พระนางเชงสอบู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระนางเชงสอบู
မိစဴဗု
ရှင်စောပု
รูปปั้นของพระนางเชงสอบู
พระราชินีนาถเเห่งหงสาวดี
ครองราชย์ค.ศ. 1454–1471
ก่อนหน้ามะมุดตาว
รัชกาลถัดไปพระเจ้าธรรมเจดีย์
พระมเหสีตำหนักกลางแห่งอังวะ
ครองราชย์20 พฤษภาคม ค.ศ. 1426–1429
ก่อนหน้าพระนางเชงสอบู
รัชกาลถัดไปพระนางธัมมเทวีแห่งอังวะ
พระมเหสีตำหนักกลางแห่งอังวะ
ครองราชย์ธันวาคม ค.ศ. 1423 – สิงหาคม ค.ศ. 1425
ก่อนหน้ามินบยาน
รัชกาลถัดไปพระนางเชงสอบู
พระราชสมภพ11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1394
หงสาวดี
สวรรคตค.ศ. 1471 (77 พรรษา)
ตะเกิง
ฝังพระศพสันจวง
พระราชสวามีพญาบเว
พระเจ้าสีหตู
พระราชบุตรพญาพะโร
มิปาคาธอ
ราชวงศ์หงสาวดี
พระราชบิดาพระเจ้าราชาธิราช
พระราชมารดาทุตธรรมยา
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระนางเชงสอบู (พม่า: ရှင်စောပု, ออกเสียง: [ʃɪ̀ɰ̃.sɔ́.bṵ]; มอญ: မိစဴဗု; อักษรโรมัน: Shin Sawbu; ในราชาธิราชทับศัพท์เป็น แสจาโป) หรือ พระนางพระยาท้าว, ตละเจ้าปุ, พระนางพญาท้าว[1], ตละเจ้าท้าว และ นางพระยาตละเจ้าท้าว[2] (พม่า: ဗညားထောဝ်; มอญ: ဨကရာဇ်ဗြဲဗညာထဴ; อักษรโรมัน: Binnya Thau) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถเพียงพระองค์เดียวที่ปกครองอาณาจักรมอญเป็นเวลา 17 ปี (ค.ศ. 1454–1471) และถือเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ฟ้ารั่วองค์สุดท้ายที่ปกครองอาณาจักรมอญ พระองค์เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าราชาธิราช หลังจากพระเจ้าราชาธิราชเสด็จสวรรคต ได้มีกษัตริย์สืบต่อมาอีกหลายพระองค์จนสิ้นรัชทายาทที่เป็นบุรุษ จึงได้ยกพระนางขึ้นปกครองแทน

พระราชประวัติ[แก้]

มงกุฎของพระนางเชงสอบู ปัจจุบันจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์ V&A, ลอนดอน

พระนางเชงสอบู เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าราชาธิราชแห่งอาณาจักรหงสาวดี เมื่อพระราชบิดาคือพระเจ้าราชาธิราชสวรรคต ผู้ที่ได้สืบราชสมบัติต่อมาคือพญาธรรมราชา แต่พระอนุชาของพระองค์ พระยาราม และพระยาแคง (พญาเกียรติ์) ไม่พอพระทัย จึงไปสวามิภักดิ์พระเจ้าสีหตูแห่งกรุงอังวะ พญาธรรมราชาไม่ปรารถนาที่จะรบพุ่งกับพม่า พระองค์จึงได้ประนีประนอมกับพระอนุชาโดยให้พระยารามเป็นมกุฎราชกุมารไปครองเมืองพะสิม และพระยาแคง (พญาเกียรติ์) ไปครองเมืองเมาะตะมะ ครั้นถึงสมัยรัชกาลของพระยาราม พระองค์ได้นำพระขนิษฐาคือพระนางเชงสอบูส่งไปถวายแก่พระเจ้าสีหตูแห่งกรุงอังวะ ซึ่งเป็นการตอบแทนที่ได้ช่วยเหลือพระองค์ในการครองราชย์ที่กรุงหงสาวดี ขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 29 พรรษา เป็นแม่ม่ายมีพระโอรส 1 พระองค์ และพระธิดา 2 พระองค์ ได้แก่พญาพะโร (Binnya Waru), เนตาคาตอ (Netaka Taw) และเนตาคาถิน (Netaka Thin)[3]

