พระเจ้าเซจงมหาราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าเซจงมหาราช
พระมหากษัตริย์แห่งโชซ็อน
ครองราชย์18 กันยายน พ.ศ. 1961—8 เมษายน พ.ศ. 1993 (31 ปี 303 วัน)
ราชาภิเษก18 กันยายน พ.ศ. 1961
ก่อนหน้าพระเจ้าแทจง
ถัดไปพระเจ้ามุนจง
ผู้สำเร็จราชการพระเจ้าหลวงแทจง (1961–1965) (อดีตพระราชา)
มกุฎราชกุมารอี ฮยาง (1985–1993) (รัชทายาท)
พระราชสมภพ15 พฤษภาคม พ.ศ. 1940
สวรรคต8 เมษายน พ.ศ. 1993 (52 ปี 328 วัน)
คู่อภิเษกพระนางโซฮ็อน
พระราชบุตรพระเจ้ามุนจงแห่งโชซ็อน
พระเจ้าเซโจ
พระนามเต็ม
เซจง
ราชวงศ์โชซ็อน
พระราชบิดาพระเจ้าแทจง
พระราชมารดาพระราชินีว็อนกย็อง
ศาสนาพุทธ (เดิมลัทธิขงจื๊อ)
Korean name
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Sejong Daewang
เอ็มอาร์Sejong Taewang
ชื่อเกิด
ฮันกึล
이도
ฮันจา
李裪
อาร์อาร์I Do
เอ็มอาร์Yi To
ชื่อวัยเยาว์
ฮันกึล
원정
ฮันจา
元正
อาร์อาร์Won Jeong
เอ็มอาร์Wŏn Chŏng

พระเจ้าเซจงมหาราช (เกาหลี세종대왕; ฮันจา世宗大王 , พ.ศ. 1940 ถึง พ.ศ. 1993) พระนามเดิมว่า อี โด (เกาหลี: 이도) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่สี่แห่งราชวงศ์โชซ็อน เดิมทีมีพระอิสริยยศว่า เจ้าชายชุงนย็อง (เกาหลี: 중녕대군) พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าแทจงแห่งโชซ็อนและพระราชินีว็อนกย็อง ในปี ค.ศ. 1418 พระองค์ได้รับการสถาปนาให้เป็นรัชทายาทต่อจากพระเชษฐาของพระองค์คือเจ้าชายรัชทายาทอี เจ (เกาหลี: 왕세자이제) ซึ่งถูกถอดจากพระอิสริยยศ ปัจจุบัน พระเจ้าเซจงมหาราชได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลี

แม้จะขึ้นครองราชบัลลังก์หลังจากการสละราชบัลลังก์โดยสมัครใจของพระราชบิดาในปี ค.ศ. 1418 แต่พระเจ้าเซจงก็เป็นเพียงกษัตริย์หุ่นเชิดในขณะที่พระเจ้าแทจงยังคงกุมพระราชอำนาจที่แท้จริงและปกครองประเทศจนกระทั่งสวรรคตในปี ค.ศ. 1422 พระเจ้าเซจงจึงเป็นกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียวเป็นเวลา 28 ปี แม้ว่าหลังจากปี ค.ศ. 1439 พระองค์จะประชวรหนักมากขึ้น[1] และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1442 พระราชโอรสองค์โตของพระองค์คือเจ้าชายรัชทายาทอี ฮยาง (เกาหลี: 왕세자이향, พระเจ้ามุนจงแห่งโชซ็อนในอนาคต) จึงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

พระเจ้าเซจงได้สนับสนุนและส่งเสริมลัทธิขงจื๊อแบบเกาหลีและลัทธิขงจื๊อใหม่และออกกฎหมายแก้ไขกฎหมายที่สำคัญ พระองค์สร้างและประกาศใช้อักษรเกาหลี (ปัจจุบันเรียกว่าอักษรฮันกึล)[2][3] ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแนะนำมาตรการเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ พระองค์ส่งทัพไปทางเหนือและก่อตั้ง Samin Jeongchaek (นโยบายการย้ายถิ่นฐานของชาวนา) เพื่อดึงดูดผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ทางใต้ พระองค์ช่วยปราบโจรสลัดญี่ปุ่นระหว่างการรุกรานโอเออิ

พระราชประวัติ

อี โด (เกาหลี이도; ฮันจา李裪) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามของพระเจ้าแทจงกับพระราชินีว็อนกย็อง เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษาได้รับสถาปนาเป็นเจ้าชายชุงนยอง (충녕대군; 忠寧大君) และทรงอภิเษกกับพระชายาชิม ซึ่งภายหลังได้รับสถาปนาเป็นพระนางโซฮ็อน พระเชษฐาทั้งสองของพระองค์คือเจ้าชายยังนยอง และเจ้าชายฮโยรยองเห็นถึงความสามารถของเจ้าชายชุงนยองแต่ยังเยาว์ จึงคิดจะยกบัลลังก์ให้โดยการประพฤติตนเหลวแหลกในราชสำนัก ทำให้เจ้าชายทั้งสองถูกขับออกจากวัง เมื่อพระเจ้าแทจงสละบัลลังก์ใน พ.ศ. 1961 ก็ได้ให้เจ้าชายชุงนยองครองราชย์เป็นพระเจ้าเซจง

