ฟิลิป โชวอลเตอร์ เฮนช์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟิลิป โชวอลเตอร์ เฮนช์
เกิด28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1896(1896-02-28)
พิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต30 มีนาคม ค.ศ. 1965(1965-03-30) (69 ปี)
โอโชริออส จาเมกา
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่าวิทยาลัยลาฟาแย็ต
มหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก
มีชื่อเสียงจากค้นพบคอร์ติโซน
รางวัลรางวัลแลสเกอร์-ดีเบกคี (ค.ศ. 1949)
รางวัลมูลนิธิพาสซาโน (ค.ศ. 1950)
รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (ค.ศ. 1950)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาการแพทย์
สถาบันที่ทำงานคลินิกเมโย

ฟิลิป โชวอลเตอร์ เฮนช์ (อังกฤษ: Philip Showalter Hench; 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 189630 มีนาคม ค.ศ. 1965) เป็นแพทย์ชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองพิตต์สเบิร์ก เป็นบุตรของจาคอบ บิกเลอร์ เฮนช์และคลารา โชวอลเตอร์[1] เรียนจบปริญญาตรีจากวิทยาลัยลาฟาแย็ต ก่อนจะทำงานเป็นแพทย์สนามและได้รับปริญญาเอกสาขาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก เฮนช์ทำงานที่โรงพยาบาลเซนต์ฟรานซิสและเป็นสมาชิกของคลินิกเมโย[2] ระหว่างปี ค.ศ. 1928–1929 เฮนช์ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยไฟรบวร์คและคลินิกฟรีดริช ฟอน มึลเลอร์ในมิวนิก[3]

เฮนช์ทำงานที่คลินิกเมโยในปี ค.ศ. 1923 ในภาควิชาโรครูมาตอยด์และเป็นหัวหน้าภาควิชาในอีก 3 ปีต่อมา เฮนช์ตั้งสมมติฐานว่าสเตอรอยด์อาจช่วยบรรเทาอาการปวดข้อได้ เจึงร่วมมือกับนักชีวเคมี เอ็ดเวิร์ด แคลวิน เคนดัลล์ ทดลองใช้สเตอรอยด์ที่สกัดจากต่อมหมวกไตรักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ ต่อมาสารชนิดนี้เรียกว่าคอร์ติโซน[4] ในปี ค.ศ. 1950 เฮนช์ เคนดัลล์และทาเดอุช ไรค์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ จากผลงานการค้นพบฮอร์โมนของต่อมหมวกไต รวมถึงระบุโครงสร้างและผลทางชีววิทยา[5]

เฮนช์แต่งงานกับแมรี เจเนวีฟ คาห์เลอร์ในปี ค.ศ. 1927 มีบุตรด้วยกัน 3 คน[6] เฮนช์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1965 ด้วยโรคปอดบวม ขณะพักผ่อนอยู่ที่เมืองโอโชริออส ประเทศจาเมกา

อ้างอิง[แก้]

  1. Philip Showalter Hench, 1896–1965 - Rheumatology
  2. Philip S. Hench - Biographical - Nobelprize.org
  3. Philip Showalter Hench - Whonamedit
  4. "Philip Showalter Hench - Journal of the Association of Physicians of India" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-08. สืบค้นเมื่อ 2016-02-22.
  5. The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1950
  6. Philip S. Hench - NNDB