มหาวิทยาลัยธนบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยธนบุรี
ชื่อย่อมธร. / TRU
คติพจน์สร้างทุนทางปัญญา พัฒนาคุณธรรม สร้างสรรค์สังคม
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา27 มีนาคม พ.ศ. 2541 (26 ปี)
ผู้สถาปนาท่านอาจารย์ศุภชัย แย้มชุติ
นายกสภาฯดร.อุดม เฟื่องฟุ้ง
อธิการบดีดร.บัญชา เกิดมณี
ผู้ศึกษา6,306 คน (2565)[1]
ที่ตั้ง
วิทยาเขตวิทยาเขตศรีวัฒนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร

วิทยาเขตภาคเหนือ จังหวัดลำพูน

วิทยาเขตภาคใต้ จังหวัดสงขลา
เพลงถิ่นมหาวิทยาลัยธนบุรี
ต้นไม้พญาสัตบรรณ
สี    
แดง-น้ำเงิน-เขียว-เหลือง
เว็บไซต์www.thonburi-u.ac.th

มหาวิทยาลัยธนบุรี (อักษรย่อ คือ มธร.) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย สังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งอยู่ที่ แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร บนพื้นที่100กว่าไร่ และยังมีศูนย์กีฬาสู่ความเป็นเลิศที่ทันสมัยบนพื้นที่50กว่าไร่ อยู่ในซอยเพชรเกษม110ซอยเดียวกับที่ตั้งของมหาวิทยาลัย การคมนาคมสะดวกสบายด้วยบริการรถรับส่งนักศึกษาและบุคคลกรของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยธนบุรีเปิดสอนในระดับปริญญาตรี,ปริญญาโท และปริญญาเอก คณะบริหารธุรกิจ คณะบัญชี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะบัณฑิตวิทยาลัย โดยบัณฑิตวิทยาลัยเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ MBA , M.Ed. , M.Acc นอกจากนี้ยังเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู และหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธนบุรีได้เปิดศูนย์การศึกษา(วิทยาเขต) 3 ศูนย์ ประกอบไปด้วย 1.ศูนย์ศรีวัฒนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 2.ศูนย์หมู่บ้านครูภาคเหนือ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน 3.ศูนย์สงขลาเทคโนโลยี จังหวัดสงขลา เพื่อทำการเรียนการสอนถ่ายทอดความรู้สู่ภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยธนบุรีได้ลงนามความร่วมมือกับภาคเอกชนไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการหรือสถานศึกษาทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยธนบุรี ยกฐานะขึ้นมาจาก วิทยาลัยเทคโนโลยีธนบุรี ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2541[2] ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อและเปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2550[3] ตั้งอยู่ที่248 ซอยเพชรเกษม 110 ถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน นายอุดม เฟื่องฟุ้ง เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย และ ดร.บัญชา เกิดมณี เป็นอธิการบดี

หลังจากแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 1 ที่เรียกว่า "แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ซึ่งเน้นพัฒนาให้คนมีงานทำและการคมนาคมสะดวก และแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 2 ที่เรียกว่า "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" เริ่มเป็นที่ยอมรับกันว่าการพัฒนาใดๆ จะสำเร็จได้ต้องมีการพัฒนาคนให้มีคุณภาพก่อน และปัจจัยที่ช่วยให้คนมีคุณภาพก็คือการศึกษา สถาบันการศึกษาในระยะนั้นมีบทบาทสำคัญในการผลิตคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยเน้นด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์กรรม

ท่านอาจารย์ศุภชัย แย้มชุติ เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในแวดวงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและได้เล็งเห็นความสำคัญในการผลิตกำลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศในด้านอุตสาหกรรม จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างโรงเรียนช่างกลโรงเรียนราษฎร์ขึ้น เนื่องจากขณะนั้นมีโรงเรียนช่างกลรัฐบาลเพียง 4 โรง ซึ่งผลิตช่างอุตสาหกรรมออกไปพัฒนาประเทศได้ไม่เพียงพอ ท่านอาจารย์ศุภชัยจึงได้ปรึกษาท่านอาจารย์สิทธิผล พลาชีวิน ผู้บริหารโรงเรียนช่างกลของรัฐบาลเพื่อจะเปิดโรงเรียนช่างกลโรงเรียนราษฎร์ขึ้น และในที่สุด โรงเรียนช่างอุตสาหกรรมพณิชยการ "หมู่บ้านครู" จึงก่อกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 โดยเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายอาชีพ ในสาขาช่างกล ช่างก่อสร้าง และพณิชยการ จากนั้นโรงเรียนได้เปิดสาขาช่างสำรวจเพิ่มขึ้นในปีพ.ศ 2513 และสาขาเกษตรกรรมในปี พ.ศ. 2518

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2522 โรงเรียนช่างกลอุตสาหกรรมพณิชยการ "หมู่บ้านครู" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเทคโนโลยีหมู่บ้านครู หรือ (วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู) ในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและในปีพ.ศ 2522 ได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์กลุ่มแรกในไม่กี่โรงเรียนที่ทางการอนุญาตให้เปิดได้ โดยมีการเรียนการสอนในสาขาช่างยนต์ ช่างสำรวจ และช่างไฟฟ้า จนในปีต่อๆมาเปิดแผนกช่างก่อสร้าง เทคนิคอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์

