พระเจ้ามุฮัมมัดที่ 8 อัลอะมีนแห่งตูนิเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้ามุฮัมมัดที่ 8 อัลอะมีน
พระมหากษัตริย์แห่งตูนิเซีย
พระมหากษัตริย์ตูนิเซีย
ครองราชย์20 มีนาคม ค.ศ. 1956 - 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1957
ก่อนหน้าก่อตั้งตำแหน่ง (ตนเอง ในฐานะเบย์แห่งตูนิส)
ถัดไปยุบตำแหน่ง (ฮะบีบ บูรกีบะฮ์ ในฐานะประธานาธิบดีตูนิเซีย)
เบย์แห่งตูนิส
ครองราชย์15 พฤษภาคม ค.ศ. 1943 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1956
ก่อนหน้ามุฮัมมัดที่ 7
ถัดไปยุบตำแหน่ง (ตนเอง ในฐานะพระมหากษัตริย์ตูนิเซีย)
ประสูติ4 กันยายน ค.ศ. 1881(1881-09-04)
คาร์เธจ, ตูนิเซียในอารักขาของฝรั่งเศส
ตูนิเซีย
สวรรคต30 กันยายน ค.ศ. 1962(1962-09-30) (81 ปี)
ตูนิส, เขตปกครองตูนิส
ตูนิเซีย
ฝังพระศพสุสาน ซีดี อับดุลอะซีซ, ลามัรซา
คู่อภิเษกLalla Jeneïna Beya (สมรส 1902; เสียชีวิต 1960)
พระนามเต็ม
มุฮัมมัด อัลอะมีน
พระนามในภาษาอาหรับالأمين باي بن محمد الحبيب
ราชวงศ์ราชวงศ์ฮุซัยนิด
พระราชบิดามุฮัมมัดที่ 6 อัลฮะบีบ
พระราชมารดาลัลลา ฟาฏิมะฮ์ บินต์ มุฮัมมัด
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี

พระเจ้ามุฮัมมัดที่ 8 อัลอะมีนแห่งตูนิเซีย (อาหรับ: الأمين باي بن محمد الحبيب, al-ʾAmīn Bāy bin Muḥammad al-Ḥabīb; 4 กันยายน 1881 – 30 กันยายน 1962) พระองค์ได้ขึ้นราชสมบัติเป็นเบย์แห่งตูนิสองค์สุดท้ายตั้งแต่ 15 พฤษภาคม 1943 ถึง 20 มีนาคม 1956 และได้ขึ้นราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งตูนิเซียพระองค์แรกตั้งแต่ 20 มีนาคม 1956 จนกระทั่งพระองค์จะถูกปลดในวันที่ 25 กรกฎาคม 1957 พระองค์เป็นพระโอรสของพระเจ้ามุฮัมมัดที่ 6 อัลฮะบีบแห่งตูนิเซีย เบย์แห่งตูนิสพระองค์ก่อน

พระเจ้ามุฮัมมัดที่ 8 อัลอะมีน ครองราชย์หลังจากที่กองทัพเสรีฝรั่งเศสปลดพระเจ้ามุฮัมมัดที่ 7 แห่งตูนิเซียลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ ด้วยข้อหาว่าพระเจ้ามูฮัมหมัดที่ 7 สมรู้ร่วมคิดกับฝรั่งเศสเขตวีชี เมื่อ 20 มีนาคม 1956 พระองค์ได้ประกาศอิสรภาพของตูนิเซีย และปกครองตูนิเซียในฐานะพระมหากษัตริย์พระองค์แรกอย่างเต็มรูปแบบอย่างไรก็ตามสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้ตอบสนองตามความคาดหวังของประธานาธิบดีฮะบีบ บูรกีบะฮ์ (Habib Bourguiba) พระองค์ถูกปฏิวัติเมื่อ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1957[1][2]

พระเจ้ามุฮัมมัดที่ 8 ต้องเสด็จย้ายไปพำนักที่มาโนอูบา ภายใต้การเฝ้าดูของรัฐบาล และก็ได้รับอนุญาตให้กลับตูนิสหลังพระชายาสิ้นพระชนม์ พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1962 ที่ตูนิส ขณะทรงมีพระชนมายุได้ 81 พรรษา พระองค์ไม่เคยสละสิทธิในราชบัลลังก์ ผู้อ้างสิทธิ์ต่อจากพระองค์คือเจ้าชายฮุสเซน บีย์ซึ่งเป็นพระโอรสของพระองค์

บรรณานุกรม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. El Mokhtar Bey, De la dynastie husseinite. Le fondateur Hussein Ben Ali. 1705 - 1735 - 1740, éd. Serviced, Tunis, 1993, p.70
  2. Werner Ruf, Introduction à l'Afrique du Nord contemporaine, éd. Centre national de la recherche scientifique, Paris, 1975, p.432