พรหมลิขิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรหมลิขิต
เป็นที่รู้จักกันในชื่อLove Destiny 2
แนว
บทประพันธ์รอมแพง
บทละครโทรทัศน์ศัลยา สุขะนิวัตติ์
กำกับโดยสรัสวดี วงศ์สมเพ็ชร
นักแสดง
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดพรหมลิขิต – ธีรนัยน์ ณ หนองคาย และ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข
ดนตรีแก่นเรื่องปิดเคียงขวัญ – นภัทร อินทร์ใจเอื้อ
ข้ามเวลา - วิโอเลต วอเทียร์
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับไทย ภาษาไทย
จำนวนตอน26 ตอน
การผลิต
ผู้จัดละครอรุโณชา ภาณุพันธุ์
สถานที่ถ่ายทำ
ความยาวตอน120 นาที
บริษัทผู้ผลิตบริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด
ออกอากาศ
สถานีโทรทัศน์สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ออกอากาศ18 ตุลาคม 2566 (2566-10-18) –
18 ธันวาคม 2566 (2566-12-18)
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
บุพเพสันนิวาส, บุพเพสันนิวาส 2

พรหมลิขิต (Love Destiny 2) เป็นรายการโทรทัศน์แนวย้อนยุค เป็นภาคต่อของละครโทรทัศน์เรื่อง บุพเพสันนิวาส ดัดแปลงจากบทประพันธ์ของรอมแพง ผลิตโดยบรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น นำแสดงโดย ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ และ ราณี แคมเปน โดยยังคงได้ศัลยา สุขะนิวัตติ์ ผู้เขียนบทจากภาคแรก มาเขียนบทให้ในภาคนี้[1]

งานสร้าง[แก้]

ทีมงานและนักแสดง[แก้]

ในตอนแรกทาง อรุโณชา ภาณุพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้จัดละครเรื่องนี้ได้วางตัว ภวัต พนังคศิริ ผู้กำกับการแสดงจากภาคแรก ให้มากำกับ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสรัสวดี วงศ์สมเพ็ชร ที่เคยมีผลงานทั้งภาพยนตร์และละคร เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Yes or No 1 และ Yes or No 2 และละครทางช่อง 3HD เรื่อง พราวมุก, ตราบาปสีชมพู, หนี้รักในกรงไฟ, เสื้อสีฝุ่น, แรงตะวัน, รักพลิกล็อก, ซ่อนเงารัก, มัดหัวใจยัยซุปตาร์ ฯลฯ มารับหน้าที่ผู้กำกับละครเรื่องนี้แทน[2][3]

พรหมลิขิต ฟิตติงนักแสดงเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564[2] และทำพิธีบวงสรวงเปิดกล้องเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564[1] วันที่ 5 ตุลาคม 2566 ผู้จัดและนักแสดงได้ทำพิธีบวงสรวงละครอีกครั้งหนึ่งเพื่อเอาฤกษ์เอาชัยก่อนออกอากาศ ที่สตูดิโอช่อง 3 หนองแขม[4]

นอกจากนี้ ตัวละครหลักที่ต่อจากละคร บุพเพสันนิวาส ที่ยังมีชีวิตอยู่ อยู่ครบทั้งหมด และมีตัวละครใหม่ เนื่องจากในละคร บุพเพสันนิวาส เป็นยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ขุนหลวงนารายณ์) สมเด็จพระเพทราชา (ขุนหลวงเพทราชา) และสมเด็จพระเจ้าเสือ (ขุนหลวงเสือ) แต่ในละคร พรหมลิขิต เป็นยุคของ ขุนหลวงท้ายสระ (เจ้าฟ้าเพชร) และ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าพร) (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)[5]

ราณี แคมเปน รับบทเป็นพุดตาน (การะเกดกลับชาติมาเกิด) รวมทั้งบทบาทพี่น้องฝาแฝดคือ คุณหญิงการะเกด (เกศสุรางค์) แฝดพี่ และแม่หญิงการะเกด แฝดน้อง ขณะที่ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ รับบทเป็นพระยาวิสูตรสาคร (พ่อเดช) รวมทั้งบทบาทพี่น้องฝาแฝดบุตรของพ่อเดช คือ หมื่นณรงค์ราชฤทธา (พ่อเรือง) แฝดพี่ และหมื่นมหาฤทธิ์ (พ่อริด) แฝดน้อง[5]