ต่อมาจากความมุ่งมั่นของอาจารย์ศุภชัย แย้มชุติ ที่จะให้นักเรียนช่างกลเรียนจบปริญญาตรีให้ได้จึงได้เตรียมการเปิดหลักสูตรปริญญาตรี แต่ท่านอาจารย์ศุภชัย แย้มชุติ ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน แผนการขยายการศึกษาจึงได้ชะงักไป จวบจนกระทั่งทายาทของท่านได้มาสานต่อเจตนารมย์ และได้เสนอขอจัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 จนในที่สุดก็ได้รับใบอนุญาตในการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในปี พ.ศ. 2541 โดยใช้ชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีธนบุรี และได้รับการเปลี่ยนชื่อและประเภทเป็นมหาวิทยาลัย ในปี พศ. 2550 โดยใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยธนบุรี จวบจนปัจจุบัน

สัญลักษณ์[แก้]

เครื่องหมายของมหาวิทยาลัยธนบุรี ประกอบไปด้วย วงกลม 3 วง สีน้ำเงิน เขียวและเหลือง ซ้อนกันอยู่บนรูปโล่สีแดง 8 เหลี่ยม มีช่อใบมะยม 2 ช่อ และชื่อมหาวิทยาลัยอยู่บนวงกลมสีเขียว ตรงกลางเป็นโล่สีแดงสลับสีน้ำเงิน มธร. อยู่ภายในโล่ ซึ่ง " โล่ " หมายถึง การพัฒนาการศึกษาเพื่อก่อให้เกิดการมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับ "วงกลมสีเขียวใบไม้" หมายถึง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ "วงสีน้ำเงิน" หมายถึง ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ "วงกลมสีเหลือง" หมายถึง คุณธรรม จริยธรรม สีประจำสถาบันได้แก่ สีแดง-น้ำเงิน-เขียว-เหลือง "สีแดง" หมายถึง ความจงรักภักดีต่อชาติและสังคม "น้ำเงิน" หมายถึง ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ "สีเขียว" หมายถึง ความมุ่งหมายที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรมที่ยั่งยืน "สีเหลือง" หมายถึง การมีคุณค่าและรักษาคุณค่าของตนเอง ด้วยคุณธรรม

คณะ หลักสูตรและสาขาที่เปิดสอน[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้]

เปิดสอนด้วยกัน 2 สาขาวิชาได้แก่ งาน

หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้]

  1. สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ (วท.บ. [เทคโนโลยีสารสนเทศ])
  2. สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลมีเดีย (วท.บ. [เทคโนโลยีดิจิทัลมีเดีย])(สาขาใหม่เปิดปี2561)

คณะบัญชี[แก้]

เปิดสอนด้วยกัน 1 สาขาวิชาได้แก่

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต[แก้]

  1. สาขาวิชาการบัญชี (บช.บ. [การบัญชี])

คณะวิศวกรรมศาสตร์[แก้]

เปิดสอนด้วยกัน 4 สาขาวิชา 2 หลักสูตรได้แก่

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต[แก้]

  1. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (วศ.บ. [วิศวกรรมไฟฟ้า])
  2. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (วศ.บ. [วิศวกรรมเครื่องกล])
  3. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (วศ.บ. [วิศวกรรมอุตสาหกรรม])

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต[แก้]

  1. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม (ทล.บ. [เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม])

คณะบริหารธุรกิจ[แก้]

เปิดสอนด้วยกัน 6 สาขาวิชาได้แก่

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต[แก้]

  1. สาขาวิชาการจัดการ
  2. สาขาวิชาการตลาด
  3. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล
  4. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ และธุรกิจพาณิชย์นาวี
  5. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
  6. สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการ

บัณฑิตวิทยาลัย[แก้]

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยธนบุรียังเปิดสอนในระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก (บัณฑิตวิทยาลัย) ทั้งหมด 5 หลักสูตรได้แก่

ปริญญาโทและประกาศนียบัตรวิชาชีพ[แก้]

  1. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) สาขาการจัดการ (MBA)
  2. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.) สาขาบริหารการศึกษา (M.Ed.)
  3. หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี (M.Acc)
  4. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู(ป.บัณฑิต)

ปริญญาเอก[แก้]

  1. สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สถาบันในเครือ[แก้]

  1. วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
  2. วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ภาคเหนือ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
  3. มหาวิทยาลัยธนบุรี แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
  4. มหาวิทยาลัยธนบุรี วิทยาเขตภาคเหนือ (จังหวัดลำพูน)

วิทยาเขต[แก้]

มหาวิทยาลัยธนบุรี มีการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง จำนวน 2 วิทยาเขต เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและรักษามาตรฐานการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพและทันสมัยตามมาตรฐานที่ดีของทางมหาวิทยาลัย [4] ได้แก่

  1. วิทยาเขตภาคเหนือ จังหวัดลำพูน อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
  2. วิทยาเขตศรีวัฒนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]