ความขัดแย้ง[แก้]

พระเจ้าสีหตูมีความหลงใหลเสน่หาแก่พระองค์เป็นอย่างยิ่ง ทำให้พระนางชีนโบ่แม พระมเหสีเก่าซึ่งมีสายสัมพันธ์กับทางไทใหญ่เกิดความอาฆาตริษยา พระนางชีนโบ่แมจึงไปสมคบคิดกับไทใหญ่ให้ยกทัพมาตีอังวะกลายเป็นสงครามที่รุนแรง พระเจ้าสีหตูทรงออกรบเองจนสวรรคตใน ค.ศ. 1425 พระเจ้ามี่นละแง กษัตริย์องค์ต่อมาก็สวรรตเพราะถูกพระนางชีนโบ่แมวางยาพิษ พระเจ้ากะเล่เจ้ตองโญ พระปิตุลาของพระเจ้ามี่นละแงจึงได้ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน ต่อมาพระเจ้าโม่ญี่นตะโด้‎ได้โค่นล้มพระเจ้ากะเล่เจ้ตองโญกับพระนางชีนโบ่แมแล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์กรุงอังวะ

คืนสู่หงสาวดี[แก้]

พระนางเชงสอบูทรงได้นิมนต์สามเณรแห่งวัดศรีปรางค์เข้ามาแสดงพระธรรมเทศนาในพระราชวังเป็นประจำ สามเณรท่านนี้เทศนาได้ดี เป็นที่พอพระทัยของพระองค์ จึงได้รับมาเป็นบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อสามเณรท่านนี้มีอายุครบที่จะอุปสมบทได้แล้ว พระองค์ก็ทรงจัดงานอุปสมบทขึ้นอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติตามธรรมเนียมของเชื้อพระวงศ์ (บุตรบุญธรรม) และได้รับสมญานามว่า "พระมหาปิฏกธร"

พระมหาปิฎกธร ทราบถึงความวุ่นวายทางการเมืองภายในอังวะ และพระนางเชงสอบูไม่สามารถกลับคืนสู่เมืองหงสาวดีได้ จึงพาศิษย์สี่คนคิดกลอุบายพาพระนางเชงสอบูกลับสู่เมืองหงสาวดีได้สำเร็จ พระมหาปิฎกธรมีความรู้สึกไม่สบายใจที่ตนเข้าไปมีส่วนร่วมในการคิดกลอุบายดังกล่าวจึงขอลาสิกขา ต่อมาพญาพะโร พระโอรสของพระนางเชงสอบูที่เกิดจากพระสวามีเก่า ได้ครองเมืองหงสาวดีในปี ค.ศ. 1446[note 1] อยู่ในราชสมบัติได้เพียง 4 ปีจึงสวรรคต ขณะนั้นไม่เหลือเชื้อสายของพระเจ้าราชาธิราชที่เป็นชายสืบสกุล พระนางเชงสอบูจึงได้ขึ้นเสวยราชย์[4] และได้ตั้งพระมหาปิฎกธรเป็นรัชทายาท พระองค์อยู่ในราชสมบัติ 7 ปี ต่อมาได้มอบราชสมบัติให้พระมหาปิฎกธรเป็นกษัตริย์หงสาวดี และมีพระนามตามจารึกไว้ในหลักศิลากัลยาณีว่า พระเจ้ารามาธิบดี แต่พงศาวดารรามัญเรียกว่า พระเจ้าธรรมเจดีย์ หรือ พระมหาปิฎกธร [5]

พระราชกรณียกิจ[แก้]

