ภาพทดสอบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลวดลายโดยพื้นฐานของภาพทดสอบ
ภาพทดสอบโทรทัศน์ยุคแรก

ภาพทดสอบ (อังกฤษ: Test card) หรือรู้จักกันในชื่อ แถบสี หรือ แท่งสี (อังกฤษ: test pattern) คือหน้าจอสำหรับการทดสอบของโทรทัศน์ ออกอากาศช่วงปิดสถานี ประเทศแรกที่นิยมใช้คือสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ บางครั้งการส่งสัญญาณผ่านรถถ่ายทอดสัญญาณแต่ยังไม่มีรายการใด ในขณะที่ยังแพร่ภาพอยู่ (บ่อยครั้งมักจะเปิดสถานีและปิดสถานี) ซึ่งใช้มาตั้งแต่การแพร่ภาพโทรทัศน์เป็นครั้งแรก ภาพทดสอบแรกคือภาพทดสอบรูปร่างกาย สิ่งนี้จะใช้กล้องถ่ายโทรทัศน์จับภาพได้อย่างชัดเจน และมักจะใช้เป็นเครื่องวัดขนาดภาพนิ่ง การจัดตำแหน่ง และความเข้ากันของวัตถุ จะใช้กล้องถ่ายวิดีโอ หรือกล้องแบบพกพาก็ได้ ส่วนภาพแถบสีใช้สำหรับวัดขนาดและตำแหน่งของวัตถุ หรือการแก้ไขทิศทางของสัญญาณ สิ่งเหล่านี้คือผู้ที่คิดค้นภาพทดสอบ สิ่งนี้อาจมีจุดขาดตกบกพร่องในเรื่องของโครงสร้าง ช่างกล้อง จากนั้นจึงได้คิดค้นภาพทดสอบแบบดิจิตอลซึ่งอนุญาตให้จำหน่ายภาพทดสอบนี้ ท่านผู้ชมและสถานีโทรทัศน์ได้ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อให้เหมาะสมต่อหน้าที่

เสียง[แก้]

ในการออกอากาศภาพทดสอบนั้นมักจะมีเสียง โดยส่วนมากจะเสียงบี๊พ หรือ โทนบ๊อกซ์ (Tone Box) (ส่วนใหญ่จะเป็น 400 เฮิรตซ์ หรือมากกว่า (เว้นจากมาหมดช่วงคาบ)) แต่มีบางสถานีจะใช้การเปิดเพลง หรือใช้เสียงจากวิทยุ ในกรณีที่ไม่ใช้ อาจจะเป็นเสียงคลื่นกระจายหรือเงียบไปเลยก็ได้

ในสถานีโทรทัศน์บางช่อง ออกอากาศเพลงประจำสถานีวนไปวนมา เช่น ช่อง ALTV (เคยใช้เสียงนี้ในช่องทีวีไทย)

ภาพ[แก้]

