ภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันตก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันตก
ܐܪܡޑܬ Aramîth, آرامي Ārāmī
ประเทศที่มีการพูดซีเรีย
ภูมิภาคเขตภูเขาในรอยต่อกับเลบานอน : หมู่บ้านMa'loula, Bakh'a and Jubb'adin.
จำนวนผู้พูด15,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-2arc
ISO 639-3amw

ภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันตก เป็นภาษาแอราเมอิกใหม่ที่ใช้พูดในซีเรียตะวันตก เป็นสำเนียงของภาษาแอราเมอิกตะวันตกสำเนียงเดียวที่เหลืออยู่ ส่วนภาษาแอราเมอิกใหม่ที่เหลืออื่น ๆ อยู่ในกลุ่มตะวันออก คาดว่าภาษานี้อาจเป็นส่วนที่เหลืออยู่ของสำเนียงยุคกลางตะวันตกที่เคยใช้พูดในหุบเขาดอโรนเตสในพุทธศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันใช้พูดในหมู่บ้านมาอัลโออูลา (ภาษาอาหรับ: معلولة‎) บาคอา (ภาษาอาหรับ: بخعة‎) และ จุบบาดิน (ภาษาอาหรับ: جبّعدين‎) ที่อยู่ทางเหนือของดามัสกัสไป 60 กม. โดยสำเนียงของหมู่บ้านบาคอามีลักษณะอนุรักษนิยมที่สุด โดยได้รัยบอิทธิพลจากภาษาอาหรับน้อย ส่วนสำเนียงของหมู่บ้านจุบบาดินเปลี่ยนไปมากที่สุด กลุ่มชนเหล่านี้เคยนับถือศาสนาคริสต์ก่อนการเข้ามาของศาสนาอิสลาม ปัจจุบันเหลือเพียงหมู่บ้านมาอัลโออูลาเท่านั้นที่ยังนับถือคริสต์ นอกนั้นเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามหมดแล้ว

อ้างอิง[แก้]

  • Arnold, Werner (1989f) Das Neuwestaramäische. 5 Volumes. Wiesbaden: Harrassowitz.
  • Arnold, Werner (1990). New materials on Western Neo-Aramaic. In Wolfhart Heinrichs (Ed.), Studies in Neo-Aramaic, pp. 131–149. Atlanta, Georgia: Scholars Press. ISBN 1-55540-430-8.
  • Beyer, Klaus (1986). The Aramaic language: its distribution and subdivisions. Göttingen: Vandenhoeck und Ruprecht. ISBN 3-525-53573-2.
  • Tsereteli, Konstantin (1990). The velar spirant ġ in Modern East Aramaic dialects. In Wolfhart Heinrichs (Ed.), Studies in Neo-Aramaic, pp. 131–149. Atlanta, Georgia: Scholars Press. ISBN 1-55540-430-8.