พระนางเชงสอบูทรงเป็นพุทธมามกะซึ่งศรัทธาในพระพุทธศาสนา อีกทั้งในวัยเยาว์ก็มีพระทัยมุ่งมั่นในการศึกษาพระไตรปิฏก จึงทำให้ในรัชสมัยของพระองค์พระพุทธศาสนาในเมืองหงสาวดีเจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์ยังได้บริจาคทองคำเท่าน้ำหนักตัวของพระองค์เพื่อตีเป็นแผ่นหุ้มเจดีย์ชเวดากอง[6] แม้หลังสละราชสมบัติแล้วพระองค์ยังทำนุบำรุงศาสนาพุทธต่อ จนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 1471

หมายเหตุ[แก้]

  1. ประชุมพงศาวดารขอม เรียก พระยาแก่ท้าว

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. "ภาพกษัตริย์มอญที่สำคัญ ๙ พระองค์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.
  2. หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ).งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย. กรุงเทพฯ:สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2549. หน้า 214
  3. Kala Vol. 2 2006: 58
  4. (Harvey, 1925, 368)
  5. "เอกกษัตรีแห่งแผ่นดินมอญ | ThaiGoodView.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-24. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.
  6. (Halliday, 2000, p. 101)
บรรณานุกรม
  • Forchammer Notes on the Early History and Geography of British Burma – I. The Shwedagon Pagoda, II. The First Buddhist Mission to Suvannabhumi, publ. Superintendent Government Printing, Rangoon 1884.
  • Fraser (1920) "Old Rangoon" Journal of the Burma Research Society, volume X, Part I, pp. 49–60.
  • Furnivall, Syriam Gazetteer.
  • Guillon, Emmanuel (tr. ed. James V. Di Crocco) (1999) The Mons: A civilization of Southeast Asia, Bangkok: The Siam Society.
  • Halliday, Robert (2000) (Christian Bauer ed.) The Mons of Burma and Thailand, Volume 2. Selected Articles, Bangkok: White Lotus.
  • Harvey, G.E. (1925) History of Burma: From the earliest times to 10 March 1824 the beginning of the English conquest, New York: Longmans, Green, and Co.
  • Sayadaw Athwa [The Monk of Athwa], Burmese translation of his Talaing History of Pegu used by Phayre, now in the British Museum, being manuscripts OR 3462-4.
  • Saya Thein (1910) "Shin Sawbu," Journal of the Burma Research Society

[Summarizing the "Thaton-hnwe-mun Yazawin" below, but also giving the slightly different chronology of the Burmese chronicle "Hmannan Yazawin"]

  • Saya Thein (1912) "Rangoon in 1852" Journal of the Burma Research Society.
  • Schmidt, P.W. (1906) Slapat ragawan datow smim ron. Buch des Ragawan, der Konigsgeschichte, publ. for Kais. Akademie der Wissenschaften by Holder, Vienna, pp. 133–135
  • Shorto, Harry Leonard (1958) "The Kyaikmaraw inscriptions," Bulletin of the School of Oriental and African Studies (BSOAS), 21 (2) : 361–367.
  • Shorto (1971) A dictionary of Mon inscriptions from the sixth to the sixteenth centuries. London: Oxford University Press.
  • Shorto (tr.) (no date) Unpublished typescript translation of pp. 34–44, 61–264 of Phra Candakanto (ed.) Nidana Ramadhipati-katha (or as on binding Rajawamsa Dhammaceti Mahapitakadhara), authorship attributed to Bannyadala (c. 1518–1572), Pak Lat, Siam, 1912.
  • Singer, Noel F. (1992) "The Golden Relics of Bana Thau," Arts of Asia, September–October, 1992. [Contains many interesting and original historical interpretations]
  • Thaton-hnwe-mun Yazawin, unpublished manuscript cited in Harvey, p. 117, the facts about Baña Thau in this chronicle are summarised in (Hmawbi Saya Thein, 1910)
  • Athwa, Sayadaw (1785). Mon Yazawin (Slapat Rajawan) (ภาษาพม่า) (1922 ed.). Yangon: Burma Publishing Workers Association Press.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]