ภาษาซูเมอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาซูเมอร์
𒅴𒂠
Emegir
ภาษาซูเมอร์เขียนด้วยอักษรซูเมอร์
ประเทศที่มีการพูดซูเมอร์ และ แอกแคด
ภูมิภาคเมโสโปเตเมีย (อิรัก ในปัจจุบัน)
ยุครับรองเมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นภาษาตายตั้งแต่ประมาณ 2000–1800 ปีก่อนคริสตกาล ใช้เป็นภาษาคลาสสิกจนถึงประมาณ 100 ปีก่อนคริสตกาล
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรรูปลิ่มซูเมอร์-แอกแคด
รหัสภาษา
ISO 639-2sux
ISO 639-3sux
ภาษาซูเมอร์เป็นภาษาที่สูญพันธุ์ตามระบบการจัดหมวดหมู่ของยูเนสโก หนังสือแผนที่โลกภาษาที่อยู่ในอันตราย
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาซูเมอร์ (อังกฤษ: Sumerian language; ซูเมอร์: 𒅴𒂠) เป็นภาษาของซูเมอร์โบราณ ถือเป็นหนึ่งในภาษาที่เก่าแก่ที่สุด โดยสืบที่มานานสุดอย่างน้อย 3500 ปีก่อนคริสตกาล[1] เชื่อกันว่าภาษานี้เป็นภาษาโดดเดี่ยว และมีผู้พูดในเมโสโปเตเมียโบราณ (มีอีกชื่อว่าพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศอิรัก

ภาษาแอกแคดค่อย ๆ เข้ามาแทนที่ภาษาซูเมอร์ในฐานะภาษาพูดในพื้นที่นี้ประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล (ปีที่แท้จริงยังเป็นที่พิพาท)[2] แต่ในบรรดารัฐเมโสโปเตเมียที่พูดภาษาแอกแคดอย่างอัสซีเรียและบาบิโลเนีย ภาษาซูเมอร์ยังคงใช้เป็นภาษาทางศาสนา วรรณคดี และวิทยาศาสตร์จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษ 1[3][4] ภายหลังจึงตกอยู่ในสถานะคลุมเครือจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อนักโบราณคดีเริ่มถอดรหัสจารึกอักษรรูปลิ่มและขุดค้นแผ่นดินเหนียวที่ผู้พูดภาษานี้ได้ทิ้งไว้

ช่วงเวลา[แก้]

ประวัติการเขียนของภาษาสุเมเรียแบ่งได้เป็นหลายช่วงคือ ภาษาสุเมเรียโบราณ ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 31 – 26 ก่อน ค.ศ. ภาษาสุเมเรียคลาสสิก ศตวรรษที่ 26 – 23 ก่อน ค.ศ. ภาษาสุเมเรียใหม่ ศตวรรษที่ 23 – 21 ก่อน ค.ศ. ภาษาสุเมเรียตอนปลาย ศตวรรษที่ 20 – 18 ก่อน ค.ศ. และยุคหลังสุเมเรีย หลัง 1,700 ปีก่อน ค.ศ.

ภาษาสุเมเรียโบราณเป็นจารึกรุ่นแรกสุด พบในสมัยเยมเดต นาสร์ หรืออูรักที่ 3 ในช่วงศตวรรษที่ 31 – 30 ก่อน ค.ศ. ในขณะที่เอกสารบางแหล่งกำหนดให้ช่วงหลัง 2,000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นช่วงหลังสุเมเรีย คำว่าหลังสุเมเรียเป็นการอ้างถึงช่วงเวลาที่ภาษานี้กลายเป็นภาษาตายและถูกนำมาใช้โดยชาวบาบิโลเนียและชาวอัสซีเรียในฐานะภาษาเขียน และภาษาคลาสสิกสำหรับใช้ในทางศาสนา ศิลปะและวิชาการ การกลายเป็นภาษาตายคาดว่าเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ที่ 3 แห่งอูร์ ซึ่งเป็นรัฐของชาวสุเมเรียแห่งสุดท้ายในเมโสโปเตเมียเมื่อราว 2,000 ปีก่อน ค.ศ. แต่ตัวเลขนี้ก็เป็นเพียงตัวเลขประมาณ เพราะนักวิชาการบางคนเสนอว่าภาษาสุเมเรียเป็นภาษาตายเมื่อ 2,100 ปีก่อน ค.ศ. เมื่อเริ่มต้นสมัยอูร์ที่ 3 แต่บางคนก็เชื่อว่าภาษาสุเมเรียยังคงเป็นภาษาพูดในพื้นที่ส่วนเล็ก ๆ ของเมโสโปเตเมียใต้ คือนิปปูร์และบริเวณใกล้เคียง จนถึง 1,700 ปีก่อน ค.ศ. สถานการณ์เป็นภาษาพูดของภาษาสุเมเรียระหว่าง 2,000 – 1,700 ปีก่อน ค.ศ. เป็นช่วงที่มีเอกสารและรากศัพท์สองภาษาระหว่างภาษาสุเมเรียและภาษาอัคเคเดียอยู่มาก โดยเฉพาะจากนิปปูร์ ควบคู่ไปกับการใช้ภาษาอัคเคเดียนเป็นภาษาราชการในช่วงเวลาเดียวกัน

สำเนียง[แก้]