  • เอสเอ็มพีทีอี คัลเลอร์บาร์ (SMPTE color bars) เป็นแบบทดสอบแบบพื้นฐาน นิยมใช้กันมากในประเทศจีน ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
    • MRTV ประเทศพม่า
    • ABS-CBN
    • IBC13
    • NHK
    • ช่อง 3 เอสดี (2557-2562) (ปัจจุบันได้ยุติการออกอากาศแล้ว)
    • ช่อง 3 แฟมิลี่ (2557-2562) (ปัจจุบันได้ยุติออกอากาศแล้ว)
  • อินเดียน เฮด (Indian Head) ซึ่งเป็นภาพทดสอบในยุคทีวีขาว-ดำ
  • อีบียู คัลเลอร์บาร์ (EBU Colorbars) ภาพทดสอบแบบมาตรฐาน ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป ยกเว้น มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม
  • คัลเลอร์เรดบาร์ (Colour Red Bar) เป็นภาพทดสอบนี้จะมีแถบสีแดงอยู่ส่วนล่างเพียงสีเดียว นอกนั้น จะมีแถบสีทั้งหมด ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของแถบสีแดง ใช้ใน
    • ช่อง 3 (2538-2547) (บางครั้งไม่มีสีแดงข้างล่าง ใช้ในบางโอกาสและ 2535 - 2538)
    • ช่อง 9 (2520-2538)
    • กัมพูชา (ททขภม. หรือ TV5)
  • คัลเลอร์กรีนบาร์ (Colour Green Bar) จะเหมือนกับ Colour Red Bar แต่จะเป็นสีเขียว ใช้ในช่อง MTVฮังการี (2545 - 2552)
  • พีเอ็ม 5544 (PM 5544) ใช้ในเกือบทุกประเทศในโลก ใช้ใน
  • มัลติเบอร์สท์ (Multiburst) ใช้ในช่อง 7 (2525 - 2533)[ต้องการอ้างอิง]
  • โลโก้ของสถานี ใช้ใน
  • ภาพทดสอบข้อมูล (Infocard) ใช้ในเกือบทั่วโลกโดยเฉพาะทวีปยุโรป ที่พบในไทย จะมีดังต่อไปนี้
    • DLTV โรงเรียนวังไกลกังวล (ใช้มาตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบัน ใช้ในช่วงสิ้นสุดตารางเรียน)
    • โทรทัศน์รัฐสภา (ภาพทดสอบนี้ ใช้ชื่อว่า "ความรู้คู่สภา" เป็นภาพทดสอบที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ ของไทย มีเสียงเพลงประกอบ ปัจจุบัน ใช้ในช่วงปิดสถานี)
  • Colour Screen ภาพทดสอบแบบสีเดียว
    • จอสีฟ้า (Blue Screen) ใช้ใน ช่อง 7 (ภาพทดสอบแรกของช่อง 7 ใช้จนถึงปี 2538)
    • จอสีดำ (Black Screen) ใช้ใน ETV กระทรวงศึกษาธิการ เริ่มใช้ พ.ศ. 2538 จนถึง พ.ศ. 2549, สทล.3 (ลาว) เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 จนถึงปัจจุบัน
    • จอสีแดง (Red Screen) ใช้ในสหรัฐอเมริกา
    • จอสีเขียว (Green Screen) ใช้ใน อัปสราทีวีช่อง11 (กัมพูชา) และ ทวีปยุโรป
    • จอสีเทา (Gray Screen) ใช้ใน ช่อง SBS, ช่อง MBC, ช่อง EBS (เกาหลีใต้), ช่อง พีเพิล แชนแนล
    • จอสีขาว (White Screen) ใช้ในช่อง KBS1 (เกาหลีใต้)
  • เทเลฟังเคน เอฟยูบีเค (ภาพทดสอบรูปสี่เหลี่ยม) เคยใช้ในประเทศไทย:ช่อง 5 (ประมาณปี พ.ศ. 2530 - 2539) และช่อง 7 (2510-2538 เฉพาะการแบ่งปันข่าวอาเซียน) ZDFเยอรมัน (ตลอดกาล) HRT1 และHRT2 โครเอเชีย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2516 แต่มีการดัดแปลงตัวอักษร) (ปัจจุบันนี้ จึงไม่มีการทดสอบสัญญาณ) บางประเทศจึงมีการทดสอบสัญญาณ
  • ในสหราชอาณาจักร สถานีโทรทัศน์BBC ภาพทดสอบออกอากาศเป็นรูปเด็กผู้หญิง (ชื่อ Carole Hersee เป็นลูกของวิศวกรของ BBC) กำลังเล่น OX กับตุ๊กตา ซึ่งเป็นภาพทดสอบแบบ F หรือ Testcard F ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2510 จนถึงปัจจุบัน แต่มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วน[1]

การดัดแปลงภาพทดสอบ[แก้]

