มัสยิดกรือเซะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดกรือเซะ
Masjid Kerisek
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถาปัตยกรรมเปอร์เซีย[3][4]
เมืองหมู่ 3 บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ประเทศไทย ประเทศไทย
ปรับปรุงพ.ศ. 2548[1][2]

มัสยิดกรือเซะ (มลายู: Masjid Kerisek) หรือ มัสยิดสุลต่านมูซัฟฟาร์ชาห์[5] เป็นมัสยิดเก่าแก่อายุกว่า 450 ปีในจังหวัดปัตตานี สันนิษฐานได้ว่าเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 22 ร่วมสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัสยิดปิตูกรือบัน ชื่อนี้เรียกตามรูปทรงของประตูมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบกอทิกของชาวยุโรป และแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง (คำว่า ปิตู แปลว่า ประตู กรือบัน แปลว่า ช่องประตูที่มีรูปโค้ง)[6]

ช่วงเวลาที่มัสยิดกรือเซะถูกสร้างนั้นยังเป็นที่ถกเถียง บ้างว่าสร้างในรัชสมัยสุลต่านมูซัฟฟาร์ชาห์[5][4] บ้างก็ว่าสร้างในรัชสมัยรายาบีรู[7] ส่วนกรณีที่มัสยิดสร้างไม่สำเร็จนั้น ก็มีการยึดโยงกับตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวซึ่งมีสุสานอยู่ใกล้กับมัสยิดกรือเซะ ที่ถูกเล่าต่อเติมภายหลังว่าเจ้าแม่ได้สาปให้มัสยิดนี้สร้างไม่สำเร็จ จนกลายเป็นปัญหากินแหนงแคลงใจระหว่างชาวไทยเชื้อสายมลายูและชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่[8][9] แต่จากการสำรวจและบูรณะของกรมศิลปากร พบว่าโครงสร้างโดมนั้นมีลักษณะไม่แข็งแรงและขาดความสมดุลจึงทำให้พังทลาย ทั้งยังไม่พบร่องรอยถูกเผาหรือถูกฟ้าผ่าตามตำนานที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด เพราะหลังราชวงศ์กลันตันปกครองปัตตานีถัดจากราชวงศ์ศรีวังสา ได้ย้ายศูนย์กลางเมืองไปยังบานาและจะบังติกอตามลำดับ มัสยิดกรือเซะจึงถูกทิ้งให้โรยราไป[10]

กรณีกรือเซะ[แก้]

วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 ในขณะที่กองทัพภาคที่ 4 ประกาศกฎอัยการศึก ในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานีและ จังหวัดยะลา[11] เกิดความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย โดยที่มัสยิดกรือเซะเกิดเหตุการณ์รุนแรงมากที่สุดกล่าวคือมีผู้เสียชีวิตที่มัสยิดกรือเซะมากถึง 34 ศพ รองลงมาคือที่อำเภอสะบ้าย้อย มีผู้เสียชีวิตรวม 19 ศพ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา 17 ศพ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี 13 ศพ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 12 ศพ อำเภอบันนังสตา 8 ศพ อำเภอธารโต 5 ศพ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 2 ศพ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา บาดเจ็บสาหัส 4 ราย[12] โดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกระจายกันโจมตีฐานตำรวจ-ทหาร 12 จุด รวมทั้งสองฝ่ายเสียชีวิต 113 ศพ[13] ผู้ก่อการร้าย 108 ศพ เจ้าหน้าที่ 5 ศพในจำนวนนี้เป็นทราบชื่อได้แก่ ส.ท.สามารถ กาบดอนกลาง ส.ต.ท.ชำนาญ อักษรเนียม ส.ต.ต.ณรงค์ชัย พลเดช พลทหาร ดลนิยา แกคอย จ.ส.ต.เลิศศักดิ์ เที่ยงธรรม บาดเจ็บ 6 คน ถูกจับกุม 17 คน บาดเจ็บ 15 นาย[14] หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มัสยิดกรือเซะมีผู้เข้าชมน้อยลงกว่าเก่าก่อน[15]

โดยวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 น่าจะถูกจงใจกำหนดให้ตรงกับ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2491 อันเป็นวันเกิดของเหตุการณ์ที่ภาษาอำนาจรัฐส่วนกลางเรียกว่า กบฏดุซงญอ แต่ชาวปัตตานีเรียกว่า สงครามโต๊ะเปรัก-ดุซงยอ และนักประวัติศาสตร์มาเลเซียบางคนเรียกว่า เคบังอีตัน แปลว่า การลุกขึ้นสู้อีกด้วย

ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2547 เมื่อปรากฏมีกลุ่มคนที่เชื่อว่าเป็นบุคคลระดับแกนนำในการก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 30 คน ได้เดินทางเข้าไปในพื้นที่ควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จากนั้นเวลา 04.50 น.ของเช้าตรู่วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 ได้มีกลุ่มก่อความไม่สงบได้เริ่มปฏิบัติการตามแผน ด้วยการใช้อาวุธสงครามยิงถล่มป้อมจุดตรวจกรือเซะ ที่ตั้งอยู่บริเวณ ถนนสายปัตตานี-นราธิวาส หมู่ 3 ตําบลตันหยงลุโละ อําเภอเมืองปัตตานี จนทำให้เจ้าหน้าตำรวจคอมมานโด กองปราบปราม จำนวน 4 นายเข้าเวรประจำการทั้งหมดถูกยิงได้รับบาดเจ็บ[16]

จึงได้เกิดการปะทะกันด้วยอาวุธสงคราม ก่อนที่กลุ่มก่อความไม่สงบ จะต้านทานกำลังของเจ้าหน้าที่ไม่ไหว จึงได้ล่าถอยเข้าไปหลบซ่อนตัวในมัสยิดกรือเซะ ที่ตั้งห่างจากจุดปะทะเพียง 200 เมตร เจ้าหน้าที่จึงได้เรียกกำลังเสริมปิดล้อมและตรึงกำลังไว้รอบมัสยิดควบคู่ไปกับการเจรจาและเกลี้ยกล่อม กลุ่มผู้ก่อเหตุเข้าหลบซ่อนในมัสยิดกรือเซะมีการยิงสวนออกมา และมีการตอบโต้กันเป็นระยะ ๆ เจ้าหน้าที่หน่วยรบพิเศษเริ่มยิงแก๊สน้ำตาเข้าไปภายในมัสยิดแต่ก็ไม่เป็นผล เนื่องจากยัง จนกระทั่ง 11.00 น. หน่วยรบพิเศษได้รับคำสั่งให้ใช้อาวุธหนัก ก่อนจะตัดสินใจใช้อาวุธหนักยิงถล่มเข้าไปในมัสยิด ปิดฉากการปะทะที่ใช้เวลาไปนานกว่า 9 ชั่วโมงท่ามกลางประชาชนประมาณ 2,000–3,000 คน ที่รวมตัวกันอยู่บริเวณดังกล่าว ซึ่งหลังสิ้นเสียงปืนเจ้าหน้าที่พบศพกลุ่มคนร้ายทั้งในและนอกอาคารมัสยิด 34 ศพ นอกจากการปะทะเดือดที่มัสยิดกรือเซะ อําเภอเมืองปัตตานีแล้ว ในวันและเวลาเดียวกัน กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยังบุกโจมตีฐานที่มั่นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหารตามจุดต่าง ๆ ในพื้นที่ไม่สงบของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมยอดสูงถึง 109 ศพ บาดเจ็บ 6 คน ถูกจับกุม 17 คน ขณะที่เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 นาย บาดเจ็บ 15 นาย[17] กรณีดังกล่าวเกิดทั่ว 4 จังหวัดภาคใต้รู้จักกันว่าเป็นเหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตที่มัสยิดกรือเซะมากถึง 34 ศพ รวมเจ้าหน้าที่

ซึ่งรายงานของแอมเนสตีอินเทอร์เนชันแนลระบุว่าโดยมากมีอาวุธมีดและมีจำนวนเล็กน้อยที่มีอาวุธปืน ตำรวจ 5 นายเสียชีวิตในเหตุการณ์เหล่านี้ ส่วนผู้ก่อเหตุเสียชีวิตรวมมากกว่า 100 รายระหว่างการปะทะตอบโต้กับเจ้าหน้าที่[18]