สถานที่ถ่ายทำ[แก้]

มีหลายฉากถ่ายทำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ วัดไชยวัฒนาราม วัดพุทไธศวรรย์ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังโบราณ วัดพระงาม และวัดย่านอ่างทอง[6]

จังหวัดอื่นมีถ่ายที่เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก[7] ในตอนที่ 21 ถ่ายฉากที่สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เสด็จประพาสคลองโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร[8] ในฉากย้อนเวลาต้นเรื่องพันปี ถ่ายที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์[9]

ลิขสิทธิ์[แก้]

สำหรับพรหมลิขิตไปจนถึงบุพเพสันนิวาส นับเป็นละครเรื่องแรกของไทยที่ได้มีการจดลิขสิทธิ์แบบ IP right เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบแล้วนำไปใช้ต่อในเชิงพาณิชย์ โดยได้จดลิขสิทธิ์ครอบคลุมทุกอย่างที่มาจากละครเพื่อการต่อยอดโฆษณาและคอนเทนต์ต่าง ๆ ในอนาคต[10]

นักแสดง[แก้]

นักแสดง รับบท
ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ หมื่นมหาฤทธิ์ / ขุนพิพัฒน์ราชสินธุ์ (พ่อริด)
หมื่นณรงค์ราชฤทธา (พ่อเรือง)
ออกญาวิสูตรสาคร (พ่อเดช)
ราณี แคมเปน พุดตาน
คุณหญิงการะเกด (เกศสุรางค์)
แม่หญิงการะเกด
วรินทร ปัญหกาญจน์ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ / สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (เจ้าฟ้าเพชร)
เด่นคุณ งามเนตร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าพร)
พิจักขณา วงศารัตนศิลป์ แม่กลิ่น
ฐากูร การทิพย์ หมู่สง
ภัสธรากรณ์ บุษราคัมวดี แม่หญิงแก้ว
ปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์ แม่หญิงปราง
กนกฉัตร มรรยาทอ่อน จมื่นศรีสรรักษ์ / ออกพระศรีสุรินทฤาไชย (พ่อมิ่ง)
ฐกฤต ตวันพงค์ พระยาราชนิกูล (ทองคำ)
ทัศน์พล วิวิธวรรธน์ หมื่นจันภูเบศร์ (พ่ออิน)
ชไมพร จตุรภุช คุณหญิงจำปา
รัดเกล้า อามระดิษ ยายกุย
วิศรุต หิมรัตน์ จ้อย
รมิดา ประภาสโนบล แย้ม
จรรยา ธนาสว่างกุล ผิน
ภัทรภณ โตอุ่น เพิ่ม
แดนดาว ยมาภัย อึ่ง
อำภา ภูษิต ปริก
วิมลพันธ์ ชาลีจังหาญ จวง
ภูศญา นาคสวัสดิ์ อิ่ม
นักแสดงรับเชิญ บทบาท
ณวัสน์ ภู่พันธัชสีห์ แม่ทัพอนิลบถ
ภูริตา สุปินชุมภู พระนางอทิตยา
คณิน ชอบประดิถ ฑิฆัมพรราชา
ศิริลักษณ์ คอง พระนางจันทราวดี
ปรมะ อิ่มอโนทัย พระรามณรงค์ (พ่อเรือง)
พระเรืองฤทธิ์ (หลวงพ่อเรืองฤทธิ์)
กัญญ์ณรัณ วงศ์ขจรไกล คุณหญิงจันทร์วาด
จิรายุ ตันตระกูล สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ) / ออกหลวงสรศักดิ์ / กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เดื่อ)
สุษิรา แน่นหนา ท้าวทองกีบม้า (แม่มะลิ / มารี กีมาร์ / ตอง กีมาร์)
ธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญ แม่หญิงแพรจีน
ปรียากานต์ ใจกันทะ แม่หญิงเรียม
ศรุต วิจิตรานนท์ สมเด็จพระเพทราชา
ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ชาติชาย งามสรรพ์ ออกญาโกษาธิบดี (ปาน)
ธชย ประทุมวรรณ พระปีย์
คณิน สแตนลีย์ หลวงชิดภูบาล (จอร์จ ฟอลคอน)
ชนกสุดา รักษนาเวศ พระชายาเจ้าฟ้าพร ( พระองค์เจ้าขาว )
วิศววิท วงษ์วรรณลภย์ ออกญาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)
วิศรุต หิรัญบุศย์ ขาม
อธิวัตน์ แสงเทียน
ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ ออกญาโกษาธิบดี (จีน)
ขวัญฤดี กลมกล่อม พระอัครมเหสีองค์กลาง / กรมพระเทพามาตย์ (กัน) / สมเด็จพระอัยกีเจ้า กรมพระเทพามาตย์
ณัฏฐริณีย์ กรรณสูต คุณหญิงผ่อง
วัชรชัย สุนทรศิริ อาจารย์ชีปะขาว
สุริยะราชา
พศิน เรืองวุฒิ เจ้าพระองค์ดำ
โชติรส ชโยวรรณ พระองค์เจ้าแก้ว
ไชย ขุนศรีรักษา ฟานิก
นฤมล พงษ์สุภาพ กลอย
พลวิชญ์ เกตุประภากร พ่อเวก
บรรเจิดศรี ยมาภัย ยายทวดนวล
มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ ป้าวิภาวี
ปวีณา ชารีฟสกุล แม่ชีสิปาง
ดนัย จารุจินดา ชัยมิตร
พรรษชล สุปรีย์ วิภาวรรณ
ด.ญ.ณัฐชา นีน่า เจสซิกา พาโดวัน พุดตาน (วัยเด็ก) / แม่หญิงการะเกด (วัยเด็ก)