  • ภาพทดสอบ F บางช่องใช้รูปอื่น
  • สถานีโทรทัศน์ช่องทีวีไทย ได้ดัดแปลงภาพทดสอบ พีเอ็ม 5544 ด้วยการเปลี่ยนจากเส้นบาร์โค้ด (ข้างล่างขีดกลาง) ไปเป็นแถบทดสอบขาวดำ
  • ในสถานีโทรทัศน์บางช่อง ภาพทดสอบจะมีเส้นบาร์โค้ดด้านล่างขีดกลางมากกว่าภาพทดสอบพีเอ็ม 5544 ทั่วไป ซึ่งภาพทดสอบรูปแบบนี้เรียกว่า ภาพทดสอบ G
  • ในสถานีโทรทัศน์บางช่อง ภาพทดสอบเทเลฟังเคน เอฟยูบีเค จะไม่มีวงกลมล้อมรอบสี่เหลี่ยม
  • สถานีโทรทัศน์อาร์ทีแอล และ สถานีโทรทัศน์เอสวีที ใช้พีเอ็ม 5544 จึงมีการดัดแปลงภาพทดสอบขาวดำมี 12 แถบ
  • ภาพทดสอบ พีเอ็ม 5544 บางช่อง จะไม่มีรูปวงเล็บก้ามปู ([ ]) อยู่ด้านข้างจอทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเคยใช้ในโปแลนด์ ก่อน พ.ศ. 2537
  • ภาพทดสอบ พีเอ็ม 5544 บางช่อง พื้นหลังเป็นสีดำ เคยใช้ในประเทศโปแลนด์ ก่อน พ.ศ. 2537 ปัจจุบันใช้ในสโลวะเกีย
  • ภาพทดสอบ พีเอ็ม 5544 บางช่อง จะแสดงนาฬิกาบนหน้าจออย่างเดียว ใช้ในหลายประเทศ เช่น สวีเดน เดนมาร์ก กรีซ แอลเบเนีย แอลจีเรีย ซาอุดิอาราเบีย แคนาดา เคยใช้ในยูโกสลาเวียเดิม ก่อนที่จะแยกมาเป็น 5 ประเทศ แต่ในยูโกสลาเวียแสดงเวลาอยู่ในช่องชื่อบน (เหมือนกับ สทท.) ทีวีบี ฮ่องกง จะแสดงเวลาอยู่ในช่องชื่อล่าง และในซาอุดิอาราเบียอยู่ตรงกลางทั้งหมด
  • ภาพทดสอบ พีเอ็ม 5544 บางช่อง จะแสดงเส้นบาร์โค้ดด้านล่างที่มีขนาดเหมือนกัน
  • สถานีโทรทัศน์ IRIB อิหร่าน ใช้ภาพทดสอบ เอฟยูบีเค จะมี แถบทดสอบ ทั้ง 2 ส่วนคือ ส่วนบน และส่วนล่าง
  • ช่อง 5 ปี 2530 - 2539 ใช้ภาพทดสอบ เอฟยูบีเค จะแสดงแถบชื่อช่อง (กล่องกลาง) เป็นภาษาไทยกำกับไว้ว่า "ททบ. CH-5 กทม."
  • สถานีโทรทัศน์ MBC สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จะมีความคล้ายคลึงกับ พีเอ็ม 5544 จะไม่เป็นรูปวงกลมแต่จะแสดงโลโก้ของช่อง และแถบทดสอบ
  • ภาพทดสอบเวียดนาม (พีเอ็ม 5545) จะเหมือน พีเอ็ม 5544 แต่จะมีเส้นบาร์โค้ดมากกว่า
  • ภาพทดสอบพีเอ็ม 5544 เหมือนกับทวีปยุโรป สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้ดัดแปลงภาพทดสอบมาจากโปแลนด์ จะแสดงแถบชื่อช่อง (กล่องกลาง) เป็นภาษาไทยกำกับไว้ว่า "BBTV (ด้านบน) CH7 (ด้านล่าง)"

ลักษณะพิเศษ[แก้]