มีภาษาสุเมเรีย 2 สำเนียงที่มีการบันทึกไว้ สำเนียงมาตรฐานเรียก eme-ĝir (ĝ ออกเสียง [ŋ]) อีกสำเนียงเรียก eme-sal หรือที่เรียกว่าสำเนียงผู้หญิง ซึ่งใช้บรรยายลักษณะที่เกี่ยวกับเพศหญิงในเอกสารบางชิ้น ซึ่งอาจจะใกล้เคียงกับการแบ่งภาษาผู้หญิงในบางวัฒนธรรมเช่นการที่ผู้หญิงใช้ภาษาปรากฤต และผู้ชายใช้ภาษาสันสกฤตในยุคคลาสสิกของอินเดีย

การจัดจำแนก[แก้]

มีการศึกษาเกี่ยวกับการจัดจำแนกภาษาสุเมเรียหลายแบบทั้งที่เป็นภาษารูปคำติดต่อหรือไม่เป็น ในฐานะที่เป็นภาษาเขียนภาษาแรกของโลก ทำให้บางข้อเสนอมีลักษณะชาตินิยมแฝงอยู่ ตัวอย่างของกลุ่มภาษาที่มีข้อเสนอให้จัดภาษาสุเมเรียรวมอยู่ด้วย ได้แก่ ตระกูลภาษายูราลิก กลุ่มภาษาเตอร์กิก กลุ่มภาษาฮูร์โร-ยูราเทีย กลุ่มภาษามุนดา ตระกูลภาษาดราวิเดียน กลุ่มภาษานอสตราดิก กลุ่มภาษาโดเน-คอเคเซียน

ระบบการเขียน[แก้]

ภาษาสุเมเรียจัดเป็นภาษาแรกของโลกที่เป็นภาษาเขียน ช่วงก่อนที่จะเป็นภาษาเขียนคาดว่าอยู่ในช่วง 3,500 – 3,000 ปีก่อน ค.ศ. ช่วงนี้บันทึกแบบตัวหนังสือคำโดยไม่มีเนื้อหาทางภาษาศาสตร์หรือสัทวิทยาอยู่ เอกสารเก่าที่สุดในยุคนี้คือคิชแทบเล็ต ซึ่งมีการใช้เครื่องหมายในยุคนี้ 939 แบบ

บันทึกที่มีเนื้อหาทางภาษาชัดเจนพบในสมัยเยมเดท นัสร์ ในช่วงศตวรรษที่ 31 – 30 ก่อน ค.ศ. ในประมาณ 2,600 ปีก่อน ค.ศ. สัญลักษณ์ตัวหนังสือคำถูกปรับให้มีรูปแบบคล้ายรูปลิ่ม เพื่อให้เหมาะต่อการกดลงในดินเหนียวที่เปียก โดยมีเครื่องหมาย 468 แบบที่ใช้ในยุคนี้ อักษรแบบรูปลิ่มนี้ได้ถูกปรับไปใช้เขียนภาษาแอกแคด ในสมัยต่อมา ในช่วงสมัยอูร์ที่ 3 ประมาณศตวรรษที่ 21 ก่อน ค.ศ. ภาษาสเมเรียนเขียนด้วยอักษรรูปลิ่มที่แสดงแนวคิดเป็นส่วนใหญ่ จึงถูกนำไปใช้ต่อในอักษรรูปลิ่มสำหรับภาษาอัสซีเรียโบราณ

ไวยากรณ์[แก้]

นาม[แก้]

คำนามภาษาซูเมอร์มีรากศัพท์ 1-2 พยางค์ สำหรับโครงสร้างง่าย ๆ เช่น igi = ตา, e = วิหาร, หรือ nin = ผู้หญิง คำประสมเช่น lugal (จาก lu "ผู้ชาย" และ gal "ยิ่งใหญ่") คำนามอาจประกอบด้วยเครื่องหมายการกและแสดงหน้าที่ในประโยค เพิ่มคำแสดงความเป็นเจ้าของบุรุษที่ 3 –ani เป็น lugal.ani = พระราชาของเขา/ของหล่อน คำนามสามารถแสดงความเป็นเจ้าของโดยไม่ต้องใช้เครื่องหมาย เช่น Ur. Namma = ผู้ชายแห่งนัมมา เครื่องหมายการกแสดงความเป็นเจ้าของ .k ไม่ออกเสียงในกรณีนี้

กริยา[แก้]

คำกริยาภาษาซูเมอร์โดยทั่วไปมี 1-2 พยางค์ มีการเชื่อมต่อ สกรรมกิริยาและอกรรมกิริยา มีจุดมุ่งหมายสองแบบ การลงท้ายคำกริยามีสามแบบคือ บุรุษที่ 1 เอกพจน์ –en บุรุษที่ 1 พหูพจน์ -en-dè-en และ บุรุษที่ 2 พหูพจน์ -en-zè-en อย่างไรก็ตาม ระบบคำกริยาของภาษาซูเมอร์ซับซ้อนกว่าภาษาสมัยใหม่เช่นภาษาอังกฤษ และถือว่าเป็นกรณีแตกต่างจากภาษาอื่นในด้านที่ว่าเป็นภาษาที่พัฒนาระบบการเขียนขึ้นเองโดยไม่ได้รับอิทธิพลจากระบบการเขียนอื่น

อ้างอิง[แก้]

  1. "What Are the Oldest Languages in the World Still Widely Spoken Today?". Mondly Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-05-13. สืบค้นเมื่อ 2022-07-09.
  2. Woods C. 2006 "Bilingualism, Scribal Learning, and the Death of Sumerian". In S. L. Sanders (ed) Margins of Writing, Origins of Culture: 91–120 Chicago (Archive).
  3. Joan Oates (1979). Babylon [Revised Edition] Thames and Hudston, Ltd. 1986 p. 30, 52–53.
  4. The A.K. Grayson, Penguin Encyclopedia of Ancient Civilizations, ed. Arthur Cotterell, Penguin Books Ltd. 1980. p. 92