หลังเหตุการณ์บุกสถานีตำรวจดังกล่าว ชายมุสลิมซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น 32 คนถูกฆ่าด้วยอาวุธหนักโดยกองกำลังความมั่นคงในมัสยิดกรือเซะ มัสยิดที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค[19][20] มีรายงานว่าคณะกรรมการสืบสวนหาความจริงที่รัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้งพบว่ากองกำลังความมั่นคงได้ใช้กำลังตอบโต้ภัยคุกคามอย่างเกิดสัดส่วน อย่างไรก็ตามรายงานดังกล่าวไม่ได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ และไม่พบว่าได้มีการสืบสวนหาความจริงอย่างเป็นอิสระกับเหตุที่เกิดขึ้นกับสถานีตำรวจอีก 10 สถานีหรือไม่[18]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "บูรณะ "มัสยิดกรือเซะ" เสร็จแล้ว! ส่งมอบพรุ่งนี้". ผู้จัดการออนไลน์. 24 กุมภาพันธ์ 2548. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "บูรณะ" มัสยิดกรือเซะ" เสร็จเรียบร้อย". ประชาไท. 4 กุมภาพันธ์ 2548. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ตามรอย... อารยธรรมอิสลามปัตตานี". ฐานข้อมูลการท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 Najib Bin Ahmad (4 พฤศจิกายน 2558). "ปัตตานีในความทรงจำ". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 ทวีพร คุ้มเมธา (1 มิถุนายน 2559). "รายงานพิเศษ: ภาษามลายู-รัฐไทยนิยม การกลืนชาติทางภาษา แกะปมขัดแย้งชายแดนใต้". สำนักข่าวอิศรา. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "มัสยิดกรือเซะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-29. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  7. "แหล่งโบราณคดีภาคใต้ - มัสยิดกรือเซะ". คลังเอกสารสาธารณะ. 19 พฤษภาคม 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-12. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "มัสยิดกรือเซะ ปมขัดแย้งไฟใต้". วารสารศาสตร์ดิจิทัล มหาวิทยาลัยรังสิต. 26 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  9. งามศุกร์ รัตนเสถียร. "สร้างเรื่องเล่าสมานฉันท์ กรณีตำนานลิ้มกอเหนี่ยว-กรือเซะ". ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-02. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. ""นักวิชาการภูมิประวัติศาสตร์" เสนอหลักฐานใหม่ ชี้ชัดว่า ชั้นดินของกรือเซะ ไม่มีองค์ประกอบทางเคมีที่ระบุว่ามัสยิดถูกไฟไหม้หรือฟ้าผ่า แต่"โครงสร้างที่ไม่แข็งแรง" เป็นสาเหตุที่ส่วนยอดโคมพังทลาย". สถานีวิทยุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 23 มีนาคม 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-15. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ประกาศกฎอัยการศึก ในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา
  12. "สรุปเหตุการณ์สถานการณ์ใต้ วันที่ 28 เมษายน 2547". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-05. สืบค้นเมื่อ 2018-08-24.
  13. "มิคสัญญี107ศพ ตร.-ทหารสังเวย6ศพ แฉใช้ปอเนาะรวมพล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-05. สืบค้นเมื่อ 2018-09-26.
  14. จันจิรา ลิ้นทอง (28 เมษายน 2559). "12 ปี เหตุการณ์ 'กรือเซะ' ย้อนรอยบาดแผลและบทเรียน". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "ทหารคุมเข้มวันครบรอบ 13 ปี "มัสยิดกรือเซะ" ชาวบ้านเผยไม่อยากรื้อฟื้นเหตุการณ์ความรุนแรง". ผู้จัดการออนไลน์. 28 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  16. "กรือเซะ ย้อนรอยเหตุสังหารหมู่ ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-24. สืบค้นเมื่อ 2017-11-11.
  17. เหตุการณ์ ‘กรือเซะ’ ย้อนรอยบาดแผลและบทเรียน
  18. 18.0 18.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  19. The Age Deadly demo puts Thais on tightrope, 30 October 2004
  20. วันนี้ในอดีต: 28 เมษายน 2004: เกิดเหตุปะทะอย่างรุนแรงที่ “กรือเซะ” ผู้ก่อเหตุเสียชีวิตรวม 108 ศพ ศิลปวัฒนธรรม. 28 เมษายน 2560.

ดูเพิ่ม[แก้]