ผลกระทบกิบส์–ดอนนัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมดุลดอนนันที่เกิดขึ้นผ่านเยื่อหุ้มเซลล์

ผลกระทบกิบส์–ดอนนัน (หรือรู้จักกันในชื่อ ผลกระทบดอนนัน, กฎดอนนัน, สมดุลดอนนัน หรือ สมดุลกิบส์–ดอนนัน) เป็นชื่อพฤติกรรมของอนุภาคมีประจุใกล้กับเยื่อเลือกผ่านที่ไม่สามารถกระจายตัวผ่านทั้งสองฝั่งของเยื่อหุ้มเซลล์[1] สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงสารประจุต่างกันที่ไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์และสร้างประจุไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ[2] ยกตัวอย่างเช่น โปรตีนแอนไอออนขนาดใหญ่ในพลาสมาที่ไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มหลอดเลือดฝอย ทั้งนี้เป็นเพราะแคตไอออนถูกดึงดูดไว้ แต่ไม่ได้มีพันธะติดกับโปรตีน ทำให้แอนไอออนขนาดเล็กจะข้ามผ่านผนังหลอดเลือดฝอย แยกจากโปรตีนแอนไอออนิกได้ดีกว่าที่แคตไอออนขนาดเล็กทำได้

เมื่ออนุภาคไอออนิกขนาดเล็กวิ่งผ่านตัวกั้นในขณะที่อนุภาคทำไม่ได้ ทำให้สารละลายนี้อาจะเป็นเจล คอลลอยด์ หรือสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ที่กั้นระหว่างเจลกับเจล หรือเจลกับของเหลว สามารถหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่านได้ ศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นระหว่างสารละลายสองสารเรียกว่าศักย์ดอนนัน

ผลกระทบนี้ตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน โจซิอัช วิลลาร์ด กิบส์ ซึ่งเสนอทฤษฎีนี้ใน ค.ศ. 1878 และนักเคมีชาวบริติช เฟรเดริก จอร์จ ดอนนัน ซึ่งทดลองเพื่อศึกษาเรื่องนี้ใน ค.ศ. 1911[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Gibbs–Donnan effect". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-18. สืบค้นเมื่อ 2006-08-28.
  2. The Gibbs–Donnan Equilibrium..., D.C. Mikulecky, retrieved 28 August 2006
  3. Donnan, F. G. (1911). "Theorie der Membrangleichgewichte und Membranpotentiale bei Vorhandensein von nicht dialysierenden Elektrolyten. Ein Beitrag zur physikalisch-chemischen Physiologie" [The theory of membrane equilibrium and membrane potential in the presence of a non-dialyzable electrolyte. A contribution to physical-chemical physiology]. Zeitschrift für Elektrochemie und Angewandte Physikalische Chemie. 17 (10): 572–581. doi:10.1002/bbpc.19110171405.
  • IUPAC Compendium of Chemical Terminology 2nd Edition (1997)
  • Van C. Mow Basic orthopaedic biomechanics and mechano-biology, 2nd Ed. Lippincott Williams & Wilkins, Philadelphia, 2005
  • Mapleson W. W. "Computation of the effect of Donnan equilibrium on pH in equilibrium dialysis". Journal of Pharmacological Methods, May 1987.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]