ฮันกึล

ราชกิจอย่างแรกของพระเจ้าเซจงคือการก่อตั้งชิบฮย็อนจอน สำนักปราชญ์ขงจื้อที่เป็นแหล่งรวมผู้มีความรู้เกี่ยวกับปรัชญาขงจื้อของประเทศ และยังเป็นแหล่งการศึกษาของนักปราชญ์ขงจื้อที่สำคัญอีกหลายท่านในอนาคต

ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานชาวเกาหลีไม่มีอักษรเป็นของตนเองแต่ใช้อักษรจีนที่รับมา เรียกว่าฮันจา ซึ่งอักษรจีนเป็นอักษรที่สลับซับซ้อนในการเขียน การเรียนรู้และการจดจำ ดังนั้นในสมัยโชซ็อนจึงมีแต่ยังบันที่เป็นชนชั้นขุนนางเท่านั้นที่เขียนฮันจาเป็น ชาวบ้านสามัญชนทั่วไปจึงอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ อีกทั้งอักษรจีนยังใช้แทนเสียงในภาษาเกาหลี ได้ไม่ลื่นนัก ใน พ.ศ. 1989 พระเจ้าเซจงจึงทรงให้นักปราชญ์และนักประดิษฐ์ชื่อ จางยองชิล เดิมเป็นทหารองครักษ์ แต่พระเจ้าเซจงทรงเล็งเห็นในความสามารถจึงแต่งตั้งให้เป็นขุนนางขั้นชอง 3 พุม พระราชทานกำลังทรัพย์และอำนาจที่จะประดิษฐ์อะไรก็ได้ จางยองชิลได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์มาตรวัดน้ำฝน อันแรกของโลกในปี พ.ศ. 1984 และยังสร้างนาฬิกาน้ำ นาฬิกาแดด และลูกโลกจำลองท้องฟ้า สำหรับโหรหลวงใช้ในการศึกษาดวงดาว แต่ชางยองชิลนั้นได้รับการต่อต้านจากขุนนาง เพราะชางยองชิลเป็นชอนมิน ชนชั้นต่ำสุดในสังคมโชซ็อน ต่ำแหน่งสูง ๆ ของขุนนางสงวนไว้สำหรับยังบันเท่านั้น จนในที่สุดชางยองชิลก็ถูกปลดใน พ.ศ. 1985

พระเจ้าเซจงทรงเห็นถึงปัญหาของชาวนา ในการทำเกษตรกรรม แล้วไม่ได้ผล และได้รับความลำบากเมื่อน้ำท่วม หรือแห้งแล้ง จึงทรงให้มีการแต่งหนังสือนงซาจิกซอล รวบรวมความรู้ประสบการณ์ในการทำการเกษตรจากเกษตรกรอาวุโสทั่วอาณาจักร และยังทรงลดภาษีเกษตรกร เพื่อมิให้เกษตรกรต้องลำบากและมีทรัพย์ในการทำเกษตรกรรมมากขึ้น[4]

ป้องกันประเทศ

พระเจ้าเซจงยังทรงดำเนินนโยบายต้านทานผู้รุกรานต่างชาติอีกด้วย โดยพระเจ้าแทจงซึ่งเป็นแทซังวังอยู่นั้นได้แนะนำให้พระเจ้าเซจงส่งอีจองมูไปบุกเกาะซึชิมาที่เป็นแหล่งของโจรสลัดญี่ปุ่น จน พ.ศ. 1962 ตระกูลโซเจ้าครองเกาะซึชิมาได้ยอมจำนนและส่งบรรณาการไปยังฮันซอง และพ.ศ. 1963 เกาะซึชิมาก็ขึ้นตรงต่อมณฑลคยองซังของโชซ็อน

ทางเหนือพระเจ้าเซจงก็ทรงก่อตั้ง สี่ป้อมหกปราการ (เกาหลี사군육진; ซากุนยุกจิน) เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกแมนจูทางเหนือ และใน พ.ศ. 1976 ทรงส่งคิมจงซอ ไปบุกขยายอาณาเขตทางเหนือ จนโชซ็อนมีอาณาเขตติดแม่น้ำยาลู

