พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

พิกัด: 13°43′42″N 100°31′5″E / 13.72833°N 100.51806°E / 13.72833; 100.51806
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก
ป้ายทางเข้าพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพิพิธภัณฑ์ และ บ้าน
สถาปัตยกรรมตะวันตกผสมแบบไทย
เมืองเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย ประเทศไทย
ผู้สร้างนพ.ฟรานซิส คริสเตียน
สอาง สุรวดี (ตันบุญเล็ก)[1]
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
ไม้

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก หรือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งใน 27 พิพิธภัณฑ์กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ก่อตั้งโดยเอกชน โดยเจ้าของบ้านมีวัตถุประสงค์ที่จะมอบบ้านของตนให้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษา และต่อมาได้โอนกรรมสิทธิ์ให้กรุงเทพมหานครดูแล เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ทำเลที่ตั้งเป็นย่านพักอาศัยของชุมชนชาวบางรัก ซึ่งในอดีตเป็นย่านตากอากาศ ชุมชนนานาชาติ และทำเลธุรกิจที่สำคัญมาตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา เนื้อหาในการจัดแสดงจึงแสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของชีวิตชาวบางกอก (กรุงเทพฯ ในยุคก่อน) และความเป็นมาของเขตบางรักที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมหลายชนชาติ ทั้งไทย จีน ฝรั่ง และแขก มีวิวัฒนาการและอิทธิพลจากตะวันตกต่อการปฏิรูปประเทศ สถานที่ต่างๆซึ่งเกี่ยวกับภูมิหลังของชุมชน เช่น ศุลกสถาน อาสนวิหารอัสสัมชัญ โบสถ์สืบสัมพันธวงศ์ โรงพยาบาลเลิดสิน วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร วัดพระศรีมหาอุมาเทวี โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย แฟลตแห่งแรกของไทยและสโมสรแห่งแรกของไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นย่านที่พำนักของบุคคลสำคัญ เช่น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ และ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก มีลักษณะเป็นบ้านพักอาศัยที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ ของชาวบางกอกที่มีฐานะปานกลางในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2480-2500) เจ้าของบ้านเดิมคือ รองศาตราจารย์วราพร สุรวดี ที่ได้รับบ้านและทรัพย์สินตกทอดมาจากมารดา คือ คุณสอาง สุรวดี (ตันบุณเต็ก) รองศาสตราจารย์วราพร สุรวดี เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2478 มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน คือ

  • นางสาวสมถวิล สุรวดี พี่สาวคนโต
  • นางอมรา มาลากร (สกุลเดิม สุรวดี) พี่สาวคนที่สอง (เสียชีวิต)
  • นางสาววนิดา สุรวดี พี่สาวคนที่สาม (รองประธานมูลนิธิอินสาท-สอาง)
  • นางสาววราพร สุรวดี น้องคนที่ 4 ของครอบครัว
  • นางเรณู สุดสัตย์ (สกุลเดิม สุรวดี) น้องสุดท้อง

รองศาตราจารย์วราพร สุรวดี เสียชีวิตในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560[2] เวลา 13.45 น. ณ โรงพยาบาลประสาท สาเหตุจากการพลัดตกจากที่สูง และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันอังคารที่ 31 มกราคม 2560 ณ เมรุวัดหัวลำโพง นอกจากนี้รองศาสตราจารย์วราพร สุรวดี ยังเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิอินสาท-สอาง และมูลนิธิหมอฟรานซีส คริสเตียน อีกด้วย

การจัดแสดง[แก้]

บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์
อาคารไม้ในพิพิธภัณฑ์

แบ่งออกเป็นอาคาร 4 หลัง และห้องต่างๆดังนี้

  1. อาคารหลังที่ 1 เป็นบ้านไม้หลังคาปั้นหยา
  2. ห้องรับแขก
  3. ห้องอาหาร
  4. ห้องหนังสือ
  5. โถงกลางล่าง
  6. ที่พักบันได
  7. ห้องนอนคุณยาย
  8. ห้องแต่งตัวแบบยุโรป
  9. ห้องบรรพบุรุษ
  10. ห้องนอนใหญ่
  11. อาคารหลังที่ 2 เป็นอาคารไม้ซึ่งได้รื้อย้ายมาจากบ้านหมอฟรานซิส คริสเตียน ที่ทุ่งมหาเมฆมาจัดสร้างที่นี่
  12. อาคารหลังที่ 3 ใช้เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
  13. อาคารหลังที่ 4 เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ใช้เป็นห้องสมุดในปัจจุบัน
  14. ส่วนสวนและภูมิทัศน์

ภายในมีเนื้อหาการจัดแสดงดังนี้

  • ภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
  • ลักษณะทางกายภาพเขตบางรัก
  • สายสัมพันธ์ไทย-ตะวันตก
  • อิทธิพลชาติตะวันตกต่อประเทศไทย
  • ชุมชนนานาชาติ
  • บทบาทของชุมชนตะวันตกที่มีต่อการปฏิรูปประเทศ
  • สถานที่สำคัญของบางรัก
  • แรกมีในสยาม แรกมีในบางรัก
  • คนเด่นบางรัก

รายละเอียดอื่น ๆ[แก้]

พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมได้ฟรี 10.00 - 16.00 น. วันพุธถึงวันอาทิตย์ (หยุดวันจันทร์และอังคาร)

อ้างอิง[แก้]

  1. พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก กับ 14 ข้อน่ารู้ที่เที่ยวกลางกรุงเทพฯ, Travel Kapook .สือค้นเมื่อ 02/01/2560
  2. "สิ้น "รศ.วราพร สุรวดี" ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-25. สืบค้นเมื่อ 2017-01-26.
  • แผ่นพับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก
  • เอกสารชุดความรู้ชุมชนบางรัก พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°43′42″N 100°31′5″E / 13.72833°N 100.51806°E / 13.72833; 100.51806