
  4. "Yip Man 3 (2015)". The Numbers. สืบค้นเมื่อ 5 January 2016.
  5. "โดนศอก "ยิปมัน"! "ไมค์ ไทสัน" กระดูกนิ้วร้าวระหว่างถ่ายทำ Ip Man 3". ผู้จัดการออนไลน์. 19 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-05. สืบค้นเมื่อ 17 January 2016.
  6. 6.0 6.1 "ไม่หวั่นกระแส Star Wars "ยิปมัน 3" กวาด 40 ล้านเหรียญฯ ในฮ่องกง". ผู้จัดการออนไลน์. 6 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-12. สืบค้นเมื่อ 17 January 2016.
  7. "อีกหนึ่งสุดยอดที่คนไทยไม่ค่อยรู้จัก 'ไซม่อน กุ๊ก' หรือพี่สุชาติ นักแสดงไทยระดับโลก ใน ยิปมัน 3". เมเจอร์ซินีเพลกซ์. 13 January 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2016.
  8. "ลองไหม? ดู IP MAN 3 แบบ 4DX ไม่มันส์ยินดีคืนเงินภายใน30นาทีแรก". m.bugaboo.tv. 13 January 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2016.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]