การตอบรับ[แก้]

เรตติ้ง[แก้]

ep 1 6.4

ep 2 6.8

ep 3 6.2

ep 4 6.6

ep 5 6.3

ep 6 7.1

ep 7 7.6

ep 8 6.7

ep 9 7.1

ep 10 7.5

ep 11 7.3

ep 12 7.7

ep 13 7.5

ep 14 7.0

ep 15 7.9

ep 16 7.4

ep 17 5.9

ep 18 6.8

ep 19 7.6

ep 20 7.5

ep 21 7.8

ep 22 8.3

ep 23 7.2

ep 24 7.7

ep 25 8.1

ep 26 8.6 (ตอนจบ)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "โป๊ป-เบลล่า" แต่งเต็มยศ เปิดกล้องถ่ายทำ "พรหมลิขิต"
  2. 2.0 2.1 ออเจ้า โอเคปะ? ฟิตติ้งแล้ว “พรหมลิขิต”
  3. “พรหมลิขิต-มัดหัวใจยัยซุปตาร์” กับการกำกับของ “นาย สรัสวดี” จะปัง หรือ จะแป้ก! กับแรงกดดันและความคาดหวังของทุกคน
  4. โป๊ป-เบลล่า นำทีมผู้จัดนักแสดง บวงสรวงละคร“พรหมลิขิต”
  5. 5.0 5.1 "พรหมลิขิต"ได้ชมแน่สิ้นปีนี้ ผู้กำกับ เผย สนุกไม่แพ้ บุพเพสันนิวาส
  6. "ตามรอยละครพรหมลิขิต กับพิกัดที่เที่ยวอยุธยา 2566". กะปุก.
  7. "ปักหมุดเที่ยว 7 จุด ตามรอย "พรหมลิขิต"". ผู้จัดการออนไลน์.
  8. ""คลองโคกขาม" ตามรอยตำนาน "พันท้ายนรสิงห์" สู่ละคร "พรหมลิขิต"". ผู้จัดการออนไลน์.
  9. "ย้อนเวลาพันปี จุดกำเนิด การะเกด-พุดตาน ต้นเรื่อง บุพเพสันนิวาส - พรหมลิขิต". ข่าวสด.
  10. พรหมลิขิต ต่อยอด บุพเพสันนิวาส จดลิขสิทธิ์เสื้อผ้าหน้าผมบุคลิกบทพูดทั้งหมด