ลักษณะพิเศษของภาพทดสอบจะมีหลายอย่างดังต่อไปนี้

  • แถบชื่อช่องรายการที่อยู่ตรงกลางจะกะพริบตลอดเวลา
  • ช่อง 9 ใช้พีเอ็ม 5544 จะมีแถบสีดำทั้งกล่องบนและกล่องล่างแสดงแบบสไลด์ชื่อจังหวัดและช่องรับสัญญาณในการรับชมไปพร้อมกัน เช่น "อ.ส.ม.ท. (กล่องบนสไลด์ขึ้น)" - "อุบลราชธานี ช่อง 2 (กล่องล่างสไลด์ลง)" กะพริบระหว่างกรอบข้อความบน และกรอบแสดงชื่อของจังหวัดที่รับสัญญาณต่อไปเรื่อย ๆ พร้อมกัน จนถึงเปิดสถานี
  • ช่อง 7 ใช้พีเอ็ม 5544 จะแสดงข้อความบนหน้าจอก็ต่อเมื่อทางสถานีจะมีการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬา
  • ภาพทดสอบจากประเทศโปแลนด์ใช้ Colour Bar รูปวงกลมจะแสดง-กะพริบ และจะมีเสียงบิ๊บ (ไล่เสียง) ตลอดเวลา ส่วนใหญ่จะใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณสด ในบางครั้งจะแสดงแถบข้อความสีดำรวมอยู่ด้วย
  • ช่อง 5 (คูเวต) ใช้พีเอ็ม 5544 จะขึ้นอยู่ด้านหน้าแถบสีที่มีคำว่า "CH 5" จะแสดง-กะพริบ จนกว่าเปิดสถานี (ปัจจุบันนี้ ออกอากาศ 24 ชม. ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมประเทศคูเวต)
  • ช่อง RUV (ไอซ์แลนด์) ใช้พีเอ็ม 5544 จะมีเส้นสีขาวส่ายอยู่แถบชื่อช่องส่วนล่างตลอดเวลา
  • สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นจากประเทศญี่ปุ่น ใช้SMPTE บางสถานีจะแสดงนาฬิกาแบบเข็มขึ้นอยู่บนหน้าจอ และตัวเลขอยู่มุมซ้ายบนของหน้าจอ ปัจจุบันนี้แสดงภาพทดสอบอย่างเดียว
  • สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นจากประเทศญี่ปุ่น ใช้SMPTE ภาพทดสอบจะเลื่อนไปทางซ้ายเช่นเดียวกับ สัญญาภาพทดสอบจากทวีปยุโรป
  • ช่อง TVE สเปนใช้ภาพทดสอบ Colour Red Bar (แถบแดง) แสดงอัตลักษณ์ช่องจะเปลี่ยนสีของแถบทดสอบ เช่น สีขาว เหลือง ฟ้า เขียว ชมพู แดง น้ำเงิน ตามลำดับ
  • ช่อง อัล-จาซิร่า ชิดเดิ้ล แชนนแนล จะแสดงภาพทดสอบลายการ์ตูน บ่งบอกถึงฤดูกาลต่างๆ
  • สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศในระบบ MPEG-4 ความละเอียดสูง (HD) ภาพทดสอบแบบแถบสี (EBU Testcard) จะเลื่อนหน้าจอไปทางด้านซ้ายที่จออยู่ตลอดเวลา
  • ทีวี 24 ใช้ EBU Colorbar จะมีการแสดงเวลาเป็น ชั่วโมง,นาที,วินาที.ภาพ ที่บริเวณด้านล่างชื่อช่อง

การออกอากาศนอกจากภาพทดสอบ[แก้]

  • บางสถานีใช้การออกอากาศโฆษณาแทนการออกอากาศภาพทดสอบ ซึ่งใช้ใน ช่อง 5, ช่อง 7 และ ช่อง 9[ต้องการอ้างอิง]
  • บางสถานีใช้การออกอากาศรายการแนะนำสินค้าแทนการปิดสถานี ซึ่งใช้ใน วอยซ์ทีวี (2561-2562) NEW 18 (2561[ไม่แน่ใจ ]-2564) ออกอากาศรายการแนะนำสินค้าของ ทีวีไดเร็ค ตั้งแต่เวลา 00:00-06:00 น.
  • การถ่ายทอดจากช่องอื่น ไม่เคยใช้ในประเทศไทย (ใช้ในประเทศตุรกี ช่อง TRT Cocuk (จากช่อง TRT 4) และใช้ในรัฐโรดไอแลนด์ (WPRI ช่อง 12) และใช้ในอังกฤษ ช่อง BBC 1 (จากช่อง BBC News 24))
  • ปิดเครื่องส่ง ใช้ในทุกช่องที่มีการปิดสถานี แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเฉพาะโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนาล็อก (ยกเว้นโทรทัศน์ระบบดาวเทียม) [ต้องการอ้างอิง] แต่ในสมัยก่อน สถานีจะยุติการออกอากาศอย่างสมบูรณ์ในช่วงปิดสถานี โดยในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีภาพว่าง (ภาพซ่า) หากรับชมผ่านโทรทัศน์ระบบดาวเทียมก็จะเป็นหน้าจอดำ[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Testcard F". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-15. สืบค้นเมื่อ 2009-03-07.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]