ภาษาวาไร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษวาไร
วาไร-วาไร, ซามาร์-เลย์เต วิซายัส‎
Winaray, Samareño, Lineyte-Samarnon, Binisayâ nga Winaray, Binisayâ nga Samar-Leyte
ประเทศที่มีการพูดประเทศฟิลิปปินส์
ภูมิภาควิซายัส‎ตะวันออก, จังหวัดมัสบาเตบางส่วน, จังหวัดซอร์โซโกนตอนใต้ และกิบูซงของเกาะมินดาเนา
ชาติพันธุ์ชาววาไร
จำนวนผู้พูด3.6 ล้านคน  (2015 census)[1]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่นวาไรมาตรฐาน (สำเนียง Tacloban), Northern Samar dialect, Calbayog dialect, Culaba-Biliran dialect, Abuyog dialect และสำเนียงและสำเนียงย่อย 20 แบบ
ระบบการเขียนอักษรละติน;
อดีต: ไบบายิน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการภาษาประจำภูมิภาคในประเทศฟิลิปปินส์
ผู้วางระเบียบKomisyon sa Wikang Filipino
อดีตบริหารโดย Sanghiran san Binisaya ha Samar ug Leyte
รหัสภาษา
ISO 639-2war
ISO 639-3war
พื้นที่ที่มีผู้พูดภาษาวาไร
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาวาไร (อักษรโรมัน: Waray), ซามาร์-เลเต หรือ ซามาร์ เป็นภาษาที่ใช้พูดในจังหวัดซามาร์, นอร์เทิร์นซามาร์, อีสเทิร์นซามาร์, เลเต และบีลีรันในฟิลิปปินส์ จัดอยู่ในภาษาตระกูลวิซายัน มีความเกี่ยวข้องกับภาษาเซบูและใกล้เคียงกับภาษาฮีลีไกโนน

ไวยากรณ์[แก้]

สรรพนาม[แก้]

  การกสัมบูรณ์ (Absolutive) การกเกี่ยวพัน (Ergative) การกกรรมตรง (Oblique)
บุรุษที่ 1 เอกพจน์ ako, ak nakon, nak, ko akon, ak
บุรุษที่ 2 เอกพจน์ ikaw, ka nimo, nim, mo imo, im
บุรุษที่ 3 เอกพจน์ hiya, siya niya iya
บุรุษที่ 1 พหูพจน์ รวมผู้ฟัง kita, kit naton aton
บุรุษที่ 1 พหูพจน์ ไม่รวมผู้ฟัง kami, kam namon amon
บุรุษที่ 2 พหูพจน์ kamo niyo iyo
บุรุษที่ 3 พหูพจน์ hira, sira nira ira

คำเชื่อม[แก้]

ภาษาวาไรไม่มีคำที่ตรงกับกริยา to be ในภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น ในภาษาตากาล็อก Siya ay maganda = หล่อนสวย คำ ay บอกถึงความเชื่อโดยทั่วไปแต่ไม่ได้ตรงกับ is ในภาษาอังกฤษ และเป็บคำเชื่อมบอกถึงการกลับประโยคในภาษาตากาล็อกด้วย แต่ภาษาวาไรไม่มีคำเชื่อมลักษณะนี้ คำว่า หล่อนสวยจะใช้ว่า Mahusay hiya หรือ Mahusay iton hiya โดย iton เป็นคำนำหน้านาม หรือประโยค นี่คือหมา ใช้ว่า Ayam ini คำว่าหมา (ayam) จะวางอยู่หน้าคำว่านี่ (ini) โดยไม่มีคำเชื่อม ภาษาวาไรจึงต่างจากภาษาตากาล็อกที่ไม่สามารถกลับให้ประธานขึ้นต้นประโยคได้

อย่างไรก็ตาม ภาษาวาไรยังมีโครงสร้างบอกถึง การเป็น จะเป็น และกลายเป็น เช่น

  • Makuri magin estudyante = ยากที่จะเป็นนักเรียน
  • Ako an magigin presidente = ฉันจะเป็นประธานาธิบดี
  • Ako an nagin presidente = ฉันกลายเป็นประธานาธิบดี

สัทวิทยา[แก้]

ภาษาวาไรมีพยัญชนะ 16 ตัว: p, t, k, b, d, g, m, n, ng, s, h, w, l, r และ y. มีสระหลัก 3 ตัว: [a], [ɛ]/[i], และ [o]/[ʊ]. [i]/[ɛ] และ [ʊ]/[o] เสียงคล้ายกันแต่ [o] เป็นเสียงของ[ʊ] ในพยางค์ท้าย. แม้ว่าจะมีเสียงแยกกันสำหรับพยัญชนะแต่ละตัว ตัว [d] และ [ɾ] มีเสียงคล้ายกันแต่ใช้แทนกันไม่ได้เช่น palaron (โชคดี) [จาก palad, ปาล์ม] แต่ไม่ใช่ paladon และ tagadiín (จากที่ซึ่ง) [จาก diín, ที่] แต่ไม่ใช่ tagariín.

ระบบการเขียน[แก้]

ระบบการเขียนที่กำหนดโดยองค์กรวิชาการภาษาวิซายันแห่งซามาร์และเลเต ยังไม่แพร่หลาย คำเดียวกันจึงสะกดต่างกันบ้าง แต่จะต่างเฉพาะสระเท่านั้น เช่น

  • diri = dire = ไม่
  • guinhatag = ginhatag = ให้แล้ว
  • hira = hera = พวกเขา
  • maopay = maupay = ดี

อ้างอิง[แก้]

  1. ภาษวาไร ที่ Ethnologue (19th ed., 2016)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]