พระเยซูทรงจำแลงพระกาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพ “พระเยซูทรงจำแลงพระกาย” วาดโดยลูโดวีโก การ์รัจจี ในปี ค.ศ. 1594

พระเยซูทรงจำแลงพระกาย[1](โปรเตสแตนต์) หรือพระเยซูเจ้าทรงสำแดงพระองค์อย่างรุ่งโรจน์[2] (คาทอลิก) (อังกฤษ: Transfiguration of Jesus) เป็นฉากหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระเยซูที่บันทึกในพระวรสารสหทรรศน์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูสำแดงพระองค์บนภูเขาลูกหนึ่ง (มัทธิว17:1-9, มาระโก 9:2-8, ลูกา 9:28-36) พระกายของพระเยซูมีรัศมีเรืองรอง และตรัสกับโมเสสและเอลียาห์ ขณะนั้นพระยาห์เวห์เรียกพระเยซูว่าเป็น “บุตรสุดที่รักของเรา” เหมือนตอนพระเยซูทรงรับบัพติศมา การจำแลงพระกายจึงทำให้พระองค์ดูเหนือกว่าโมเสสและเอลียาห์ซึ่งเป็นผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์ และเป็นการสนับสนุนในตัวพระองค์ว่าเป็น “พระบุตรพระเป็นเจ้า” แต่พระเยซูทรงสั่งให้ซีโมนเปโตร ยากอบ บุตรเศเบดี และยอห์นอัครทูต ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ต้องเก็บเรื่องนี้เป็นความลับจนกว่าพระองค์จะคืนพระชนม์หลังจากถูกตรึงที่กางเขน[3]

การจำแลงพระกายถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู อีกสี่เหตุการณ์ที่เหลือ ได้แก่ การรับบัพติศมา การถูกตรึงที่กางเขน การกลับคืนพระชนม์ และการเสด็จขึ้นสวรรค์[4][5]

คริสตจักรโรมันคาทอลิกกำหนดวันฉลองเหตุการณ์นี้ในวันที่ 6 สิงหาคมของทุกปี โดยเรียกว่า "วันฉลองพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย"[6] ส่วนคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ กำหนดฉลองเหตุการณ์นี้ในวันที่ 19 สิงหาคมของทุกปี ตามปฏิทินจูเลียน โดยเรียกว่า "วันฉลองพระเยซูเจ้าทรงจำแลงพระวรกาย"

อ้างอิง[แก้]

  1. พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ ฉบับ 1971 (ฉบับเรียงพิมพ์ 1998) กิตติคุณมัทธิว บทที่ 17
  2. พระวรสารนักบุญมัทธิว บทที่ 17, คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
  3. มัทธิว 17:9
  4. Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63
  5. The Melody of Faith: Theology in an Orthodox Key by Vigen Guroian 2010 ISBN 0-8028-6496-1 page 28
  6. "พระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย". คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระเยซูทรงจำแลงพระกาย

แม่แบบ:โครงคริสต์