พระราชกรณียกิจต่าง ๆ ของพระเจ้าเซจงนั้นยังคุณประโยชน์มากมายต่ออาณาจักรโชซ็อน และรวมไปถึงประเทศเกาหลีทั้งเหนือและใต้ในปัจจุบันด้วย เพราะทรงส่งเสริมวัฒนธรรมเกาหลี ทำให้ชาวเกาหลีมีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองในทุกวันนี้ และพระสาทิสลักษณ์ของพระองค์ยังปรากฏบนธนบัตร 10,000 วอนของเกาหลีใต้ เมื่อพระนางโซฮ็อนสวรรคต พระเจ้าเซจงทรงเศร้าโศกพระราชหฤทัย จนสวรรคตใน พ.ศ. 1993 มีพระเจ้ามุนจง สืบต่อราชบัลลังก์

พระนามเต็ม

  • พระเจ้าเซจง จางฮอน ยองมุน เยมู อินซอง มยองฮโย
  • 세종장헌영문예무인성명효대왕
  • 世宗莊憲英文睿武仁聖明孝大王

พระบรมวงศานุวงศ์

พระอัครมเหสี พระสนม พระราชโอรส พระธิดา

  • พระนางโซฮ็อน สกุลซิม แห่งช็องซง (เกาหลี소헌왕후 심씨; ฮันจา昭憲王后 沈氏, 28 กันยายน 1395-24 มีนาคม 1446)
    • อี ฮยาง, พระเจ้ามุนจงแห่งโชซ็อน
    • อี ยู, พระเจ้าเซโจ
    • อี ยอง, เจ้าชายอันพยอง
    • อี กู, เจ้าชายอีมยอง
    • อี ยอ, เจ้าชายควางพยอง
    • อี ยู, เจ้าชายกึมซอง พ
    • อี อิม, เจ้าชายพยองวอน
    • อี ยอม, เจ้าชายยอนกึม
    • เจ้าหญิงจองโซ
    • เจ้าหญิงจองอึย
  • พระสนมเอกฮเยบิน สกุลยาง แห่งชองจู (เกาหลี혜빈 양씨; ฮันจา惠嬪 楊氏, ?-9 พฤศจิกายน 1455)
    • อี โอ, เจ้าชายฮันนัม
    • อี ฮย็อน, เจ้าชายซูชอน
    • อี จอน, เจ้าชายยองพุง
  • พระสนมเอกยองบิน สกุลคัง แห่งจินจู (เกาหลี영빈 강씨; ฮันจา令嬪 姜氏)
    • อี ยอง, เจ้าชายฮวาอึย
  • พระสนมเอกซินบิน สกุลคิม แห่งชองจู (เกาหลี신빈 김씨; ฮันจา慎嬪 金氏, 1406-4 กันยายน 1464)
    • อี จอง, เจ้าชายคเยยาง
    • อี คง, เจ้าชายอึยชาง
    • อี ชิม, เจ้าชายมิลซอง
    • อี ยอน, เจ้าชายอิกฮย็อน
    • อี ทัง, เจ้าชายยองแฮ
    • อี โก, เจ้าชายทัมยาง
    • เจ้าหญิงไม่ทราบพระนาม
    • เจ้าหญิงไม่ทราบพระนาม
  • พระสนมควีอิน สกุลปาร์ค (เกาหลี귀인 박씨; ฮันจา貴人 朴氏)
  • พระสนมควีอิน สกุลชเว (เกาหลี귀인 최씨; ฮันจา貴人 崔氏)
  • พระสนมโซยอง ตระกูลฮง (เกาหลี소용 홍씨)
  • พระสนมซุกวอน ตระกูลลี (เกาหลี숙원 이씨)
    • เจ้าหญิงจองอัน
  • ซังชิม ตระกูลซง (เกาหลี상침 송씨; ฮันจา尙寢 宋氏, ค.ศ. 1396-ค.ศ. 1463)
    • เจ้าหญิงจองฮย็อน
  • พระสนมซากี ตระกูลชา (เกาหลี사기 차씨; ฮันจา司記 車氏, ?-10 กรกฎาคม 1444)
    • เจ้าหญิงไม่ทราบพระนาม

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. "跬步之間, 但知有人, 而不辨爲某某也". National Institute of Korean History. สืบค้นเมื่อ 2020-11-03.
  2. Kim-Renaud, Young-Key (1997). The Korean Alphabet: Its History and Structure (ภาษาอังกฤษ). University of Hawaii Press. p. 15. ISBN 9780824817237.
  3. "알고 싶은 한글". 국립국어원. National Institute of Korean Language. สืบค้นเมื่อ 4 December 2017.
  4. www.chosonkorea.org/index.php/people/kings/king-sejong-the-great
ก่อนหน้า พระเจ้าเซจงมหาราช ถัดไป
พระเจ้าแทจง พระมหากษัตริย์แห่งโชซ็อน
(พ.ศ. 1961 - พ.ศ. 1993)
พระเจ้ามุนจง|}