ฝน

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฝนกำลังตก

ฝน เป็นการตกของน้ำจากฟ้าแบบหนึ่ง นอกจากฝนแล้ว น้ำยังตกในรูปหิมะ เกล็ดน้ำแข็ง ลูกเห็บ น้ำค้าง ฝนอยู่ในรูปหยดน้ำซึ่งตกมายังพื้นผิวโลกจากเมฆ ฝนบางส่วนระเหยเป็นไอก่อนตกลงถึงผิวโลก ฝนชนิดนี้เรียกว่า "virga"

ฝนที่ตกเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของวัฏจักรของน้ำ ซึ่งน้ำจากผิวน้ำในมหาสมุทรระเหยกลายเป็นไอ ควบแน่นเป็นละอองน้ำในอากาศ ซึ่งรวมตัวกันเป็นเมฆ และในที่สุดตกเป็นฝน ไหลลงแม่น้ำ ลำคลอง ไปทะเล มหาสมุทร

ปริมาณน้ำฝนนั้นวัดโดยใช้มาตรวัดน้ำฝน โดยวัดความลึกของน้ำที่ตกสะสมบนพื้นผิวเรียบ สามารถวัดได้ละเอียดถึง 0.25 มิลลิเมตร บางครั้งใช้หน่วย ลิตรต่อตารางเมตร (1 L/m² = 1 mm)

ฝนเม็ดเล็กจะมีรูปเกือบเป็นทรงกลม ส่วนเม็ดฝนที่ใหญ่ขึ้นจะมีรูปร่างที่ค่อนข้างแบนคล้ายแฮมเบอร์เกอร์ ส่วนเม็ดที่ใหญ่มาก ๆ นั้นจะมีรูปร่างคล้ายร่มชูชีพ[ต้องการอ้างอิง] เม็ดฝนเฉลี่ยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ถึง 2 มิลลิเมตร เม็ดฝนใหญ่ที่สุดที่ตกลงถึงผิวโลก ตกที่ประเทศบราซิล และหมู่เกาะมาร์แชลล์ ใน ค.ศ. 2004 โดยมีขนาดใหญ่ถึง 10 มิลลิเมตร[ต้องการอ้างอิง] เม็ดฝนมีขนาดใหญ่เนื่องจากละอองน้ำในอากาศมีขนาดใหญ่ หรือเกิดการรวมตัวกันของเม็ดฝนหลายเม็ด จากความหนาแน่นฝนที่ตกลงมา[ต้องการอ้างอิง]

ปกติฝนมีค่า pH ต่ำกว่า 6 เล็กน้อย เพราะรับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเข้ามาซึ่งเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก[ต้องการอ้างอิง] ในพื้นที่ทะเลทราย ฝุ่นในอากาศมีปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตสูง ซึ่งส่งผลต่อต้านความเป็นกรด ทำให้ฝนนั้นมีค่าเป็นกลางหรือเบส[ต้องการอ้างอิง] ฝนที่ค่า pH ต่ำกว่า 5.6 ถือเป็น ฝนกรด

วัฒนธรรมกับฝน

สังคมมนุษย์พัฒนาเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับฝนหลายอย่าง เช่น ร่ม เสื้อกันฝน ที่เก็บน้ำฝน ฯลฯ ปัจจุบันการเก็บน้ำฝนเพื่อบริโภคไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากมีสิ่งสกปรกมากมาย อยู่ในอากาศ ทำให้น้ำฝนนั้นมีฝุ่นละอองต่าง ๆ ด้วย

ผลกระทบต่อเกษตรกรรม

ฝนเป็นปัจจัยส่งผลต่อเกษตรกรรมมากทั้งด้านบวกและลบ โดยที่ฝนตกจะเป็นการรดน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงสุดทางธรรมชาติ[ต้องการอ้างอิง] ฝนตกมากเกินไปอาจทำให้เกิดน้ำท่วมและส่งผลให้พืชบางชนิดล้มตายจากการเน่าเปื่อยอันเกิดจากเชื้อราได้[1][2] นอกจากนี้ หากฝนไม่ตกตามฤดูกาลและเกิดภัยแล้งตามธรรมชาติยังสามารถทำลายพืชผลการเกษตรได้ด้วย[3]

อ้างอิง

  1. จดหมายข่าวผลิใบ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. "วิธีฟื้นฟูไม้ผลและปลูกไม้ผลหลังน้ำท่วม". กรมวิชาการเกษตร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-19. สืบค้นเมื่อ 2011-04-14.
  2. Robert Burns (2007-06-06). "Texas Crop and Weather". Texas A&M University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-20. สืบค้นเมื่อ 2011-04-14.
  3. Bureau of Meteorology (2010). "Living With Drought". Commonwealth of Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-18. สืบค้นเมื่อ 2011-04-14.